10 อาการอันตราย ของคอมพิวเตอร์

10  อาการอันตราย ของคอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์เสีย โปรแกรมพังต้องฟอร์แมตเครื่องใหม่เรื่องน่าเศร้าที่ไม่มีใครอยากเจอ แต่ถ้ามันจะเกิดก็คงไม่มีใครห้ามได้ ถ้าเป็นเช่นนี้จริง ผลที่ตามมาก็คือ ความเสียหายอย่างแน่นอน โดยเฉพาะผู้ที่มีข้อมูลสำคัญๆ ทั้งหลาย เรียกว่าอุตส่าห์สะสมมาแรมปี แต่ต้องหายไปในพริบตา อยากทราบมั้ยครับว่าก่อนที่คอมพ์จะเดี๊ยงนั้น มันมีอาการอะไรเป็นลางบอกเหตุและมีวิธีแก้ไขอย่างไร


อาการที่ 1 : Blue Screen จอฟ้ามหาภัย

บลูสกรีน หรือบางครั้งก็ถูกเรียกว่า บลูออฟ เดต นั้น จริงๆ แล้วน่ากลัวกว่าที่คิด หากวันหนึ่งเมื่อคุณเปิดเครื่องคอมพ์แล้วปรากฏว่าขึ้นหน้าจอสีฟ้ามหาภัยละก็ พึงระลึกเอาไว้เลยว่าถ้าอาการแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ย่อมจะไม่ดีแน่ โดยปกติแล้วหากหน้าจอกลายเป็นสีฟ้าก็มักจะมาพร้อมกับรายงานความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งมีทั้งไฟล์ระบบได้รับความเสียหาย ไม่พบไฟล์สำคัญระหว่างกระบวนการบูตระบบ หรือแม้แต่มี ดีไวซ์ ไดรเวอร์ บางตัวที่สำคัญได้รับความเสียหายจนไม่สามารถติดต่อกับอุปกรณ์ อินพุต/เอาต์พุต ได้


แต่ในกรณีที่มีแต่หน้าจอสีฟ้าปรากฏขึ้นมาเพียงอย่างเดียว ตัวหนังสือหรือรายงานความผิดพลาดจากระบบไม่แสดงขึ้นมาด้วย แบบนี้น่ากลัวกว่ามากนั่นก็เพราะว่าคอมพ์ของคุณอาการหนักจนขนาดที่ว่าระบบรายงานความผิดลาดไม่ทำงาน หรือไม่สามารถแจ้งสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นหากจอสีฟ้าปรากฎขึ้นมาก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ แค่คิดว่าบูตเครื่องใหม่ก็คงจะหาย แบบนี้ไม่ถูกต้องครับ คุณต้องเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้โดยด่วน


การแก้ปัญหาเบื้องต้น
สำหรับหน้าจอบลูสกรีนนั้น สิ่งแรกที่คุณต้องทำก็คือ อ่านรายงานความผิดพลาดทั้งหมดว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ข้อมูลที่แสดงอยู่บนหน้าจอสีฟ้านี้สามารถช่วยคุณวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ถ้าจะให้ดีคุณควรจดข้อมูลนี้เอาไว้ แล้วลองไปค้นหาจากอินเทอร์เน็ตดูว่าหมายถึงอะไร มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งบ่อยครั้งที่ความเอาใจใส่และกระตือรือร้นนี้ สามารถพาคุณข้ามวิกฤติที่เลยร้ายไปได้

มีข้อแนะนะสั้นๆ คือ
ถ้าคุณพบว่าไม่สามารถจัดการอะไรได้เลย ให้ถอดฮาร์ดดิสก์ออกไปพ่วงกับเครื่องอื่นเพื่อแบ็กอัพข้อมูลก่อน มิฉะนั้นข้อมูลอาจสูญหายได้ หากพบว่าอาการหนักจนเกินจะเยียวยา


10  อาการอันตราย ของคอมพิวเตอร์


อาการที่ 2 : ฮาร์ดดิสก์ส่งเสียงดังผิดปกติ

ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์กำลังอ่าน/เขียน ข้อมูลอยู่นั้น แน่นอนว่าย่อมมีเสียงเกิดขึ้นแต่เสียงที่ว่านี้ก็ไม่ดังถึงขนาด ครืด…คราดๆ จนเล็ดรอดออกมาจากภายในได้ ถ้าคุณลองเงี่ยหูฟังดีๆ เวลาที่ฮาร์ดดิสก์ทำงานก็แทบจะไม่ได้ยินเสียงเลย ยิ่งเป็นฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ๆ ด้วยแล้ว เสียงดังรบกวนที่เกิดขึ้นแทบจะไม่มีเลย ดังนั้น หากวันหนึ่งฮาร์ดดิสก์ของคุณส่งเสียงดังผิดปกติละก็ มันเป็นลางบอกเหตุว่าอาการแย่แล้ว ไม่ควรดื้อดึงใช้งานอีก

การแก้ปัญหาเบื้องต้น
ก่อนที่คุณจะลงมือทำอะไรต่อไป ข้อแนะนำที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ หยุดการทำงานทุกอย่างหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ นั่นก็เพราะว่าเสียงดังที่เล็ดรอดออกมาจากเคสของฮาร์ดดิสก์ มีความหมายมากเกินกว่าที่คุณจะใช้งานมันต่อไป หัวอ่านอาจจะหลุดออกจากตำแหน่ง หรือไม่ก็แผ่นจานอาจมีรอยขีดข่วน สิ่งเหล่านี้สามารถพรากข้อมูลอันเป็นที่รักไปจากคุณได้เลย แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าควรจะหยุดการทำงานทุกอย่างเมื่อไรสำหรับช่างผู้ชำนาญหรือผู้ใช้ที่เคยผ่านการซ่อมคอมพ์มาด้วยตนเองแล้ว ประสบการณ์ที่ได้มาจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เมื่อไรที่ควรหยุดการทำงาน และเมื่อไรที่ต้องเดินหน้าต่อเพื่อรักษาข้อมูลเอาไว้ ตรงนี้ต้องอาศัยประสบการณ์เพียงอย่างเดียว แต่สำหรับมือใหม่นั้น ความไม่แน่ใจของคุณคือสิ่งที่ถูกต้อง บางครั้งคุณอาจต้องยกเครื่องไปให้ร้านคอมพ์ช่วยแก้ปัญหาให้ มันอาจดีกว่าการที่คุณลงมือทำเอง เพราะนั่นหมายถึงความปลอดภัยของตัวอุปกรณ์และข้อมูลของคุณ


นอกจากนี้ สำหรับผู้ใช้คอมพ์ที่ชอบดาวน์โหลดเป็นชีวิตจิตใจ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้ Bittorrent นั้น การเปิดเครื่องทิ้งเอาไว้หลายๆ วัน โดยฮาร์ดดิสก์ของคุณต้องอ่าน/เขียน ข้อมูลอย่างหนักก็ไม่เป็นผลดีเลย นั่นก็เพราะว่าอายุการใช้งานของอุปกรณ์จะลดลงอย่างมาก จากที่เคยสามารถใช้งานได้ 5-10 ปี หากมันต้องทำงานต่อเนื่องกันเป็นหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนๆ โดยไม่หยุดการทำงานเลยนั้น 3 ปี ก็อาจจะไม่ถึงด้วยซ้ำ ดังนั้น สำหรับบรรดานักดาวน์โหลด อัพโหลดทั้งหลาย หากคุณต้องการให้ฮาร์ดดิสก์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานละก็ ควรปิดเครื่องเพื่อให้ระบบได้หยุดพักการทำงานเสียบ้าง


10  อาการอันตราย ของคอมพิวเตอร์


อาการที่ 3 : พิกเซลแตก รอยแยกบนหน้าจอ

สำหรับอาการที่ 3 นี้ เรามักจะไม่ค่อยพบกันบ่อยๆ นัก เพราะมันหมายถึงความเป็นความตายของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เลยทีเดียว อาการพิกเซลแตก หากเกิดขึ้นกับเครื่องคอมพ์ของใครละก็ เตรียมตัวซื้อการ์ดจอใหม่ได้เลย เพราะมันคือสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าการ์ดจอของคุณเกิดปัญหาอย่างรุนแรง โดยปกติแล้ว เวลาเปิดเครื่องขึ้นมาใช้งาน การ์ดจอจะทำงานเกือบจะพร้อมๆ กับไบออสของเมนบอร์ดเลยก็ว่าได้ หากคุณเปิดเครื่องแล้วจอยังดำมืดอยู่ ไม่ได้หมายความว่าการ์ดจอเสียทันที ไม่ต้องตกใจที่บางครั้งเมนบอร์ดก็ทำงานผิดพลาดได้ แต่สำหรับรอยแยกเล็กๆ เหมือนกับฝนตกที่หน้าจอนั้นไม่ใช่ อาการเช่นนี้มาจากระบบการทำงานการ์ดจอโดยตรง ซึ่งไม่สามารถแสดงจุดพิกเซลให้เต็มหน้าจอได้จนมองเห็นเป็นร่องรอยความผิดเพี้ยนที่เกิดขึ้นบนจอภาพ

การแก้ปัญหาเบื้องต้น
หากเป็นการ์ดจอออนบอร์ดนั้น เราไม่สามารถชี้ชัดได้ว่ามาจากตัวชิปกราฟิกหรือไม่? เนื่องจากมันฝังตัวรวมอยู่กับชิปเซตนั่นเอง หากการทำงานของตัวชิปเซตมีปัญหาจนส่งผลไปยังหน่วยแสดงผลทางกราฟิกที่อินทิเกรตหรือฝังตัวแบบนี้ หากเกิดอาการจุดพิกเซลแตกก็ไม่สามารถทำอะไรได้เลย คุณอาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ไปเลย แต่สำหรับการ์ดจอทั่วไปที่เสียบในสล็อต AGP หรือ PCI นั้น อาการจุดพิกเซลแตกที่เกิดขึ้นนั้น ความร้อนก็มีส่วนด้วยเช่นกัน หากคุณโอเวอร์คล็อกและปรับค่าให้กลับมาเหมือนเดิมจากนั้นลองเปิดเครื่องแล้วทดสอบการทำงานดูว่ายังมีอาการแบบนี้หรือไม่?


บางคนโอเวอร์คล็อกจนชิปกราฟิกเสียหายหนักจนไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็เตรียมตัวซื้อใหม่ได้เลย แต่ในกรณีที่คุณอยากโอเวอร์คล็อกจริงๆ ละก็ ควรหาระบบที่ช่วยระบายความร้อนอย่าง ฮีตซิงก์ หรือพวกฮีตป์มาติดตั้งก็จะช่วยป้องกันปัญหาความร้อนพุ่งขึ้นสูงจนทำอันตรายต่อชิปกราฟิก แน่นอนว่าถึงคุณจะหาระบบมาช่วยระบายความร้อน แต่การโอเวอร์คล็อกก็ถือเป็นการบั่นทอนทำลายอายุการทำงานของอุปกรณ์ลง ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรทำครับ


10  อาการอันตราย ของคอมพิวเตอร์


อาการที่ 4 : เครื่องติดๆ ดับๆ

อาการเปิดเครื่องแล้วติดๆ ดับๆ แบบนี้ไม่ดีแน่ เพราะมีหลายสาเหตุที่สามารถสั่งให้ระบบชัตดาวน์เองอัตโนมัติ รวมทั้งปิดการทำงานไปเฉยๆ

สำหรับสาเหตุนั้น ผมขอแยกเป็นสองประเด็น
 
ประเด็นแรกมาจากซอฟต์แวร์กันก่อนครับ โดยปกติแล้ว เวลาเราเปิดโปรแกรมใดๆ ขึ้นมาใช้งานก็ตาม ระบบปฏิบัติการจะเป็นผู้คอยดูแลอยู่ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังตลอด ในกรณีที่โปรแกรมใดจะสร้างปัญหาขึ้นมานั้น ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงระบบปฏิบัติการสามารถจัดการได้เอง แต่ก็มีบางครั้งที่ปัญหานั้นหนักเกินกว่าที่ระบบปฏิบัติการจะรับได้ ยกตัวอย่างที่เห็นภาพได้ชัดคือ โปรแกรมไวรัสต่างๆ นั่นเอง หากเครื่องของคุณไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส หรือติดตั้งแต่ไม่เคยสั่งอัพเดตแพตเทิร์นใหม่ๆ ของไวรัสเลย ถ้าเป็นแบบนี้ไวรัสสามารถคอนโทรลเครื่องของคุณได้โดยง่าย ตั้งแต่ลบข้อมูล สั่งฟอร์แมตไดรฟ์ ทำให้เครื่องรีบูตหรือสั่งชัตดาวน์ ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาที่มาจากซอฟต์แวร์ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของเครื่อง
 
สำหรับประเด็นที่สองที่เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์โดยตรงนั้น อาการเครื่องติดๆ ดับๆ เช่นนี้ ส่วนใหญ่มาจากระบบไฟจ่ายให้กับเครื่อง โดยเรามุ่งประเด็นไปที่เพาเวอร์ซัพพลายเป็นหลัก เพราะเป็นแหล่งจ่ายพลังงานให้กับเมนบอร์ดและอุปกรณ์ภายในต่างๆ เพาเวอร์ซัพพลายที่ไม่ได้มาตรฐานหรือจ่ายไฟไม่เสถียรพอ หากมีโหลดมากๆ ย่อมไม่สามารถรับมือได้แน่ ดังนั้น สิ่งที่เพาเวอร์ซัพพลายพยายามทำก็คือ จ่ายไฟให้เพียงพอ แต่ทว่ามันไม่สามารถทำได้เพราะอุปกรณ์ภายในไม่ได้มาตรฐานนั่นเอง ผลที่ตามมาคืออุปกรณ์แย่งไฟกันเอง จนในที่สุดก็ส่งผลให้เมนบอร์ดต้องตัดการทำงานของระบบจ่ายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลาย เพื่อความปลอดภัยของอุปกรณ์ทุกอย่าง จึงทำให้เครื่องดับไประหว่างที่กำลังใช้งานอยู่


ส่วนเครื่องใครที่เปิดขึ้นมาเองนั้น ไม่ต้องตกใจครับ ให้เข้าไปตรวจสอบในไบออสว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าให้มีการเปิดเครื่องแบบอัตโนมัติหรือไม่? ส่วนใหญ่แล้วเมนบอร์ดจะมีฟังก์ชันที่สามารถสั่งเปิดเครื่องได้ เช่น “Wake/Power Up On Ext Modem” ซึ่งหากมีการเซตค่านี้เอาไว้ในไบออสจะทำให้เวลาที่คุณเปิดสวิตซ์โมเด็ม มันจะส่งสัญญาณทริกไปกระตุ้นให้เครื่องเปิดขึ้นมาได้ครับ นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกในไบออส เช่น Power Up On PCI Card เป็นการสั่งให้เปิดเครื่องผ่านการ์ดแลนจากเครื่องอื่นได้ Power Up On PS2 KB/Mouse สั่งให้เปิดเครื่องอัตโนมัติจากการคลิ้กเมาส์หรือกดแป้นพิมพ์ ดังนั้น ให้ลองเข้าไปตรวจสอบในไบออสดูว่าค่าเหล่านี้มีการเซตให้ Enable หรือไม่?


10  อาการอันตราย ของคอมพิวเตอร์


อาการที่ 5 : ภาพบนหน้าจอหดลงเอง

จอภาพ CRT แบบเก่านั้นใช้เทคโนโลยีแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ทั่วไป ทำให้เกิดปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจะคล้ายคลึงกับจอโทรทัศน์ และมีบางคนที่หิ้วมอนิเตอร์ของพีซีไปให้ร้านซ่อมโทรทัศน์จัดการให้ ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร แต่สำหรับอาการภาพบนหน้าจอหดเข้ามาเองเวลาใช้งานนั้นค่อนข้างสาหัสครับ ปัญหาแบบนี้มักจะใช้เวลานานกว่าจะแสดงอาการออกมา และเมื่ออาการนี้ปรากฏขึ้นมาก็หมายถึงการจบชีวิตอายุการใช้งานของจอภาพนั่นเอง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าอาการนั้นหนักหนาสาหัสเพียงใด จากประสบการณ์ของผมเอง จอภาพ CRT ใช้งานมา 5 ปีกว่า และวันหนึ่งพอเปิดเครื่องขึ้นมา ภาพบนหน้าจอกลับหดลงมาเหลือนิดเดียว พร้อมกับกลิ่นไหม้และควันที่โชยออกมาจากด้านใน ผมตัดสินใจเปิดฝาเคสของจอภาพออกมาเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น
สิ่งที่เห็นก็คือ

ฝุ่นจำนวนมากมากที่เกาะบริเวณแผงวงจร และสายไฟ
ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ไม่เคยทำความสะอาดจอภาพโดยการเปิดฝาแล้วเป่าเอาเศษฝุ่นละอองออกมา ทำให้มันเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้นมาได้โดยง่าย และวันหนึ่งก็สร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ทันที


ส่วนสาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ได้คือ
หลอดภาพเสื่อมเนื่องจากการใช้งานมายาวนาน รวมถึงแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่คอนโทรลสัญญาณภาพที่เกิดปัญหาขัดข้องด้วยเช่นกัน สำหรับใครที่ไม่เคยถอดฝาครอบของจอภาพออกมาเป่าฝุ่นหรือทำความสะอาดเลยนั้น แนะนำให้กลับไปทำความสะอาดทุกเดือนเลยจะเป็นการดีที่สุด โดยเฉพาะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในห้องที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศจะมีฝุ่นจากภายนอกเข้ามาสะสมได้ง่าย ดังนั้น ควรหมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ อย่าให้มีฝุ่นละอองหนาเตอะจนทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง


10  อาการอันตราย ของคอมพิวเตอร์


อาการที่ 6 : ระบบปฏิบัติการแจ้งเออร์เรอร์ขึ้นมาบ่อยๆ

ลางบอกเหตุที่สามารถชี้ชัดได้ว่าระบบปฏิบัติการ (วินโดวส์) ของคุณกำลังจะเดี้ยงนั้นมีหลายแบบครับ ตั้งแต่การแจ้งเออร์เรอร์บ่อยจนผิดปกติ ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ไปยุ่งอะไรกับระบบเลย หรือแม้แต่การที่เปิดเครื่องขึ้นมาแล้วบูตเข้าเซฟโหมดบ่อยๆ แบบนี้ก็ไม่ดีเช่นกันครับ ประเด็นแรกที่ว่ามีการแจ้งเตือนเออร์เรอร์บ่อยๆ นั้น ถ้าคุณได้สังเกตว่าข้อความเออร์เรอร์ที่แจ้งเตือนนั้นเกี่ยวกับอะไร หรืออธิบายความผิดพลาดส่วนไหนบ้างก็จะช่วยให้การวิเคราะห์หาสาเหตุทำได้ง่ายขึ้น เพราะเออร์เรอร์เหล่านั้นมาจากรหัสความผิดพลาดที่ระบบปฎิบัติการเป็นผู้ส่งออกมานั่นเอง ในกรณีที่ฮาร์ดแวร์บางตัวมีปัญหาและมีรหัสความผิดพลาดเป็นของตัวเองนั้น การแจ้งรายงานความผิดพลาดจะถูกส่งไปให้ระบบปฏิบัติการเป็นผู้ดำเนินการอีกทอดหนึ่ง ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเออร์เรอร์ต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมาระบบปฏิบัติการจะเป็นผู้จัดการดูแลทั้งหมด

ถ้าถามว่าตัวระบบปฏิบัติการเองเกิดความผิดพลาดขึ้นมา การทำงานตรงส่วนนี้ใครจะเป็นผู้ดูแล คำตอบก็คือ ฟังก์ชันที่รายงานความผิดพลาดจะแยกตัวออกมาเพื่อให้สามารถแจ้งความผิดพลาดของตัวระบบปฏิบัติการได้ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ก็มีบางกรณีที่ปัญหานั้นรุนแรงเกินกว่าที่ตัวฟังก์ชันจะแจ้งความผิดพลาดได้อย่างถูกต้อง สิ่งที่มันทำก็คือ พยายามแจ้งรหัสความผิดพลาด (Error Code) หรือรายงานความผิดพลาด (Error message) ออกมาบ่อยๆ เพื่อให้เราได้สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นเพื่อจะบอกสาเหตุให้เราได้ทราบ แต่ทว่าบางทีก็มีเออร์เรอร์ที่ใกล้เคียงกันมากมันจึงแจ้งขึ้นมาบ่อยๆ นั่นเอง

การแก้ปัญหา

การแก้ปัญหาให้ถูกจุดนั้นค่อนข้างยากสักหน่อย จึงมีหลายคนวางแผนที่จะติดตั้งวินโดวส์ลงไปใหม่ เพราะหากมัวมานั่งหาสาเหตุกันทีละจุดก็จะเป็นการเสียเวลานานและคนที่จะทำแบบนี้ได้โดยไม่คิดมากเลยนั้น ต้องมีการวางแผนเรื่องการจัดเก็บข้อมูลมาดี โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลที่สำคัญจะไม่เก็บเอาไว้ในไดรฟ์หรือพาร์ทิชันที่มีวินโดวส์อยู่ เพราะมีความเสี่ยงหากต้องฟอร์แมตและติดตั้งวินโดวส์ใหม่อีกครั้ง ดังนั้น หากคุณวางแผนเรื่องการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ภายในเครื่องมาดี การแก้ปัญหาที่รวดเร็วและง่ายดายที่สุดคือ การติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่อีกครั้ง แม้แต่ช่างผู้ชำนาญยังเลือกวิธีนี้เป็นอันดับแรกๆ เพราะใช้เวลาน้อยที่สุด แต่ถ้าคุณมีเวลาเหลือเฟือ การค่อยๆ นั่งแก้ปัญหา วิเคราะห์ที่มาและหาสาเหตุก็จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ไปในตัวด้วย


10  อาการอันตราย ของคอมพิวเตอร์


อาการที่ 7 : เสียงร้อง ปิ๊บๆ... ดังไม่หยุดตอนเปิดเครื่อง

หากเปิดเครื่องขึ้นมาแล้วมีเสียงร้องปิ๊บๆ ดังไม่หยุด แบบนี้แสดงว่าแรมเสียครับ หากลองถอดแรดแล้วนำไปเสียบกับเครื่องอื่นแล้วยังมีอาการแบบเดิมก็แสดงว่าแรมได้จากคุณไปแล้ว สำหรับกรณีที่แรมใกล้จะเสียหรือมีความผิดพลาดเกิดขึ้นกับการทำงานของแรมนั้น การที่เราจะรู้สาเหตุได้ว่ามาจากแรมแผงไหนนั้นคุณต้องมีเครื่องมือหรือยูทิลิตีมาตรวจสอบให้ครับ สำหรับผู้ใช้ตามบ้านก็ใช้แค่โปรแกรมประเภท Diagnostic Ram มาช่วยครับ แต่สำหรับการตรวจสอบจากทางจากทางโรงงานจะใช้อุปกรณ์ทดสอบครับ โดยสั่งให้มีการอ่านเขียนข้อมูลลงไปทุกตำแหน่งแอดแดรสของหน่วยความจำ หากพบว่ามีตำแหน่งแอดเดรสใดที่ไม่สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลลงไปได้ก็แสดงว่าแรมแผงนั้นมีปัญหาเกิดขึ้น ถึงแม้จะยังใช้งานได้ก็จริง แต่ก็ถือว่าทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ส่วนการทำงานของโปรแกรมตรวจสอบแรมก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ การตรวจสอบทุกๆ ตำแหน่งแอดเดรสบนหน่วยความจำว่าเข้าถึงได้ทั้งหมดหรือไม่?
 

ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ทดสอบการทำงานของแรม

- Memtest86 เว็บไซต์ดาวน์โหลด :
http://www.memtest86.com/

- DocMemory Diagnostic เว็บไซต์ดาวน์โหลด : http://www.simmtester.com/page/products/doc/docinfo.asp

- GoldMemory เว็บไซต์ดาวน์โหลด :
http://www.goldmemory.cz/download.php

- RAM Booster Pro v5.0เว็บไซต์ดาวน์โหลด :
http://www.freedownloadscenter.com/Utilities
System_Maimtenance_and_Repair_Utilities/RAM_Booster_Pro_v5_0.html

- Microsoft Windows Memory Diagnostic Beta เว็บไซต์ดาวน์โหลด :
http://www.majorgeeks.com/Microsoft_Windows_Memory_Diagnostic_d3955.html


การทดสอบแรมด้วยโปรแกรมเหล่านี้ บางฟังก์ชันอาจใช้เวลานาน เพราะเป็นการเข้าถึงตำแหน่งแอดเดรสของแรมทั้งหมด จึงให้ลองสแกนตรวจสอบดูครับ จะได้รู้ว่าแรมเรามีปัญหาหรือไม่?


10  อาการอันตราย ของคอมพิวเตอร์


อาการที่ 8 : ออปติคอลไดรฟ์อ่านหรือเขียนแผ่นไม่ค่อยได้

ออปติคอลไดรฟ์ที่พูดถึงนี้ หมายถึง คอมโบไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ และซีดีไดรฟ์ ขอพูดแบบรวมๆ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นกับออปติคอลไดรฟ์จะคล้ายๆ กันในกรณีที่ไดรฟ์เริ่มแสดงอาการเขียนแผ่นไม่ค่อยได้ใหคุณลองนึกดูว่าใช้บริการเขียนแผ่นมากี่ปีแล้ว หากประมาณจำนวนครั้งในการเขียนแผ่นได้ก็จะดีไม่น้อย เพราะโดยปรกติแล้วไดรฟ์ประเภทเขียนแผ่นจะมีอายุการใช้งานแบบเต็มที่ก็ประมาณ 3 ปี (มีการใช้งานตลอด) ถ้าไดรฟ์ของคุณเข้าข่ายที่ว่านี้ก็แสดงว่าใกล้ถึงอายุการทำงานของมันแล้ว แต่ถ้ายังใช้งานได้ไม่นานนัก ปัญหาการเขียนแผ่นไม่ได้ส่วนหนึ่งมาจากตัวแผ่นที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน หรือถ้าเป็นแผ่นประเภท RW หากใช้งานมาบ่อยๆ สารเคลือบแผ่นที่เป็นชั้นเก็บข้อมูลอาจหลุดลอกออกมาได้ ส่วนปัญหาอ่านแผ่นไม่ค่อยได้นั้น หากแผ่นเป็นรอยก็มีผลให้หัวอ่านเข้าถึงข้อมูลไม่ได้เช่นกันแนะนำให้ทำความสะอาดแผ่นโดยใช้น้ำยาทำความสะอาด รวมทั้งทำความสะอาดที่ตัวไดรฟ์ด้วย เพราะหากสิ่งสกปรกอยู่ภายในอาจทำให้การอ่าน/เขียน ข้อมูลผิดพลาดได้เช่นกัน


นอกจากนี้ หากมีเสียงดังผิดปกติเกิดขึ้นตลอดเวลาที่ไดรฟ์กำลังทำงานนั้น โดยไม่สามารถอ่านหรือเขียนแผ่นได้เลย ถ้าเป็นแบบนี้ก็แสดงว่าไดรฟ์ของคุณเดี้ยงไปแล้วครับ และไม่ควรให้ทางร้านซ่อม (ถ้าเลยช่วยประกัน) เพราะไม่คุ้มครับ ไดรฟ์ซีดีธรรมดาราคา 400-500 บาท คอมโบไดรฟ์ถูกสุดก็ 9xx บาท และดีวีดีไรเตอร์ราคาถูกที่สุดตอนนี้ 1,xxx บาทเช่นกันครับ ถ้าส่งซ่อมค่าอะไหล่ 300 บาทก็ไม่คุ้มแล้วละครับ นี่ยังไม่รวมค่าแรงด้วยนะครับ


10  อาการอันตราย ของคอมพิวเตอร์


อาการที่ 9 : มีเสียงเปรี๊ยะ บูตไม่ขึ้น หน้าจอดำสนิท

สำหรับผู้ใช้คอมพ์เครื่องเก่าที่เป็น AT From Factor นั้น ปัญหาระบบไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายจะมีให้เห็นบ่อยมาก บางครั้งคุณอาจต้องเปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายเองแต่ทว่าดันไปเจอกับเพาเวอร์ซัพพลายไม่ได้มาตรฐาน อาจจะจ่ายไฟเกินหรือจ่ายไปไม่เรียบพอหลังจากที่คุณเปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายตัวใหม่แล้ว ถ้าคุณเจอกับเหตุการณ์เปิดเครื่องไม่ติด โดยมีเสียงดังเปรี๊ยะ พร้อมกลิ่นซิลิโคลนไหม้โชยออกมา โดยเครื่องก็บูตไม่ขึ้น หน้าจอดำสนิทขอให้ทำใจได้เลยครับ เพราะว่าซีพียูนั้นไปต่อหน้าต่อตาคุณแล้ว
 

สาเหตุ
เนื่องจากว่าเพาเวอร์ซัพพลายจ่ายแรงดันไฟมาเกินซึ่งเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ บางตัวไม่มีระบบป้องกันในส่วนนี้ และซีพียูก็เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความอ่อนไหวต่อแรงดันไฟมากเป็นพิเศษ ถ้าหากว่านำซีพียูที่พังแล้วไปเสียบที่เครื่องใดก็จะบูตไม่ขึ้นแน่นอนครับ หน้าจอจะไม่มีภาพอะไรขึ้นมาเลย


สำหรับคอมพ์รุ่นใหม่ๆ ที่เป็น ATX From Factor นั้น เมนบอร์ดจะมีระบบป้องกันปัญหาจากไฟฟ้าติดตั้งมาให้แล้ว ซึ่งช่วยป้องกันแม้เวลาที่คุณเพิ่มแรงดันไฟเพื่อโอเวอร์คล็อกระบบด้วย อย่างไรก็ตาม เราควรคำนึงถึงการเลือกใช้เพาเวอร์ซัพพลายที่ได้มาตรฐานด้วย เพราะยังมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ที่ต้องอาศัยแหล่งพลังงานจากเพาเวอร์ซัพพลายเป็นหลัก


10  อาการอันตราย ของคอมพิวเตอร์


อาการที่ 10 : รวมข้อ 1 -9 หากท่านมีทุกข้อ

สำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่ได้ประสบปัญาข้างต้นซึ่งบางอย่างการซ่อมก็เป็นทางออกที่ดี แต่หากลองคิดคำนวณราคาค่าซ่อมกับราคาที่จำหน่ายอุปกรณ์ที่ขายในท้องตลาด หากราคาที่ร้านซ่อมเกินครึ่งของราคาขาย ในความคิดเห็นของผม(ไม่ทำตามก็ไม่ว่ากันครับ)ทิ้งหรือบริจาค(วัดสวนแก้ว)เถอะครับ เพราะซื้อใหม่คุ้มค่ากว่ากันเยอะแถมยังมีการรับประกันอย่างน้อยก็ 1 ปีครับ มากสุดก็ 3 ปี หรือ Lifttime ไปเลยยิ่งดี ตามที่ท่านได้อ่านสัญญาณ อันตรายของคอมพิวเตอร์ หากเจอมาทั้ง 9 ข้อ หรือ 5 ใน 9 ข้อ ซื้อใหม่เถอะครับ คุ้มกว่าเยอะเลยครับ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์