เตือนภัย : สารกันบูดในเส้นก๋วยเตี๋ยว

เตือนภัย : สารกันบูดในเส้นก๋วยเตี๋ยว



    เดี๋ยวนี้จะกินอาหารกันแต่ละครั้ง นอกจากความอร่อยแล้วเรายังต้องคำนึงเรื่องของความสะอาดปลอดภัยและไม่แปลกปลอมเป็นสำคัญด้วย เพราะเดี๋ยวนี้คงทราบกันดีว่ามีการปลอมแปลงวัตถุดิบในการทำอาหารหลายอย่าง เช่น ไข่ไก่ สาหร่าย ดังนั้นหากจะซื้ออะไรกิน ก่อนจะหยิบอะไรเข้าปากก็ควรจะสังเกตดูให้ดีๆ ก่อน
 
     วันนี้ก็มีอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับอันตรายที่แปลกปลอมในอาหารค่ะ โดยอันตรายดังกล่าวนั้นปนเปื้อนอยู่ใน “เส้นก๋วยเตี๋ยว” …

     ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มีลักษณะทำจากแป้งข้าวเจ้าที่ผ่านการล้างน้ำนึ่งด้วยไอน้ำ อบให้หมาดแล้วนำไปตัดเป็นเส้นตามขนาดที่ต้องการ โดยทั่วไปเห็นขายตามท้องตลาดมีทั้งเส้นหมี่ เส้นเล็ก เส้นใหญ่ บะหมี่ กวยจั๊บ และเซี่ยงไฮ้ หากทำเสร็จแล้วขายเลยเรียกว่า "เส้นสด"  ซึ่งเก็บไว้ได้ไม่นานเพราะมีความชื้นสูง ทำให้อายุการเก็บรักษาสั้นประมาณ 4-5 วัน เมื่อเก็บได้ไม่นาน การกระจายสินค้าก็ไปได้ไม่ไกล ผลกำไรที่ได้ก็ไม่มากสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการหันมาพึ่งสารเคมี      เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาหาก    
รับประทานเส้นก๋วยเตี๋ยวเหล่านี้เข้าไป ผู้บริโภคอย่างเราอาจกลายเป็นถุงใส่สารเคมีเคลื่อนที่ได้

     และสารเคมีดังกล่าวนั้นหากใส่เกินมาตรฐานอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายได้ เช่น สารกันบูดชื่อ กรดเบนโซอิก หากใน 1 วัน เรารับประทานอาหารอะไรที่มีสารชนิดนี้อยู่ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ตับ และไตสามารถกำจัดออกได้ทางปัสสาวะ แต่ถ้าเกิน 500 มิลลิกรัม ทุกวันตับและไตจะทำงานหนัก และถ้ากำจัดออกไม่หมดก็จะสะสมในร่างกาย เสี่ยงต่อไตพิการได้

     ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ใช้สารกันบูดทุกชนิดรวมกันได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม



     ได้อ่านข้อมูลทั้งหมดแล้ว ทางที่ดีอย่ากินอาหารประเภทเดิมๆ ซ้ำกันบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการซื้อก๋วยเตี๋ยวเส้นสดที่ขายไม่หมดในวันต่อวัน เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพของน้องๆ ค่ะ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์