ความเป็นมาของ สบู่

ความเป็นมาของ สบู่



เอกสารจากอดีตบันทึกกำเนิดสบู่ก้อนแรกว่า มาจากไขมันแพะต้มกับขี้เถ้าจากการเผาไม้  ซึ่งเป็นการค้นพบโดยบังเอิญในยุคโรมันอันมีการบูชายัญสัตว์บนแท่นบูชาที่ทำด้วยไม้  

แท่นบูชานี้ตั้งอยู่บนเนินเขา
เมื่อสัตว์และแท่นไม้ถูกเผาพร้อมกัน ไขมันสัตว์ออกมาผสมกับขี้เถ้า เมื่อฝนตกลงมาก็เกิดเป็นก้อนสีขาวไหลจากเชิงเขาสู่ลำธาร คุณแม่บ้านสังเกตพบว่า หากนำเสื้อผ้ามาซักที่ลำธารหลังจากฝนตก ก้อนขาวๆ นี้จะช่วยทำให้ซักผ้าได้ง่ายขึ้น สะอาดขึ้น
 เวลาล่วงเลยมา มีการทำสบู่ใช้ เพียงแต่ไม่ได้ผลิตเป็นจำนวนมาก เป็นการทำใช้กันในครัวเรือน และเพราะมีสบู่ใช้ไม่มาก ผู้คนก่อนศตวรรษที่ 20 จึงไม่ได้อาบน้ำกันบ่อยนัก
อย่างไรก็ตาม ต่อมาการทำสบู่กลายเป็นอุตสาหกรรมเก่าแก่ที่สุดของโลกประเภทหนึ่ง โดยโรงงานแรกๆ เกิดขึ้นในยุโรป


การทำสบู่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ มีการพัฒนาก้าวหน้าจนปัจจุบันรูปแบบและสภาพแตกต่างไปจากบรรพบุรุษ ที่หน้าตาเดิมเป็นเพียงก้อนสบู่ ทั้งนี้ หลักการพื้นฐานของสบู่เกิดจากการทำปฏิกริยาทางเคมีระหว่างสารละลายกับน้ำมัน
อาจเป็นน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ และกลีเซอรีนสำหรับทำสะอาด ขจัดคราบสกปรก
 


แต่ข้อเสียคือ ความที่ล้างความมันได้ดีมาก จึงทำลายไขมันคุ้มกันผิวไป ทำให้ผิวแห้งตึง และสบู่ยังมีฤทธิ์เป็นด่าง
(ค่า pH มากกว่า 7) ทำให้ค่า pH บนผิวซึ่งปกติมีค่าประมาณ 5.5 คือมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ เปลี่ยนไป
การที่ค่า pH สูงกว่าภาวะปกติเป็นเวลานานๆ ทำให้ผิวระคายเคือง อักเสบ และส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบนผิวหนัง ปัจจุบันนี้จึงนิยมใช้สารชำระล้างชนิดสังเคราะห์ใหม่ๆ (synthetic detergents หรือ soapless) ซึ่งสามารถปรับค่า pH ให้มีค่าใกล้เคียงกับผิวหนังปกติ ระคายเคืองน้อยกว่าสบู่แบบเดิม ล้างออกได้สะดวกโดยไม่ทิ้งคราบไว้บนผิวหนัง
 

ประเภทของสบู่มี 
 

1.สบู่ก้อนขุ่น (Opaque Soap) เป็นประเภทที่เรารู้จักกันดี เพราะใช้มานานก่อนกำเนิดของสบู่ชนิดอื่นๆ โดยทั่วไปมีสารเพิ่มความชุ่มชื้นผสมอยู่ไม่มากนัก
แม้ทำความสะอาดผิวได้ดี แต่อาจทำลายน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวตามธรรมชาติและไขมันที่จำเป็น คนที่มีสภาพผิวธรรมดาหรือผิวมันสามารถผลิตน้ำมันหล่อเลี้ยงมาทดแทนได้ แต่คนที่มีผิวแห้ง การสร้างน้ำมันหล่อเลี้ยงทดแทนทำได้ช้า และอาจช้ากว่าการทำความสะอาดผิวครั้งต่อไป การใช้สบู่ประเภทนี้จึงอาจทำให้ผิวแห้งตึงและเกิดการระคายเคืองได้
 

2.สบู่ก้อนใส (Transparent Soap)
มีปริมาณของสารเพิ่มความชุ่มชื้นบำรุงผิวมากกว่าสบู่ก้อนขุ่น ช่วยปกป้องผิวจากความแห้งกร้านได้มากกว่า แต่มีปริมาณฟองน้อยกว่าและละลายหมดเร็วกว่า คนที่คิดว่าสบู่ที่ดีต้องมีฟองมาก คงไม่ชอบใช้สบู่ใสนัก ทั้งที่ดีกว่า และ 3.สบู่เหลว (Liquid Soap)



ยังมีสบู่ที่ส่วนประกอบแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ เช่น สบู่ยาที่มีส่วนผสมของไทรโคลซาน และไทรโคคาร์บอน มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย
หรือสบู่ที่มีส่วนผสมของลาโนลินเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวมากกว่าปกติ เป็นต้น


 

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์