179 ปี ต้นกำเนิดสิ่งพิมพ์ฉบับแรกของไทย

วันนี้ (3 มิ.ย.) เป็นวันครบรอบ 179 ปี ที่สิ่งพิมพ์ฉบับแรกของไทยได้ถูกตีพิมพ์ขึ้นในรูปแบบของหนังสือสอนศาสนา โดยเป็นผลงานของมิชชันนารีชาวอเมริกันนามว่า "หมอบรัดเลย์"

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2379 แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley) หรือที่รู้จักกันในนามของ "หมอบรัดเลย์" มิชชันนารีชาวอเมริกัน ผู้ให้กำเนิดสิ่งพิมพ์ฉบับแรกในประเทศไทย ได้แก่ "หนังสือบัญญัติสิบประการ" ซึ่งเป็นหนังสือสอนคริสตศาสนา ที่ประกอบไปด้วยจำนวนเนื้อหาทั้งสิ้น 8 หน้า โดยหนังสือดังกล่าวมีระยะเวลาในการตีพิมพ์มาแล้วกว่า 179 ปี

การพิมพ์ในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่หมอบรัดเลย์เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 ซึ่งเขาได้เดินทางเข้ามาพร้อมกับตัวพิมพ์อักษรไทยและแท่นพิมพ์ไม้ที่ได้ทำการซื้อมาจากประเทศสิงคโปร์

หมอบรัดเลย์และคณะอเมริกันบอร์ด (American Board of Commisionary of Forein Missions : A.B.C.F.M.) ได้ทำการตั้งสำนักงานและโรงพิมพ์ขึ้นที่ตรอกกัปตันบุช ย่านถนนเจริญกรุง และได้ดำเนินการพิมพ์สิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ ออกมาจำนวนมาก เช่น หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของประเทศไทยอีกด้วย

จากจุดเริ่มต้นการเดินทางข้ามทวีปของหมอบรัดเลย์ได้ก่อให้เกิดวิวัฒนาการที่สำคัญทางด้านสิ่งพิมพ์ของประเทศไทย จนทำให้หมอบรัดเลย์ได้รับการยกย่องและขนานนามให้เป็น "บิดาแห่งการพิมพ์ไทย"


ขอบคุณ news.voicetv.co.th


179 ปี ต้นกำเนิดสิ่งพิมพ์ฉบับแรกของไทย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์