ทางออกจากมหันตภัย

ทางออกจากมหันตภัย

คำว่า'ภาวนา' คือการเลือก เมื่อมันอยู่ในกาลเทสะที่เหมาะสมแล้ว
มันก็หาช่องทางที่จะออกจากตรงนั้นได้ อย่างเรากำหนดคำบริกรรม

ภาวนาพุทโธ พุทโธ พอเรากำหนดลึกๆลง..ความนิ่งที่จิต มันมาจับ
อยู่กับคำบริกรรม ที่เรียกว่า..บริกรรมชวนะ ฉะนั้นถ้าเราเห็นช่องทาง

อย่างนั้น เราก็ดำเนินต่อไปว่ามันมีอะไรกัน ในการหาช่องทางออกตรงนี้
มันมีเกมส์ของมันอยู่ เช่น บริกรรมชวนะ..ขณิกสมาธิ คือ วางคำบริกรรม

ลงไปได้ และจิตก็ไหวไปตามอารมณ์ และกลับมาจับคำบริกรรมใหม่
อีก พอได้คำบริกรรมอย่างเต็มที่แน่นหนามั่นคง จิตใจวางลงไปได้

ถึงขั้นสมาธิ นี่เป็นพื้นฐานที่่จะหาช่องทางออก ถ้าเราไม่หาช่องทางออก
จากมหันตภัย 'ภัย'อันนี้ก็จะมาเบียดบังเราตลอด ไม่รู้กี่ภพ อายุกี่ล้านปี

ก็ตามคือต้องหมด เพราะมันจะกินกันไปเรื่อยๆ ในอายุที่มี เมื่อมีอายุ
ที่ไหนก็มีการหมดอายุที่นั่น 'พระพุทธศาสนา'จึงได้หาช่องทางออกมา

ให้ทำบริกรรมภาวนา หรือมาพิจารณาสังขารร่างกาย ความสุข อันนี้
มันเป็นการพ้นภัยแล้วหรือยัง...ความสุขที่เรามีอยู่กับใจของเรา มันพ้น

ภัยหรือไม่...มันพ้นมหันตภัยได้แล้วหรือยัง ถ้ามันยังพ้นไม่ได้ เราก็นิ่งนอน
ใจไม่ได้ เราก็ต้องเร่งทำหาช่องทาง ไม่ว่าเราจะใช้คำบริกรรมภาวนาก็ตาม

หรือเราจะใช้การพิจารณาก็ตาม เพื่อต้องการที่จะหาช่องทางให้
ตนเองนั้นพ้นภัย ที่เรียกว่า'มหันตภัย'หรือเป็น'ภัยใหญ่' เหมือนกันกับ

ท่านเปรียบเทียบไว้ว่า "มีภูเขาใหญ่ ยิ่งมาจาดจตุทิศทั้งสี่มาบดขยี้สัตว์
ให้เป็นจุณ"...คำว่าเป็น'จุณ'ยังไม่พอ ยังเป็น'วิจุณ'อีก มีตัวไหนที่เป็นภัยใหญ่

เป็นภูเขาใหญ่ คือ.."ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย"..เราเกิดมา
ถึงขนาดนี้เห็นภูเขาที่ไหนมันกลิ้งมาทับคนไม่มี แต่'ความเกิด ความแก่

ความเจ็บ ความตาย'...กลิ้งมาทับทุกวัน มีตายให้ดูทุกวัน พอตายแล้ว
พ่อแม่ก็ร้องห่มร้องไห้หากันอยู่อย่างนั้น สนั่นหวั่นไหวไปทั้งบ้านทั้งเมือง

ฉะนั้นคำว่า'ภูเขา'...'ภูเรา'...นี่ 'เราเองก็จะต้องถูกบดขยี้ให้เป็นจุณ และวิจุณ'
ถ้าเอา'มรณานุสติ'ขึ้นมา ว่านี่จิตใจมันยังฟุ้งเฟ้อ เห่อเหิม จิตใจมันยัง

ฟุ้งซ่าน รำคาญไปตามอารมณ์ต่างๆอยู่ มันยังไม่รู้จริง..ให้มันรู้จริงเสียก่อน
เขาก็ขอตัวกลับเข้ามา เราอยากรู้อะไร...เราอยากเห็นอะไร...เราไม่อยากรู้อะไร

เราไม่อยากเห็นอะไร เราอยู่ในคำบริกรรมภาวนาได้ไหม หรือถ้าเรา
อยู่กับความสงบของจิต ที่ถูกการคัดเลือกออกจากอารมณ์ต่างๆ

ไม่ให้อารมณ์ต่างๆ นั้นมันเข้ามาย่ำยีจิตใจของเรา...เราก็อยู่ในความสงบ
อยู่ในฐานะอันควรของเรา เรียกว่า...รู้จักกาละเทสะของเรา...


จากหนังสือ'ตำราชีวิต'....พระอาจารย์สาคร ธัมมาวุโธ....เจ้าอาวาสวัดป่าเวฬุวัน กาญจนบุรี
ขอนอบน้อมแด่พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ...

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์