รู้ไว้..เมื่อโดน งูเขียวหางไหม้กัด

รู้ไว้..เมื่อโดน งูเขียวหางไหม้กัด


ขัดกับที่เคยทราบกันมาก่อนหน้านี้ เมื่อถูกงูกัด เรามักจะต้องหาเชือกมารัด แต่ รศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร หน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านพิษงูและงูพิษกัด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กลับแนะนำว่า


การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ถูกงูกัดไม่ควรนำเชือกมารัดหรือขันชะเนาะ เพราะจะทำให้ เสียเวลาในการนำผู้ที่ถูกงูกัดส่งโรงพยาบาล และเป็นการยากที่จะบอกว่าต้องขันแน่นเท่าใดจึงจะเหมาะสม


ถ้ารัดแน่นเกินอาจทำให้อวัยวะส่วนนั้นขาดเลือดจนต้องถูกตัดทิ้งทั้งที่ งูอาจกัดแต่ไม่ปล่อยพิษก็ได้ จึงควรรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด หรือหากเป็นมากก็อาจหาวัสดุมาดามและพันไว้เพื่อให้อวัยวะส่วนที่ถูกกัดอยู่นิ่งๆ ก่อนนำส่งโรงพยาบาล


รู้ไว้..เมื่อโดน งูเขียวหางไหม้กัด


ส่วนวิธีการรักษานั้น รศ.นพ.อิศรางค์ บอกว่า หากจดจำลักษณะของงูหรือจับงูมาได้ ก็จะช่วยให้แพทย์ วินิจฉัยได้ง่ายขึ้น การให้เซรุ่มแก้ พิษงูจะต้องตรวจก่อนว่าได้รับพิษมากพอหรือไม่ หากไม่ได้รับพิษหรือได้รับพิษน้อยจะใช้วิธีเฝ้าดูอาการและระวังไม่ให้แผลติดเชื้อเท่านั้น เพราะเซรุ่มอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ทำให้เป็นหอบหืด

อาจารย์จากหน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านพิษงูและงูพิษกัด ยังได้วิจัยเรื่อง "บทบาทของการใช้ ยาเพรดนิโซโลนเพื่อลดอาการบวมในเด็กที่ถูกงูเขียว หางไหม้กัด" ในกลุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 3-15 ปี จำนวน 50 ราย พบว่าอาการบวมของเด็กที่ได้รับยาจริงและที่ได้รับยาหลอกลดลงพอ ๆ กัน หมายความว่า ยาเพรดนิโซโลนซึ่งเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ ไม่สามารถช่วยให้อาการบวมหายเร็วขึ้นได้ ส่วนการรักษาแผลตามปกติสามารถทำให้อาการบวมลดลงอย่างชัดเจนภายใน 72 ชั่วโมง โดย ไม่จำเป็นต้องให้ยาที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเพิ่มเติม

จุดสังเกตสำหรับผู้ที่ถูกงูเขียวหางไหม้กัดจะมีอาการปวดบริเวณที่ถูกกัดอย่างรุนแรงเป็นเวลาหลายชั่วโมง แผลจะมีรอยเขี้ยวเป็นจุด 2 จุด และจะบวมมากขึ้นเรื่อย ๆ

สิ่งสำคัญคือเมื่อรู้ว่าถูกงูกัดอย่ารีบรัดเชือก แต่ให้รีบพามาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ...


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์