6 วิธีสร้างสมาธิ เสริมพลังจิต

6 วิธีสร้างสมาธิ เสริมพลังจิต


พลังสมาธิมีบทบาทช่วยบำบัดโรค มีข้อพิสูจน์มากมาย ทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ดี มีสรรพวิธีประการต่างๆ ที่ช่วยให้คนเราเกิดสมาธิได้ดีขึ้น ถ้าเลือกใช้วิธีให้เหมาะสมกับตน พระ ดร.สิงห์ทน นราสโภ ได้แนะนำทางเลือกที่ช่วยให้เกิดสมาธิไว้ดังนี้ :

"คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสมาธิเป็นวิธีที่ทำได้ยาก ต้องเป็นผู้ที่ต้องปลงแล้วเท่านั้นจึงจะทำได้ แต่ความจริงคนเราแต่ละคนก็ตามล้วนต้องมีสมาธิ แม้แต่การทำอะไร จะคิดอะไร ก็ต้องมีสมาธิ จึงจะไม่มีผิดพลาด การจะมีสุขภาพดีก็ต้องมีสติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็นพระสูตรในการรักษาโรค เช่น โพชฌงค์เจ็ด ก็เริ่มด้วยสติ ซึ่งก็คือสติปัฏฐานสี่ มีบทสรุปที่สำคัญว่า "

ไม่ยึดติดไม่แต่นิดเดียวว่า มีตัวของเราหรือมีตัวตน" ซึ่งต่างกับความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ที่เชื่อในความเป็นอัตตาตัวตน พระองค์ได้มาตรัสในอนัตตลักขณสูตร ได้บอกว่า ไม่มีอัตตา มีแต่ขันธ์ อายตนะ ดังนั้น ถ้าใครก็ตามสามารถทำลายอัตตา ทำลายตัวตน กิเลสก็ไม่มีที่อาศัย โรคภัยไข้เจ็บก็ไม่มีที่อาศัยเช่นเดียวกัน คนเราที่ทุกข์ก็เพราะมีอัตตาสูง เมื่อมีตัวเราของเราสูง ก็ทำให้เกิดความทุกข์ เพราะเข้าใจว่ามันเป็นตัวเรา เป็นของเรา ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสสอนว่า ต้องทำให้เป็นสติปัฏฐาน เป็นกาย เวทนา จิต และธัมมานุปัสสนา"


ตรงนี้ละครับ ถ้าได้ตีความให้ลึกซึ้ง นั่นน่าจะเป็นแผนที่เดินทางไปสู่การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยการมีสติ เข้าถึงซึ่งการรับรู้ความไม่มีตัวตนของสรรพสิ่ง รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บด้วย จึงทำให้เกิดการรักษาโรคได้ด้วยพลังของสมาธิ

ลองมาพิจารณาสรรพวิธีสำหรับการสร้างพลังสมาธิกัน
ก่อนอื่นว่าด้วยวิธีอานาปานสติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่ามี 16 ขั้นตอน


ขั้นตอนแรก หายใจเข้ายาวก็กำหนดรู้ หายใจออกยาวก็กำหนดรู้

ขั้นตอนที่สอง หายใจเข้าสั้นก็กำหนดรู้ หายใจออกสั้นก็กำหนดรู้

ขั้นตอนที่สาม ถึงแม้ลมหายใจจะสั้นและแผ่วก็กำหนดรู้ได้ว่ามั่นเริ่มตรงไหน เข้าไปและสิ้นสุดตรงไหน ออกจากไหนไปสิ้นสุดตรงไหน

ขั้นตอนที่สี่ ลมหายใจเมื่อฝึกไปจะแผ่วลงๆ แล้ววูบไป เรียกว่าจิตตกภวังค์ ตรงนี้แหละถ้ามีอินทรีย์แก่กล้าพอสมควร ก็จะเข้าอัปปนาสมาธิ จนก้าวสู่ขั้นที่ไม่ยึดติดในตัวตน

อย่างไรก็ดี พลังสมาธิจะได้มาไม่ใช่ง่าย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใครไม่เคยฝึกสมาธิมาก่อนตั้งแต่ยังสุขภาพแข็งแรง ครั้นรอให้เจ็บป่วยแล้วค่อยมาฝึกสมาธิ นั่นนับเป็นเรื่องยากอย่างยิ่ง เพราะยามที่คนเราเจ็บป่วย ย่อมต้องมีความเจ็บปวดไม่สบาย ตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง เวทนาเหล่านี้เป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้เกิดสมาธิ จึงต้องอาศัยวิธีอื่น ๆ ต่อไป ดังนี้คือ

วิธีที่หนึ่ง ใช้คำว่า "โอม" คำนี้มาจากคำว่า "อุ" "อะ" "มะ" กล่าวคือ "อุ" ได้แก่ อุตตมธรรม คือธรรมะของพระพุทธเจ้า "อะ" คืออรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า "มะ" คือมหาสังฆะ คือพระสงฆ์ ให้ใช้วิธีหายใจยาวให้ท้องพองเต็มที่ แล้วเปล่งเสียง "โอม" ขณะที่เปล่งเสียงใช้จิตกำหนดที่ระหว่างคิ้ว ถ้าทำไปแล้วจะเห็นรังสีหรือออร่าของตัวเอง เป็นการตรวจสอบออร่าของตัวเองด้วย ถ้าเห็นสีม่วง สีคราม สีน้ำเงินแก่ สีเขียว ส้ม แดง ก็แสดงว่าสุขภาพไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้าเห็นเป็นสีเทา ก็แสดงได้ว่าตนกำลังเจ็บป่วยอยู่ หรือเป็นโรคอยู่แต่กำลังจะหาย แต่ถ้าเห็นเป็นสีดำแสดงว่าท่านอาจกำลังจะมีภัย หรือเจ้าตัวมีโรคทางใจ มีราคะ โทสะ โมหะ ก็จะมีสีดำเช่นกัน

วิธีใช้เสียงโอม ให้เริ่มจากการใช้เสียงสูงก่อน ร้องให้ยาวที่สุด ตามด้วยเสียงโอมที่ต่ำลงทีละน้อย ต่ำลงๆ จนไม่อาจจะเปล่งได้ เสียงสั่นสะเทือนที่ถูกเปล่งจากสูงมาหาต่ำ จะสร้างช่วยกระตุ้นจักระต่างๆ ในตัว มีผลในการรักษาโรคภัยเจ็บ

วิธีที่สอง เป็นวิธีของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ให้ใช้สวดบทอิติปิโสว่าให้ได้ 9 จบชั่วอึดใจหนึ่ง คือใช้บทพุทธคุณบทเดียว คิดดูก็แล้วกันว่าใครที่ตามที่สามารถว่าถึง 9 จบภายในลมหายใจเดียว ย่อมทั้งท่องบทสวดนั้นได้คล่องมาก และต้องมีลมหายใจยาวมากด้วย เวลาสวดก็ใช้เสียงสูงกลางต่ำให้เพลินไป เวลาหัดแรกๆ ก็อาจไม่ถึง 9 จบ ก็ไม่เป็นไร นานๆ ก็ได้เอง

วิธีที่สาม เป็นวิธีแบบโยคะ หรือปราณยาม คือ :

- หายใจเข้ายาวๆ นับในใจ 5

- จากนั้นอดกลั้นลมหายใจยาวเป็นสองเท่าของลมหายใจเข้า นับในใจ 10

- แล้วหายใจออกนับในใจ 5

- จากนั้นปล่อยให้ว่าง นับในใจอีก 5

เริ่มหัดจาก 5, 10, 5, 5 แล้วเพิ่มเป็น 6, 12, 6, 6 ต่อไปเพิ่มเป็น 7, 14, 7, 7 จนถึง 10, 20, 10, 10 ด้วยการฝึกเช่นนี้ลมหายใจจะยาวขึ้นๆ เกิดการฟอกล้างลมปราณ สารพิษจากตัวด้วย แถมยังเป็นบาทฐานในการฝึกอานาปานสติภาวนาอีกต่างหาก

วิธีที่สี่ เป็นวิธีของ น.พ.แอนดรูว์ ไวล์ เขียนใน Spontaneous Healing กล่าวถึงการกระตุ้นร่างกายให้รักษาตัวเอง โดยสนใจเป็นพิเศษทำอย่างไรให้เราเข้าสมาธิได้ ได้ใช้นักศึกษาทดลองวิธีต่างๆ แล้วสรุปว่า "ถ้าใครอยากจะเข้าสมาธิหรือเข้าฌานได้ จะต้องฝึกลมหายใจให้ยาว คือ 1 นาทีหายใจได้ 6 ครั้ง" ฝึกจนกระทั่งในภาวะปกติก็เป็นแบบนี้ ถ้าใครฝึกได้อย่างนี้ เมื่อไหร่จะเข้าฌานก็จะเข้าฌานได้ง่าย ให้เกิดปีติ เกิดสุขขึ้นในระหว่างเข้าถึงอัปปนาสมาธิ หรือถ้าใครฝึกลมหายใจยาว แม้จะเข้าฌานยังไม่ได้ก็จะมีสุขภาพดี จะไม่มีโรคปวดหัว ไมเกรน นอนไม่หลับ ความดันสูง ความดันต่ำ หรือระบบย่อยอาหารทั้งหลาย

วิธีที่ห้า เป็นวิธีที่โบราณจารย์ของไทยฝึกสอนกันมา คือให้ดำน้ำทำตะกรุด จะมีรูปแบบของตะกรุดแล้วแต่อาจารย์ท่านไหน จะแนะให้ลูกศิษย์เขียนตะกรุด โดยใช้ทีแรกเป็นแผ่นทองเหลือง ต่อมาให้สูงขึ้นเป็นเงิน เป็นนาก และเป็นทองคำ เมื่อเริ่มเขียนจรดเหล็กจานลง ก็ให้เขียนให้เสร็จแล้วก็ม้วนมาให้อาจารย์ดู อาจารย์เพียงแต่ดูก็จะรู้ว่าลูกศิษย์มีสมาธิขนาดไหน

พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า คนตาย คนเข้าสมาธิ คนดำน้ำ และคนอยู่ในท้องแม่ อยู่ในสภาวะที่ไม่หายใจ แต่การจะทำได้ ไม่ใช่จู่ๆ ก็ทำได้ โดยพยายามอดลมหายใจเอง ถ้าร่างกายไม่พร้อม การอดกลั้นลักษณะนั้นก็เป็นการทรมานตัวเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงเห็นด้วย แต่ถ้าฝึกลมหายใจไปแต่ละขั้นตอน สุดท้ายก็ฝึกนั้นจะทำให้เรามีอินทรีย์แก่กล้า สามารถทำได้เอง เพราะมีความพร้อมที่เข้าสมาธิ จิตจะตกวูบเข้าสู่ฌานจิต

วิธีที่หก คือการสวดมนต์ เป็นวิธีสำคัญมากที่คนไทยเรามีมาแต่โบราณ แท้จริงการสวดมนต์ให้ถูกต้องจะได้บุญถึง 10 ประการ การสวดให้ดีต้องสวดให้ออกเสียง ไม่ใช่สวดอ้อมแอ้ม สวดให้ดีต้องออกเสียง ยิ่งดังยิ่งดี เป็นพลัง vibration เป็นการสั่นสะเทือนแบบขัดเกลา การสวดมนต์จะช่วยให้ได้ประโยชน์ทั้งสามประการ โดยเฉพาะสวดไปๆ จะเกิดการขัดเกลา เกิดการน้อมรับ ซึมซับ ธรรมะซึมเข้าไปโดยไม่รู้ตัว มีตัวอย่างมากมายสวดไปแล้ว เกิดผุดรู้ ผุดเห็น สามารถบรรลุตามพลังบารมีที่ตัวได้บำเพ็ญมา เกิดการปฏิบัติตามมรรคแปดโดยไม่รู้ตัว

เหล่านี้ท่านประมวลมาเป็นวิธีลัดไปสู่ฌานจิต ซึ่งเป็นจุดที่กายและจิตสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว และเกิดการบำบัดรักษาตนเองของผู้เจ็บป่วย

ขอบคุณบทความจากพลังจิตดอทคอม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์