7 ข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับความสำเร็จ

7 ข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับความสำเร็จ


ความขยัน ความทะเยอทะยาน การศึกษาต่ออย่างไม่จบสิ้นและเปลี่ยนที่ทำงานทุกสองปี


พฤติกรรมเช่นนี้หลายคนมักคิดว่ามันคือบันไดสำหรับใช้ในการไต่ขึ้นที่สูงเพื่อสร้างอาชีพให้โดดเด่นขึ้น แต่อาจไม่ได้เป็นอย่างที่คิดก็ได้

คงไม่มีใครปฎิเสธว่า
 
ทุกคนต้องการความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่ในทางปฎิบัติ มีคนมากมายที่ใช้วิธีการที่ผิดๆ ซึ่งทำให้ก้าวหน้าช้ามากหรือย่ำอยู่กับที่ เหตุผลก็คือ มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาวิธีที่จะถีบตัวเองให้ไปอยู่ในตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้นและประสพความสำเร็จด้วยดี ยังมีคนมากมายที่เข้าใจผิดดังนี้

  1. ถ้าฉันอดทนก็จะได้เลื่อนตำแหน่ง ความจริงก็คือ ความอดทนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำให้คุณได้เลื่อนตำแหน่ง แนวโน้มการเลื่อนตำแหน่งค่อนข้างติดลบถ้าคุณเป็นพนักงานในบริษัท 3-5 ปีโดยไม่ได้รับการพิจารณา
  2. การศึกษาต่อเป็นอุปสรรค ความจริงก็คือ การศึกษาต่อไม่ได้หมายถึงหน้าที่การงานจะได้เลื่อนขึ้น แต่มันแสดงให้เห็นถึงความกดดันและความทะเยอทะยานและความอดทน หากจบการศึกษามาแล้วย่อมจะมีภาพพจน์ที่ดี
  3. ความขยันเป็นส่ิงดี ความจริงก็คือ ความขยันช่วยหนุนการงานถ้าบอสสังเกตุเห็นความขยันของคุณ คือมันไม่ได้ช่วยอะไรหรอกกรณีที่คุณมาทำงานแต่เช้าแล้วบอสของคุณเริ่มมาทำงานทีหลังคุณ 3 ชม. แต่กลับกลายเป็นว่าคุณกลับบ้านก่อนในขณะที่บอสยังทำงานอยู่ เรื่องที่น่าเจ็บใจแต่ก็เป็นความจริงก็คือ ใครที่เลิกงานตรงเวลามักถูกมองไม่ดี แม้จะเป็นคนที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและตั้งใจทำงานก็ตาม
  4. รู้มากเป็นส่ิงดี ทำงานในสิ่งที่คุณถนัดและรู้มากที่สุดเป็นสิ่งดีแต่ที่สำคัญก็คือ คนอื่นๆ ต้องรู้ความสามารถพิเศษของคุณด้วย ข้อแนะนำก็คือ ให้คุณเข้าร่วมการประชุมและการสัมมนาและลงข่าวในวารสารของบริษัท
  5. บรรยากาศในที่ทำงานไม่สำคัญ เป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะบรรยากาศในที่ทำงานสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด เพราะบรรยากาศที่ดีของพนักงานหรือบริษัทคู่ค้ามักถูกจับตามองจากลูกค้าและมีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จของบริษัท
  6. การเปลี่ยนงานจะทำให้ก้าวหน้า ความจริงก็คือ อย่าเปลี่ยนงานบ่อย แม้ว่าการเปลี่ยนตำแหน่งบ่อยจะช่วยให้ตำแหน่งก้าวหน้า แต่ถ้าใครเปลี่ยนงานทุก 2 ปี สักวันหนึ่งจะเป็นที่ต้องสงสัยของแผนกบริหารงานบุคคล เพราะผู้บริหารคงไม่ชอบพนักงานที่เปลี่ยนงานบ่อย
  7. การรู้จักสาขาบริษัทอื่นๆ มักได้เปรียบ ในแผนกมาร์เก็ตติ้งหรือบริหารมักต้อนรับสาขาของบริษัทต่างๆ เป็นประจำ แต่ถ้ามีสาขาบริษัทแปลกๆ แวะเข้ามามากก็จะไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ

ที่มา : lisa

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์