เมื่อคิดจะลาออกจากงาน

เมื่อคิดจะลาออกจากงาน



ใครที่คิดจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการเปลี่ยนงานใหม่ ก็ควรศึกษาข้อกฎหมายที่ อ.ประมาณ นำมาบอกเล่าให้ฟัง

        ปีใหม่เป็นช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงของคนส่วนใหญ่ บางคนอาจจะย้ายที่พัก ซื้อบ้าน ซื้อรถหางานใหม่ หรือไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
แต่มีเรื่องหนึ่งที่ผมเห็นว่าควรจะพูดคุยทำความเข้าใจกับคุณผู้อ่านให้มาก ๆ ก็คือเรื่องการเปลี่ยนงานลาออกจากงานในช่วงที่เศรษฐกิจยังดูไม่แน่นอนอย่าง ทุกวันนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณต้องลาออกจากงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่เสียสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานด้วย สถิติลาออกมากกว่า...ถูกให้ออก

          น่าสังเกตว่า จากข้อมูลสถิติมนุษย์เงินเดือนที่เป็นผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคม ที่มาขึ้นทะเบียนว่างงานของกรมการจัดหางานกระทรวงแรงงานตั้งแต่เดือน ต.ค. 2551-มี.ค.2552 จำนวน 3 แสนกว่าราย
ความน่าสนใจก็คือในจำนวน 3 แสนกว่ารายนี้ เป็นผู้สมัครใจลาออกเองถึง 2 แสนกว่าราย ที่เหลือนายจ้างให้ออก

          ซึ่งถ้าคุณลาออกเอง คุณจะไม่ได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน อย่างมากที่สุดคือ กองทุนประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนการว่างงานในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเป็นเวลา 3 เดือนของปีปฏิทิน
แต่คุณต้องแจ้งขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน ถึงจะได้เงินทดแทนการว่างงานจากกองทุนประกันสังคม

คิดจะลาออก...ต้องดูสัญญาจ้าง


          สัญญาจ้างตามกฎหมายแรงงานมีสองลักษณะใหญ่ ๆ คือ สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา เช่น ตกลงจ้างกันหนึ่งปี สองปี ก็ว่ากันไป อีกอันหนึ่งก็คือสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา การที่เราจะพิจารณาว่าสัญญาจ้างแรงงานใด
เป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ ไม่ใช่เพียงแต่ดูจากระยะเวลาการจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น สิ่งสำคัญเราต้องดูด้วยว่า ในสัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลานั้น จะกำหนดห้ามไม่ให้นา ยจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาได้อย่างเสรี และมักจะไม่ให้สิทธิลูกจ้างสามารถลาออกจากการเป็นพนักงานได้อย่างเสรีเช่นเดียวกัน

          หากคุณลาออกจากงานก่อนกำหนดตามสัญญาจ้าง คุณอาจต้องชดใช้ค่าเสียหาย อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าลูกจ้างจะไร้ทางออกเสียทีเดียว ถ้าหากสัญญาจ้างนั้นเป็นสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม เช่น กำหนดให้คุณต้องทำงานกับเขาถึง 3 ปี
จึงสามารถลาออกได้ (ศาลฎีกาคดีแรงงานเคยมีคำพิพากษาไว้ว่าให้ระบุระยะเวลาห้ามไว้ในสัญญาได้ไม่ เกินหนึ่งปี) แบบนี้คุณก็เอาสัญญานั้นไปฟ้องศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ ก่อนที่คุณจะลาออก ย้ำนะครับว่าหากไม่นำสัญญานั้นไปฟ้องศาลถึงสัญญานั้นไม่เป็นธรรมจริง คุณก็ใช้สิทธิขอให้สัญญาเป็นโมฆะทันทีไม่ได้ เพราะสิทธิในการพิจารณาของศาลจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ฟ้องคดี

สัญญาจ้าง...ที่ไม่มีระยะเวลา

          ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา (โดยส่วนใหญ่เราก็จะเรียกว่าพนักงานประจำ)
นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้ อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง เพื่อให้เกิดผลเลิกสัญญากัน เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกิน 3 เดือน

          นอกจากนี้ แม้นายจ้างจะกำหนดเงื่อนไขการลาออกไว้ว่า พนักงานที่ประสงค์จะลาออกต้องได้รับอนุมัติจากนายจ้างก่อน
แต่การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลานั้น นายจ้างหรือลูกจ้างมีสิทธิแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานได้แต่เพียงฝ่าย เดียว โดยไม่จำเป็นต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งยินยอมหรืออนุมัติแต่อย่างใด

ระวังอย่าลาออก...กระชั้นชิด

          อย่างไรก็ตาม คุณก็อย่าลาออกให้กระชั้นชิดประเภททำเรื่องวันที่ 31 ธ.ค. 2552 แล้วออกจากงานวันที่ 1 ม.ค. 2553 เพราะเป็นการเลิกสัญญาจ้างที่ฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้าสั้นมาก ๆ
นายจ้างจึงอาจจะได้รับความเสียหาย เพราะเมื่อสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง พนักงานก็มีหน้าที่ส่งมอบงานให้แก่บุคคลที่นายจ้างมอบหมาย เพื่อทำงานต่อจากคุณ รวมทั้งคุณอาจจะต้องคืนบรรดาทรัพย์สินของนายจ้างที่ใช้ในการทำงาน เช่น บัตรประจำตัวพนักงาน รถประจำตำแหน่ง โทรศัพท์มือถือ วัสดุอุปกรณ์สำนึกงาน ฯลฯ หากคุณเพิกเฉยหรือละเว้นไม่ดำเนินการดังกล่าว นายจ้างย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งได้

          ไม่ว่าคุณจะลาออกด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม
ผมขอย้ำว่าอย่าลาออกจากงาน เพราะถูกบีบ ขอให้คุณได้งานใหม่ที่ดีกว่าหรือที่สบายใจกว่าค่อยยื่นใบลาออก เพราะงานการทุกวันนี้หายาก แถมหากหุนหันพลันแล่นลาออกจากงานโดยไม่ดูข้อกฎหมาย ก็อาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ภายหลัง   

เครดิต :
เครดิต : ที่นี่ดอทคอม บันเทิงดารา


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์