สงบสยบเด็ก สกัดลูกก้าวร้าว

สงบสยบเด็ก สกัดลูกก้าวร้าว


มีงานวิจัยพบว่ามีแม่เพียง 20% ใช้ประโยคทางบวกพูดชื่นชมยินดีกับลูก ขณะที่มีถึง 80% พูดคุยกับลูกด้วยประโยคทางลบ เช่น คาดคั้น กล่าวโทษ ว่าร้าย ทำให้เด็กฝังใจ ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเจริญทางวัตถุอบายมุข สิ่งยั่วยุ ล่อตา ล่อใจ ให้เด็กต้องการ ถ้าแม่รู้ไม่เท่าทันปัญหาสังคมจะรุนแรงกว่ากรณีเล่นเกมจีทีเอแล้วไปฆ่าคนเสียอีก"

วิธีการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กได้
การเลือกใช้คำพูดที่รุนแรงและวิธีการจัดการด้วยความรุนแรงกับเด็กอาจส่งผลให้เด็กกลายเป็นเด็กก้าวร้าวและทวีความรุนแรงกลายเป็นผู้กระทำผิดในสังคมได้

วิธีจัดการกับพฤติกรรมของเด็กเหล่านี้จึงจำเป็นต้องถูกวิธี

นายเกียรติยง ประวีณวรกุล นักจิตวิทยา โรงพยาบาลธนบุรี 2 กล่าวถึงปัจจัยที่เด็กเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวว่ามาจากหลายกรณี ได้แก่

1.ความก้าวร้าวอันเกิดจากพฤติกรรมตามวัย เป็นสัญชาตญาณของเด็กตามช่วงอายุ ที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ โดยเฉพาะเด็กใน
ช่วงวัย 2-3 ขวบ ไม่ว่าจะโกรธ โมโห ก็จะแสดงอาการออกมา รวมถึงสภาพอารมณ์ของเด็กในขณะนั้น ซึ่งตัวเด็กอาจจะโกรธ โมโห ไม่พอใจ กับบางอย่าง

2.เด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง ทำให้ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูกผิด และควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เป็นเหตุให้เด็กมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวออกมา

สงบสยบเด็ก สกัดลูกก้าวร้าว


3.ร่างกายของเด็กขาดความสมดุล เช่น เด็กไม่สบาย เหนื่อย หิวข้าว เป็นต้น ทำให้เด็กเกิดภาวะเสี่ยงที่จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมาให้เห็น เพราะสภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์

4.เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวออกมาแล้วได้รับประโยชน์จากพฤติกรรมที่เขาทำ เช่น เมื่อเด็กอยากได้ของเล่น แต่พ่อแม่ไม่ให้ก็จะลงไปร้องไห้ดิ้นกับพื้นจนกว่าจะได้ของเล่น เมื่อครั้งแรกเขาทำได้ พอครั้งต่อไปเด็กก็จะทำพฤติกรรม แบบนั้นอีก เพราะเขารู้ว่าถ้าเขาทำแบบนี้แล้วจะได้ในสิ่งที่ต้องการ

5.เด็กก้าวร้าวเนื่องจากการเลียนแบบความรุน แรงจากสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น เลียนแบบจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว เมื่อเห็นพ่อแม่ ทะเลาะกัน ต่อว่ากันด้วยถ้อยคำรุนแรง เลียนแบบจากเพื่อน เช่น เพื่อนๆ พูดคำหยาบที่โรงเรียน หรือจากสื่อต่างๆ ที่นำเสนอการใช้ความรุนแรง

6.จากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เช่น การที่พ่อแม่ตามใจลูกเกินไป การปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่ลูก หรือการที่เด็กทำผิดแล้วมีการใช้ความรุนแรงลงโทษเด็ก เป็นสาเหตุทำให้เด็กฝังใจและแสดงพฤติกรรมที่รุนแรงตามมา

สงบสยบเด็ก สกัดลูกก้าวร้าว


จากปัจจัยที่ทำให้เด็กก้าวร้าวเหล่านี้ แนวทางป้องกันแก้ไขสำหรับพ่อแม่เพื่อไม่ให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นคือพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำเหล่านี้ต่อเด็ก โดยเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวแสดงออกมา ต้อง เข้าใจและยอมรับพฤติกรรมของเด็กก่อนว่าที่เด็กก้าว ร้าวแบบนี้เพราะเด็กกำลังอารมณ์ไม่ดี หรือเด็กกำลัง ไม่สบาย และหยุดการกระทำที่ก้าวร้าวของเด็กด้วยท่า ทางที่สงบ จากนั้นจึงค่อยๆ สอนเด็กด้วยเหตุและผล พยายามให้เด็กได้คิดว่าเมื่อเด็กทำแบบนี้แล้วผลที่ตามมาคืออะไร ไม่ใช้อารมณ์หรือคำพูดที่รุนแรงในการตักเตือนเด็ก เช่น คำตำหนิ เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกมีปม ด้อยมากขึ้น

คุณแม่ลูกชายวัย 6 และ 10 ขวบที่เข้าร่วมกิจกรรมปรับพฤติกรรมก้าวร้าวลูกรักของชมรมครอบครัว มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ครั้งที่แล้ว กล่าวว่า เมื่อก่อนลูกจะเป็นเด็กที่โมโหร้ายมาก มักจะหงุดหงิดง่ายโดยไม่รู้ตัว จนไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี จึงลองมาร่วมกิจกรรมนี้ดู จากปกติที่ไม่ค่อยได้เข้าร่วมกิจกรรมพวกนี้เท่าไหร่ แต่พอได้มาร่วมกิจกรรมนี้ได้นำความรู้และคำแนะนำต่างๆ ที่ได้จากการอบรมไปใช้ ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจมากและคิดว่ามีประโยชน์สำ
หรับใครที่ลูกมีพฤติ กรรมก้าวร้าว เพราะปฏิบัติได้จริง จากที่เมื่อก่อนเขาโมโหจะมี อารมณ์รุนแรงมาก แต่พอได้ใช้วิธีที่วิทยากรแนะนำเราก็เปลี่ยนวิธีจัดการกับพฤติกรรม ซึ่งความรุนแรงน้อยลงไปมากอย่างเห็นได้ชัด ทำ ให้ครอบครัวมีความสุขมากขึ้นด้วย

สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกอายุ 2-6 ขวบ และสนใจเข้าร่วมกิจกรรม "ปรับพฤติกรรมก้าวร้าวของลูกรัก" เพื่อเสริมความรู้และทักษะในการรับมือและ ปรับพฤติกรรมก้าวร้าวของลูก...ในวันอาทิตย์ที่ 12, 19, 26 ตุลาคม และ 2 พฤศจิกายน 2551 ที่โรงเรียนเพลินพัฒนา เวลา 08.30-12.00 น. กิจกรรมครั้งนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ รับจำนวนจำกัด สมัครได้ที่ชมรมครอบครัวมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร. 0-2412-0738, 0-2412-9834 www.thaichild rights.org

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์