คนวัยทำงาน 1 ใน 5 คน เสี่ยงป่วย ออฟฟิศซินโดรม

คนวัยทำงาน 1 ใน 5 คน เสี่ยงป่วย ออฟฟิศซินโดรม


แพทย์ ระบุ คนวัยทำงาน 1 ใน 5  มีอาการปวดเรื้อรัง ถ้าคนไหนมีอาการปวดต่อเนื่อง 3 เดือน รีบพบแพทย์วินิจฉัยด่วน และคนวัยทำงานเสี่ยงเป็น "ออฟฟิศซินโดรม" เพราะนั่งหน้าจอคอมพ์นาน นั่งผิดท่า เตือนผู้ป่วยกินยาแก้ปวดอาจมีผลกับกระเพาะ ไต หัวใจ ความดัน



ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่น
.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ที่ปรึกษาสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย กล่าวในการเสวนาเรื่อง "เมื่อความปวดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและแนวทางการรักษา" ว่า อาการปวดเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้นๆ ของโลก ทั้งนี้ ผลการวิจัยล่าสุด ระบุว่า ประชากรวัยทำงาน 1  ใน 5  คน มักจะมีอาการปวดเรื้อรังโดยเฉพาะคนที่อยู่ในสังคมเมือง ซึ่งมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบ มีความเครียดสูง ส่งผลให้ปัญหาทางกาย จิตใจ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก และยังรวมไปถึงความสูญเสียทางเศรษฐกิจ



สอดคล้องกับข้อมูลของมูลนิธิความปวดแห่งชาติสหรัฐอเมริกา พบว่า ความปวดเรื้อรังก่อให้เกิดความสูญเสียโดยรวมปีละประมาณ 100,000
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท ความสูญเสียนี้ได้รวมค่าใช้จ่ายในทางการแพทย์ การหยุดงาน และค่าชดเชยสำหรับคนตกงานอีกด้วย


คนวัยทำงาน 1 ใน 5 คน เสี่ยงป่วย ออฟฟิศซินโดรม

ขณะที่ รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช นายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ความปวดส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ความเจ็บปวดถือเป็นสัญญาณเตือนภัยว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น โดยเฉพาะถ้ามีอาการนานกว่า 3  เดือนจัดอยู่ในประเภทปวดเรื้อรัง โรคนี้เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ผู้ที่เป็นจะทรมาน ความปวดแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.
ความปวดจากการอักเสบ ที่พบบ่อย คือโรคข้อ ได้แก่ ข้อเสื่อมพบมากในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยพบในผู้ชายร้อยละ 9.6  ผู้หญิงร้อยละ 18 โรครูมาตอยด์ ร้อยละ 1  และ

2.
ความปวดที่เกี่ยวเนื่องกับระบบประสาท พบได้ร้อยละ 6 เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาท กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท การปวดเส้นประสาทในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยเอดส์



รศ
.นพ.ประดิษฐ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเราพบผู้ป่วยซึ่งอายุยังน้อยและอยู่ในวัยแรงงาน มีอาการปวดเนื่องจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การนั่งอยู่หน้าจอคอมพ์เป็นเวลานาน นั่งผิดท่า เราเรียกว่า ออฟฟิศซินโดรม อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถแก้ไขได้ โดยให้ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง ไม่นั่งหลังโค้งงอ หรือนั่งหน้าจอคอมพ์ติดต่อเป็นเวลานาน ๆ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบว่าตนเอง หรือคนใกล้ชิด มีอาการปวดที่เรื้อรังนานกว่า 3 เดือน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาด่วน


ด้าน ผศ.พญ.ศิวาพร จันทร์กระจ่าง คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แนะวิธีการสังเกตความปวดที่เกี่ยวเนื่องกับระบบประสาท ว่า จะมีอาการเฉพาะที่สังเกตง่าย ๆ คือ จะมีอาการเจ็บแปลบเรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ หรือบางครั้งมีอาการเจ็บ ๆ คัน ๆ คือ อาการปวดที่แปลก ๆ ขอให้นึกถึงเรื่องเส้นประสาท เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานเจ็บปวดบริเวณเท้า ผู้ป่วยโรคงูสวัด ปวดบริเวณหน้าอก นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเจ็บแปลบบนใบหน้า จมูก ตา ริมฝีปาก และหู



ส่วน รศ
.ดร.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ ประธานฝ่ายวิชาการสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย บอกว่า กินยาแก้ปวดถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาอาการปวด แต่ผู้ป่วยต้องเข้าใจด้วยว่า ยาบางกลุ่มอาจมีผลกระทบต่อร่างกาย เช่น มีผลต่อกระเพาะอาหาร ไต ความดันโลหิตสูง และอาจทำให้หัวใจล้มเหลว ดังนั้น ผู้ป่วยที่กินยาแก้ปวดต้องระมัดระวังผลกระทบเหล่านี้ด้วย


ที่มา : bangkokHealth


คนวัยทำงาน 1 ใน 5 คน เสี่ยงป่วย ออฟฟิศซินโดรม


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์