10 กลยุทธ์ ในการลดความเคลียดในบ้าน

10 กลยุทธ์ ในการลดความเคลียดในบ้าน

กลยุทธ์ที่ 1 : อย่าคาดหวังว่า "บ้าน"
ต้องเหมือนบ้านตัวอย่าง หรือ บ้านในแมกกาซีน
ระลึกไว้เสนอว่า บ้านคือสถานที่ที่ทุกคนใน
ครอบครัวใช้ดำรงชีวิตอยู่ประกอบกับกิจกรรมต่างๆ
ในครอบ ครัว การคาดหวังว่าบ้านบ้านต้องสมบูรณ์แบบ
เป็นระเบียบ สะอาดสะอ้านไม่มีที่ติ เป็นเรื่องเป็นไปได้ยาก
หากคุณไม่มีตำแหน่งคนดูแลบ้าน คนดูสวน แต่ต้อง
ทำกันเองทั้งหมด ก็อย่าได้ไปเครียด หรือวิตก กังวล
เพราะบ้านที่อบอุ่น มีชีวิตชีวา ต้องมีความเคลื่อนไหว
และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ


กลยุทธ์ที่ 2 : หาเวลารับประทานอาหารร่วมกัน
คงเป็นไปได้ยาก หากบุคคลในครอบครัวจะมา
นั่งรับประทานอาหารร่วมกันทุกมื้อ เพราะสภาพสิ่ง
แวดล้อมของการทำงาน เวลาเลิก งาน ความรับผิดชอบ
รวมทั้งปัญหาจราจรซึ่งทำให้เวลาไม่ตรงกัน แต่การ
หาเวลารับประทานอาหารร่วมกัน โดยถือเป็นมื้อของ
ครอบครัว ไม่ใช่เรื่องยากเกินไป เช่น กำหนดให้วัน
อาทิตย์มื้อเย็นเป็นการรับประทานอาหารในครอบ
ครัวหนึ่งมื้อ


กลยุทธ์ที่ 3 : ให้ความสำคัญกับทุกคนในครอบ
ครัวด้วยการแบ่งปันหน้าที่รับผิดชอบในบ้าน
กลยุทธ์นี้หมายถึงนอกจากให้ความสำคัญกับ
สมาชิกในครอบครัวแล้ว ยังเป็นการแบ่งเบาภาระ
หน้าที่ของ ผู้เป็นแม่บ้านด้วย ยกตัว อย่าง เช่น
ลูกสาวคนโตมีหน้าที่จ่ายตลาด ลูกสาวคนรอง
เข้าครัวเป็นลูกมือ คุณพ่อต้องตัดหญ้าและล้าง
รถร่วมกับลูกชายในทุกวันเสาร์ ฯลฯ


กลยุทธ์ที่ 4 : ให้สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
กรณีนี้หมายถึง การหัดเด็กๆ ในบ้าน รู้เวลาเข้านอน
ตื่นนอน เตรียมอุปกรณ์การเรียน การทำความสะอาดห้อง
การเก็บที่นอน ฯลฯ เพราะกิจกรรมดังกล่าวจะเป็น
การเสริมสร้างนิสัยที่ดีให้กับสมาชิก ครอบครัวและยังเป็น
การแบ่งเบาภาระของครอบครัวร่วมกันด้วย


กลยุทธ์ที่ 5 : ให้สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
การปรึกษาหารือ เป็นเรื่องสำคัญที่พ่อและแม่มีบทบาทสำคัญ
การใช้เวลานั่งดูโทรทัศน์ หรือ ใช้เวลาตอนรดน้ำต้นไม้สอบถาม
เรื่อง การเรียนของลูก การทำงานของสามี-ภรรยา คุยถึงเพื่อนๆ
หรือกิจกรรมพิเศษของลูกในโรงเรียน เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย
เพราะการพูดคุยเช่นนี้จะไม่ทำให้เกิดถาวะการสะสมเรื่องราว
อีกทั้งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และความใกล้ชิดระหว่างกัน


กลยุทธ์ที่ 6 : ให้ความสำคัญกับวันพิเศษของสมาชิกในครอบครัว
วันครบรอบการแต่งงาน วันเกิดลูกๆ วันรับปริญญา หรือวันที่ลูก
เข้าแข่งขันกีฬานัดสำคัญ สิ่งเหล่านนี้ล้วนสำคัญและไม่น่ามอง
ข้าม เพราะสมาชิกในครอบครัวต้องการกำลังใจ และความเอา
ใจใส่จากคนในครอบครัวมากกว่าบุคคลอื่น


กลยุทธ์ที่ 7 : ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
หากสามี หรือ ภรรยา เกิดปัญหาจากการทำงาน การพูดคุย
ปรึกษาหรือถามไถ่ในเวลาที่สังเกตเห็นสิ่งผิดปกติ ถือเป็นน้ำ
ทิพย์ชโลม จิตใจที่ดี เหมือนสายฝนที่ชุ่มฉ่ำ แม้กระทั่งการให้กำ
ลังใจลูกเมื่อพลาดจากการสอบ หรือพลาดจาการชนะในการ
แข่งขันกีฬา อย่าได้ซ้ำเติม หรือเพิกเฉย ปล่อบให้คิดแก้ปัญ
หาเองโดยไม่มีคำปรึกษาที่ดี


กลยุทธ์ที่ 8 : หาอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
ช่วยผ่อนแรงงานในบ้านบ้าง
ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องซื้อทุกอย่างที่อำนวยความสะดวก
มาซะทุกชิ้น แต่ต้องพิจารณาว่าชิ้นไหนควร ? ไม่ควร ?
หรือเหมาะสมกับ สภาพทางการเงินในครอบครัวหรือไม่ ?
เพราะการใช้เครื่องอำนวยความสะดวกใบบ้านบางชิ้น
สามารถประหยัดเวลาในการทำงาน ซึ่ง นั้นก็หมาย
ความว่าคุณมีเวลาได้ทำกิจกรรมอื่นภายในบ้าน
หรือมีเวลาให้กับคนในครอบครัวมากขึ้น


กลยุทธ์ที่ 9 : หากิจกรรมพักผ่อนในวันหยุดร่วมกัน
สิ่งนี้เป็นสำคัญเพราะว่าเป็นจุดทำลายความตึงเครียด
ของทุกคนในบ้านด้วยการเปลี่ยนบรรยากาศ เปลี่ยน
สถานที่พักอาศัยชั่วคราว เปลี่ยนรสชาติของอาหาร
ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้ทุก
คนได้ผ่อนคลายจากภาระการทำงานนอกบ้าน ภาระ
การทำ งานในบ้าน ภาระการเรียนหนังสือ ฯลฯ


กลยุทธ์ที่ 10 : เริ่มต้น - จบลงด้วยบรรยากาศที่ดี
กลยุทธ์นี้สัมพันธ์กับการพูด การพูดที่ดีต่อกันของ
สมาชิกในครอบครัว เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบรร
ยากาศที่ดีในครอบครัว การ พูดจากระแทกแดกดัน
หรือใช้อารมณ์ที่ขุ่นมัว ซึ่งติดมากับที่อื่น จะทำให้สมา
ชิกในบ้านเกิดความตรึงเครียด


10 กลยุทธ์ของการลดความเครียดในบ้านที่เอามาฝาก
ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงอาศัยความละเอียดอ่อน ความสังเกต
และความรัก เป็น ที่ตั้งอันสำคัญ เตรียมพร้อม เพื่อปก
ป้องเรื่องราวต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความเครียดในครอบ
ครัวแล้วอย่าลืมตระเตรียมร่มคู่ใจ ให้สำหรับสมาชิกใน
บ้านด้วยนะค่ะ เพราะย่างเข้าฤดูฝนกันแล้ว สุขภาพจิตดี
ต้องสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเสมอ....


 


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์