เตือนภัย : ต้องระวังหลอกถามข้อมูลจากแบบสำรวจ

เตือนภัย : ต้องระวังหลอกถามข้อมูลจากแบบสำรวจ


 ... สมัยนี้อย่างที่เรารู้ๆ กันนะคะว่า สังคมของเรานั้นแฝงไปด้วยภัยร้ายมากมาย อย่างที่เคยนำเรื่องราวเตือนภัยต่างๆ มาเล่าให้ฟังกัน

     และแน่นอนว่า ยิ่งเรารู้ทันเท่าไหร่ เจ้าพวกมิจฉาชีพตัวร้ายก็จะยิ่งมีกลวิธีเล่ห์ร้ายต่างๆ นานา คอยหลอกล่อให้เหยื่อหลงกล ... ยิ่งเดี๋ยวนี้ไม่ได้จะมาหลอกกันซึ่งๆ หน้าเหมือนเมื่อก่อนแล้ว เจ้าพวกนี้มีการสืบค้นข้อมูลส่วนตัวแบบอินไซต์ก่อนด้วย!!!

    

     จะให้มาถามกันซึ่งๆ พวกมิจฉาชีพมันไม่ทำอยู่แล้ว ... ดังนั้นการที่มันจะสืบคนข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อก็เลยจะต้องหาวิธีที่แนบเนียนหน่อย ด้วยเหตุนี้ "การทำแบบสำรวจ" จึงเป็นเครื่องมือชั้นดีในการหลอกเหยื่อนั่นเอง โดยพวกนี้จะทำงานกันเป็นแก๊งใหญ่ ส่วนใหญ่มักจะอ้างว่ามาจากบริํษัทสำรวจข้อมูลเพื่อการตลาดอะไรต่างๆ นานา

     และแบบสำรวจที่พูดถึงนั้นก็จะมาในรูปแบบของการสอบถามพฤติกรรมผู้อุปโภคบริโภค ไม่ว่าจะเป็น สบู่ มาม่า ยาสระผม อะไรก็แล้วแต่ ... ส่วนใหญ่ก็จะถามว่า ปกติใช้ยาสระผมแบบไหน สบู่ยี่ห้ออะไร ใช้ได้นานเท่าไหร่ แล้วซื้อที่ไหนฯ เราก็จะมึนตอบคำถามเหล่านั้นไปเรื่อย โดยที่เราไม่รู้ตัวเลยว่าคำถามพวกนั้นล้วนเป็นข้ออ้างทั้งสิ้นทั้งปวง ...

     เพราะจริงๆ แล้วสิ่งที่มิจฉาชีพเหล่านี้ต้องการคือ ต้องการรู้ว่าที่อยู่บ้านของเรานั้นอยู่ที่ไหน เบอร์โทรศัพท์อะไร ที่บ้านอยู่กันกี่คน และที่สำคัญคือ "เวลาไหนที่จะไม่อยู่บ้าน"

     และเมื่อเราหลงกลบอกรายระเอียดต่างๆ กับเจ้าพวกนี้ไปแล้ว ปฏิบัติการเช็คข้อมูลก็จะเริ่มต้นขึ้น โดยมิจฉาชีพจะทำทีว่าโทรมาเช็คข้อมูลว่าเป็นข้อมูลจริงรึเปล่า และถามเวลาที่แน่ชัดว่าเราจะไม่อยู่บ้านตอนไหน เพราะจะได้ส่งสินค้าทดลองใช้ไปให้ถูกเวลา แถมยังถามอีกด้วยว่าถ้าไม่อยู่บ้านแล้วจะกลับเมื่อไหร่ เพราะจะได้โทรมาสอบถามหลังการใช้

     วิธีการจับผิดแก๊งมิจฉาชีพประเภทนี้ คือเราต้องสังเกตว่าคำถามนั้น เน้นไปที่ข้อมูลส่วนตัวมาเกินไปรึเปล่า เช่น เวลาไหนที่สมาชิกในบ้านจะไม่อยู่ (เพราะจะอยู่หรือไม่อยู่ก็ไม่เกี่ยวกับสินค้าซักหน่อย), เร็วๆ นี้จะไปต่างจังหวัดเมื่อไหร่ จะได้ส่งสินค้าไปให้ก่อนที่เราจะไม่อยู่ (จะส่งมาตอนไหนก็ไม่เห็นสำคัญ ทำไมต้องมาเจาะจงที่เราด้วย), จะไม่อยู่บ้านเวลาที่แจ้งไว้แน่นอนรึเปล่า (ซึ่งจริงๆ แล้วเราจะไปไหนเมื่อไหร่มันก็เป็นสิทธิ์ของเรา)


 

     นอกจากนี้ให้สังเกตน้ำเสียงของผู้ที่โทรมาสอบถามด้วยว่า เวลาที่เราไม่ยอมให้ข้อมูล นั้นมีน้ำเสียงอย่างไร หงุดหงิดหรือไม่ ... จำไว้ว่าถ้ามีการสอบถามข้อมูลส่วนตัวนั้น เราอย่าให้ข้อมูลเด็ดขาด ให้แสดงออกไปเลยว่าเราไม่ให้ความร่วมมือ (ถ้าแน่ใจแล้วว่าไม่ปกติแน่นอน) เพราะนอกจากจะเป็นการตัดรำคาญแล้ว ยังจะเป็นการปลอดภัยต่อตัวเราด้วย

     หรือในอีกวิธีหนึ่งก็คือ ถ้าหากรู้สึกว่าถูกสอบถามข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป ให้ถามกลับไปเลยว่า จะถามไปทำไม แล้วผู้ที่โทร.มานั้นโทร.มาจากบริษัทอะไร มีที่อยู่และเบอร์ติดต่อกลับรึเปล่า และถ้าหากปลายสายอ้ำๆ อึ้งๆ ล่ะก็ ให้แน่ใจชัดเจนไปเลยค่ะว่า เป็นมิจฉาชีพแน่นอน

    


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์