10 กลยุทธ์ ในการลดความเคลียดในบ้าน




กลยุทธ์ที่ 1 :
อย่าคาดหวังว่า "บ้าน" ต้องเหมือนบ้านตัวอย่าง
 
หรือ บ้านในแมกกาซีน ระลึก ไว้เสนอว่า บ้านคือสถานที่ที่ทุกคนในครอบครัวใช้ดำรงชีวิตอยู่ประกอบกับกิจกรรมต่างๆ ในครอบ ครัว การคาดหวังว่าบ้านบ้านต้องสมบูรณ์แบบเป็นระเบียบ สะอาดสะอ้านไม่มีที่ติ เป็นเรื่องเป็นไปได้ยาก หากคุณไม่มีตำแหน่งคนดูแลบ้าน คนดูสวน แต่ต้องทำกันเองทั้งหมด ก็อย่าได้ไปเครียด หรือวิตก กังวล เพราะบ้านที่อบอุ่น มีชีวิตชีวา ต้องมีความเคลื่อนไหว และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ


กลยุทธ์ที่ 2 : หาเวลารับประทานอาหารร่วมกัน

คง เป็นไปได้ยาก หากบุคคลในครอบครัวจะมานั่งรับประทานอาหารร่วมกันทุกมื้อ เพราะสภาพสิ่งแวดล้อมของการทำงาน เวลาเลิก งาน ความรับผิดชอบ รวมทั้งปัญหาจราจรซึ่งทำให้เวลาไม่ตรงกัน แต่การหาเวลารับประทานอาหารร่วมกัน โดยถือเป็นมื้อของครอบครัว ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป เช่น กำหนดให้วันอาทิตย์มื้อเย็นเป็นการรับประทานอาหารในครอบครัวหนึ่งมื้อ


กลยุทธ์ที่ 3 : ให้ความสำคัญกับทุกคนในครอบครัวด้วยการแบ่งปันหน้าที่รับผิดชอบในบ้าน

กลยุทธ์ นี้หมายถึงนอกจากให้ความสำคัญกับสมาชิกในครอบครัวแล้ว ยังเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของ ผู้เป็นแม่บ้านด้วย ยกตัว อย่าง เช่น ลูกสาวคนโตมีหน้าที่จ่ายตลาด ลูกสาวคนรองเข้าครัวเป็นลูกมือ คุณพ่อต้องตัดหญ้าและล้างรถร่วมกับลูกชายในทุกวันเสาร์ ฯลฯ


กลยุทธ์ที่ 4 : ให้สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง

กรณี นี้หมายถึง การหัดเด็กๆ ในบ้าน รู้เวลาเข้านอน ตื่นนอน เตรียมอุปกรณ์การเรียน การทำความสะอาดห้อง การเก็บที่นอน ฯลฯ เพราะกิจกรรมดังกล่าวจะเป็นการเสริมสร้างนิสัยที่ดีให้กับสมาชิก ครอบครัวและยังเป็นการแบ่งเบาภาระของครอบครัวร่วมกันด้วย


กลยุทธ์ที่ 5 : ให้สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง

การ ปรึกษาหารือ เป็นเรื่องสำคัญที่พ่อและแม่มีบทบาทสำคัญ การใช้เวลานั่งดูโทรทัศน์ หรือ ใช้เวลาตอนรดน้ำต้นไม้สอบถามเรื่อง การเรียนของลูก การทำงานของสามี-ภรรยา คุยถึงเพื่อนๆหรือกิจกรรมพิเศษของลูกในโรงเรียน เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะการพูดคุยเช่นนี้จะไม่ทำให้เกิดถาวะการสะสมเรื่องราว อีกทั้งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และความใกล้ชิดระหว่างกัน


กลยุทธ์ที่ 6 : ให้ความสำคัญกับวันพิเศษของสมาชิกในครอบครัว

วัน ครบรอบการแต่งงาน วันเกิดลูกๆ วันรับปริญญา หรือวันที่ลูกเข้าแข่งขันกีฬานัดสำคัญ สิ่งเหล่านนี้ล้วนสำคัญและไม่น่ามองข้าม เพราะสมาชิกในครอบครัวต้องการกำลังใจ และความเอาใจใส่จากคนในครอบครัวมากกว่าบุคคลอื่น


กลยุทธ์ที่ 7 : ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

หากสามี หรือ ภรรยา เกิดปัญหาจากการทำงาน การพูดคุย ปรึกษาหรือถามไถ่ในเวลาที่สังเกตเห็นสิ่งผิดปกติ ถือเป็นน้ำทิพย์ชโลม จิตใจที่ดี เหมือนสายฝนที่ชุ่มฉ่ำ แม้กระทั่งการให้กำลังใจลูกเมื่อพลาดจากการสอบ หรือพลาดจาการชนะในการแข่งขันกีฬา อย่าได้ซ้ำเติม หรือเพิกเฉย ปล่อบให้คิดแก้ปัญหาเองโดยไม่มีคำปรึกษาที่ดี


กลยุทธ์ที่ 8 : หาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกช่วยผ่อนแรงงานในบ้านบ้าง

ไม่ ได้หมายความว่าคุณจะต้องซื้อทุกอย่างที่อำนวยความสะดวกมาซะทุกชิ้น แต่ต้องพิจารณาว่าชิ้นไหนควร ? ไม่ควร ? หรือเหมาะสมกับ สภาพทางการเงินในครอบครัวหรือไม่ ? เพราะการใช้เครื่องอำนวยความสะดวกใบบ้านบางชิ้น สามารถประหยัดเวลาในการทำงาน ซึ่ง นั้นก็หมายความว่าคุณมีเวลาได้ทำกิจกรรมอื่นภายในบ้าน หรือมีเวลาให้กับคนในครอบครัวมากขึ้น


กลยุทธ์ที่ 9 : หากิจกรรมพักผ่อนในวันหยุดร่วมกัน

สิ่ง นี้เป็นสำคัญเพราะว่าเป็นจุดทำลายความตึงเครียดของทุกคนในบ้านด้วยการ เปลี่ยนบรรยากาศ เปลี่ยนสถานที่พักอาศัยชั่วคราว เปลี่ยนรสชาติของอาหาร ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้ทุกคนได้ผ่อนคลายจากภาระการทำงานนอกบ้าน ภาระการทำ งานในบ้าน ภาระการเรียนหนังสือ ฯลฯ


กลยุทธ์ที่ 10 : เริ่มต้น - จบลงด้วยบรรยากาศที่ดี

กลยุทธ์ นี้สัมพันธ์กับการพูด การพูดที่ดีต่อกันของสมาชิกในครอบครัว เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว การ พูดจากระแทกแดกดัน หรือใช้อารมณ์ที่ขุ่นมัว ซึ่งติดมากับที่อื่น จะทำให้สมาชิกในบ้านเกิดความตรึงเครียด
10 กลยุทธ์ของการลดความเครียดในบ้านที่เอามาฝาก ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงอาศัยความละเอียดอ่อน ความสังเกต และความรัก เป็น ที่ตั้งอันสำคัญ เตรียมพร้อม เพื่อปกป้องเรื่องราวต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความเครียดในครอบครัวแล้วอย่าลืมตระเตรียมร่มคู่ใจ ให้สำหรับสมาชิกใน บ้านด้วยนะค่ะ เพราะย่างเข้าฤดูฝนกันแล้ว สุขภาพจิตดี ต้องสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเสมอ....


FW

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์