ทำความรู้จัก..ต้อกระจกให้มากขึ้น ?....

ทำความรู้จัก..ต้อกระจกให้มากขึ้น ?....


ต้อกระจก เป็นภาวะที่แก้วตาขุ่นจึงกั้นมิให้แสงผ่านทะลุไปได้ทำให้ตามัวหรือถึงขั้นมองไม่เห็นแก้วตา (Lens) มีลักษณะแบบเลนส์นูน แต่มีความโค้งทางด้านหน้าและด้านหลังไม่เท่ากัน ตรงขอบจะมีเส้นเอ็นไปยึดติดกับซีเลียรีบอดี เรียกว่า เอ็นยึดแก้วตา ประกอบด้วยน้ำ 65 % โปรตีน 35 % ตัวแก้วตาไม่มีใยประสาทรับความเจ็บปวด เส้นเลือดหรือ เส้นประสาท แก้วตานี้จะเจริญเติบโตไม่มีวันสิ้นสุด แก้วตาที่เกิดใหม่จะอยู่รอบนอกผลักของเก่าเข้าไปตรงกลาง เนื่องจาก การเจริญแบบนี้ตัวแก้วตาจะถูกอัดแน่นให้แข็งตัวขึ้นเรื่อย ๆ การเปลี่ยนรูปร่าง ความยืดหยุ่น ก็ค่อยๆ หมดไปมีหน้าที่ใน การรวมและหักเหของแสงทำให้เกิดภาพที่จอตา

สาเหตุ

ประมาณ 95 % มาจากเสื่อมตามวัยซึ่งเป็นธรรมชาติเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นของร่างกาย อีก 5% มาจากสาเหตุอื่น ได้แก่จากภยันตรายราย ความผิดปกติแต่กำเนิด โรคระบบอื่นและสารพิษการป้องกันบางตำราบอกว่าป้องกันได้โดยการ หลีกเลี่ยงการมองหรืออยู่ในที่แดดจัดนานๆการใส่แว่นกันแดดแต่บางแหล่งบอกว่าไม่สามารถป้องกันได้เป็นไปตามวัย

พยาธิสรีรวิทยา

ปกติแก้วตาจะเริ่มทึบเมื่ออายุ 35 ปี และจะค่อยๆทึบขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุ 70 ปี 90% จะเป็นต้อกระจกแก้วตา ประกอบด้วย ตา ในระยะแรกจะมีการซึมผ่านของน้ำมากกว่าภาวะปกติทำให้เนื้อเยื่อของแก้วตาบวม เมื่อถึงระยะต้อกระจก สุกจำนวนน้ำที่เพิ่มขึ้นจะลดลงความหนาแน่นของแก้วตาจะค่อยๆ ลดลงเกิดการสูญเสียธาตุโพแทสเซียมโดยมีธาตุโซเดียม เข้ามาแทนที่เพื่อรักษาสมดุลแคลเซียมมาสะสมมากขึ้น การใช้ออกซิเจนลดลง ขณะเดียวกันจะเกิดความไม่สมดุลของ โปรตีนชนิดของต้อกระจก

1. ต้อกระจกในวัยสูงอายุ (senile cataract)

พบมากที่สุด มักเป็นทั้งสองตาแต่ความขุ่นของแก้วตาอาจไม่เท่ากัน ที่พบทั่วไปมี 3ประเภท คือ ขุ่นบริเวณนิวเคลียส (nuclear sclerosis)หรือแก้วตาขุ่นจากบริเวณรอบนอก (cortical cataract) และแคปซูลส่วน หลังของแก้วตาขุ่น แบ่งเป็นระยะต่างๆดังนี้

1.1 ต้อกระจกเริ่มเป็น(immature cataract) จะมีการขุ่นของแก้วตาที่คอร์เท็กซ์(cortex) แต่นิวเคลียสใน หรือ ทึบตรงนิวเคลียสแต่ส่วนรอบๆใส ต้อกระจกสุก (mature cataract) ทั้งคอร์เท็กซ์และนิวเคลียสขุ่นหมดผู้ป่วยจะมอง ไม่เห็นอะไรในระยะที่จะวัดความสามารถในการมองเห็น( visual acuity = V.A.) อาจจะได้ finger count จนถึง hand movement

1.2 ต้อกระจกสุกงอม (hypermature cataract) ระยะนี้โปรตีนในแก้วตาจะมีการดูดซึม(osmosis) ดึงน้ำเข้าไป ทำให้แก้วตาบวม วัดสายตาได้ PJ (projection of light) แก้วตาที่สุกมากจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด โรคแทรกซ้อน

2.ต้อกระจกโดยกำเนิด (congenital cataract)

มักเกิดเนื่องจากพันธุกรรมหรือเกิดจากการพัฒนาที่ผิดปกติเนื่องจากมารดาติดเชื้อไวรัสพวกหัดเยอรมัน (Rubella) ขณะตั้งครรภ์ 3 เชื้อไวรัสพวกหัดเยอรมัน (Rubella) ขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก

3.ต้อกระจกทุติยภูมิ ( secondary cataract)

สาเหตุจากภยันตราย จากโรคเบาหวานจากการได้รับยาเสตียรอยด์และได้รับแสงอุลตราไวโอเล็ตเป็นเวลานานๆ อาการและอาการแสดง

1. ตามัวลงช้าๆ โดยไม่รู้สึกเจ็บปวดผู้ที่เป็นต้อกระจกจะให้ประวัติว่าตาจะมัวมากขึ้นในที่สว่างที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากขณะอยู่ที่สว่างรูม่านตาเล็กลงส่วนอยู่ในที่มืดจะเห็นชัดขึ้น เพราะรูม่านตาขยาย
2. มองเห็นภาพซ้อน เนื่องจากการหักเหของแสงในแต่ ละส่วนของแก้วตาเปลี่ยนไป
3. สายตาสั้นลงเพราะแก้วตาเริ่มขุ่นทำให้กำลังหักเหของแสงเปลี่ยนไปจึงมองในระยะใกล้ได้ชัด ขณะเดียวกัน มองไกลจะไม่ชัดเมื่อใช้ไฟฉายส่องผ่านรูม่านตา จะเห็นแสงสะท้อนสีขาว
4. รูม่านตาจะเห็นขุ่นขาวเมื่อส่องดูด้วยไฟฉาย
5. ถ้าส่องตาผู้ป่วยด้วยเครื่องมือที่เรียก direct opthalmoscope บริเวณรูม่านตาจะเห็นเป็นเงาดำตาม ขนาดและรูปร่างของแก้วตาที่ขุ่น

การรักษา

ไม่มีการรักษาด้วยยา มีวิธีเดียวเท่านั้น คือ การผ่าตัดเอาแก้วตาที่ขุ่นออก ซึ่งเรียกว่า ลอกต้อกระจก (lens extraction) ชนิดของการผ่าตัดผู้ป่วยโรคต้อกระจกมักไม่มาพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการเพราะไม่เจ็บปวด แต่จะมาพบเมื่อมีผลต่อการมองเห็นมากๆและ มีผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน

1. Extracapsular Cataract Extraction (ECCE)
เป็นการผ่าตัดเอาแก้วตาออกเหลือแต่เปลือกหุ้มแก้วตาด้านหลัง หลังผ่าตัดประมาณ 1 1/2 - 2 เดือน ต้อง สวมแว่นตาจึงมองเห็นชัดในภาวะที่ไม่มีแก้วตาหรือเลนส์นี้มีชื่อเฉพาะเรียกว่า aphakia

2.Intracapsular Cataract Extraction (ICCE)
เป็นการผ่าตัดเอาแก้วตาออก โดยการใช้ Freezing probe และลอกเอาแก้วตาออกทั้ง capsule และ เนื้อในแก้วตา ผลของการผ่าตัดชนิดนี้มีผลไม่แน่นอน มีผลต่อสายตาการมองถ้าไม่ใส่เลนส์เข้าไปแทนที่ผู้ป่วยจะ ต้องใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ หรือถ้าใส่แล้วแพทย์วางตำแหน่งไม่ตรงทำให้เกิดสายตาเอียงได้

3.Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular Lens (ECCE c IOL)
เป็นการผ่าตัดเอาแก้วตาออกเหลือแต่เปลือกหุ้มแก้วตาด้านหลังร่วมกับใส่แก้วตาเทียมหลังผ่าตัดผู้ป่วย สามารถมองเห็นชัดทันทีการมองเห็นภาพจะขนาดใกล้เคียงกับตาคนปกติมากที่สุดไม่ต้องสวมแว่นตา สามารถ ขจัดปัญหาการสูญหายของแว่นตาลงได้

4.Phacoemulsification with Intraocular Lens ( PE c IOL)

เป็นการผ่าตัดต้อกระจกโดยการใช้คลื่นเสียงหรืออัลตราซาวด์ที่มีความถี่สูงเข้าไปสลายเนื้อ แก้วตาแล้วดูด ออกมาทิ้ง และจึงนำแก้วตาเทียมใส่เข้าไปแทนข้อดีของวิธีนี้ต่างกับวิธีปกติตรงที่แผลผ่าตัดเล็กกว่าการเกิดสายตา เอียงหลังการผ่าตัดน้อยลงระยะพักฟื้นหลังการผ่าตัดสั้นกว่าข้อเสียเนื่องจากเป็นวิธีใหม่ ดังนั้นต้องอาศัยความ ชำนาญของแพทย์ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง และต้องใช้สารหล่อลื่น (viscoelastic) ช่วยในระหว่างผ่าตัด มิฉะนั้นเครื่องอัลตราซาวด์อาจไปสั่น ทำลายกระจกตาได้

แก้วตาเทียม (Intraocular Lens)
 
เป็นสิ่งประดิษฐ์ใช้แทนเลนส์ธรรมชาติมักทำจากสาร Polymethyl methaacrylate (PMMA) ซึ่งไม่มีปฏิกิริยากับเนื้อตาลักษณะแก้วตาเทียมประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

1. ส่วนที่เป็นแก้วตาเทียม (optical portion) ส่วนนี้ทำหน้าที่หักเหแสงให้ตกบนจอประสาทตาเพื่อให้ เห็นภาพชัดส่วน

2. ขาแก้วตาเทียม ( haptic portion) ทำหน้าที่ยึดหรือพยุงให้แก้วตาเทียมอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ ไม่ให้เคลื่อนที่หรือเลื่อนหลุดไป มีทั้งที่เป็นขาแข็งและที่ยืดหยุ่นได้แบบสปริง

อาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก

1. ความดันลูกตาสูง ( Increase intraocular pressure) IOP เกิดจากผลของกิจกรรมบางอย่าง ทำให้ความดันลูกตาสูงทันทีทันใดเช่น การไอ การจาม การอาเจียน การก้มหน้าต่ำกว่าระดับเอวการยกของหนัก การบีบตา การเบ่งถ่ายอุจจาระ และการนอนตะแคงข้างที่ผ่าคัด ความดันจะสูงกว่า 20 มม.ปรอท

2. การดึงรั้งของแผลเย็บ ( stress on the suture Line) เมื่อความดันลูกตาสูงทำให้แผลเย็บถูกดึงรั้ง เกิดเลือดออกในช่องหน้าม่านตาได้ผู้ป่วยปวดตาหรือไม่ปวดก็ได้ขึ้นกับจำนวนเลือดในช่องหน้าม่านตา

3. เลือดออกในช่องหน้าม่านตา (hyphema) เกิดจากการฉีกขาดฉีกขาดของเส้นเลือดม่านตา และ ซีเลียรีบอดี สาเหตุจากภยันตรายชนิดไม่มีคม ( blunt trauma) เกิดขึ้นเอง และจากผู้ป่วยปฏิบัติตนหลังผ่าตัด ไม่ถูกต้อง

4. การติดเชื้อ ( infection) เกิดได้จากหลายสาเหตุ ตาถูกน้ำ ผู้ป่วยขยี้ตา

5.vetreous prolapse เกิดจากการแตกของ posterior capsule มีvetreous ในแผลทำให้การ หายของแผลช้าและอาจมีรูที่ ratina ทำให้กระจกตาลอกหลุดได้

6.ท่อทางเดินน้ำตาเกิดการติดเชื้อ เกิดจากการบาดเจ็บขณะผ่าตัด ในการใส่เลนส์

FW

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์