ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม

ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม



ไม่ละทิ้งสุขที่ชอบธรรม

อันได้แก่สุขที่เราควรได้ควรมี ตามเหตุปัจจัย ซึ่งเรามีสิทธิ์จะได้ เช่น ถ้าเป็นความสุขทางวัตถุ ก็เน้นที่ผลจากการประกอบอาชีพการงานด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม

พึงระวังมิให้สุขของเราเกิดมี โดยตั้งอยู่บนความทุกข์ของผู้อื่น ไม่ให้เป็นความสุขที่เบียดเบียน ก่อความเดือดร้อนแก่ใครๆ จึงจะเป็นความสุขที่ชอบธรรม เราสุข ผู้อื่นก็ไม่ทุกข์

ถ้าให้ดียิ่งกว่านั้น ก็ให้เป็นสุขด้วยกัน เป็นสุขที่เผื่อแผ่ ซึ่งช่วยให้เกิดความสุขขยายกว้างขวางออกไป

คนเรานี้จะต้องรู้จักพัฒนาความสุข ไม่ใช่ว่าชอบความสุข อยากมีความสุขนัก แต่ขาดความรู้เข้าใจ ไม่รู้จักความสุขเลย ได้แค่อยู่อย่างพร่ามัวกับความยึดถือด้วยโมหะในภาวะอย่างหนึ่งว่าเป็นความสุข แล้วก็ใช้เวลาทั้งชีวิตตะเกียกตะกายวิ่งไล่ไขว่คว้า ไม่ทันถึงความสุขนั้น ชีวิตก็จบไปก่อน

โดยวิธีพูดอย่างหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนา การพัฒนาความสุขนั่นแหละคือ

การศึกษา กรรมที่เรียกว่า การปฏิบัติธรรม จึงก้าวไปในสุต และผ่านความสุขต่างๆ หลายแบบและหลายขั้น หลายระดับ ดังที่ท่านจัดแบ่งไว้นานานัย

กล่าวรวบรัดไว้ที่นี้เป็นสุข ๓ คือ

๑.สุขแบบแข่งแย่ง หรือชิงกัน

๒. สุขแบบประสาน หรือสุขด้วยกัน

๓. สุขแบบอิสระ


แม้แต่ผู้มีสุขที่ไม่ตั้งอยู่บนความทุกข์ของผู้อื่น ส่วนมากก็ยังตั้งอยู่ในขั้นมีสุขแบบแข่งแย่ง หรือชิงกัน

ซึ่งโดยทั่วไปเป็นความสุขเนื่องด้วยวัตถุ อันจะต้องได้ ต้องเอา ถ้าเขาได้เราก็เสีย ถ้าเราได้เขาก็เสีย ถ้าเขาสุขเราก็ทุกข์ ถ้าเราสุขเขาก็ทุกข์

พอเราได้มาเราสุข คนอื่นเสียหรืออดเขาก็ทุกข์ แต่พอเขาได้เราเสียหรืออด เขาสุขเราก็ทุกข์ เป็นความสุขที่ไม่เอื้อกัน ยังก่อปัญหา

เมื่อพัฒนาจิตใจขึ้นไป พอมีความรักแท้ คือ เมตตา ที่ต้องการให้คนอื่นเป็นสุข เราก็เริ่มมีความสุขแบบประสาน คือ เราทำให้เขาสุข เราก็สุขด้วย เหมือนความรักของพ่อแม่ ที่อยากให้ลูกเป็นสุข แล้วก็พยายามทำอะไรๆ เพื่อให้ลูกเป็นสุข และมีความสุขเมื่อเห็นลูกเป็นสุข

เมื่อเราพัฒนาจิตใจ โดยแผ่ขยายเมตตาหรือธรรมอื่น เช่น ศรัทธา เราก็มีความสุขเพิ่มขึ้นโดยที่คนอื่นก็มีความสุขด้วย เป็นความสุขจากการให้ ที่เจริญในธรรม ซึ่งทำให้โลกมีสันติสุข เริ่มตั้งแต่ในครอบครัวไปเลย

นี่พูดพอเป็นแนว ในเรื่องการพัฒนาความสุข ซึ่งจะต้องก้าวต่อไป ในความสุขที่ชอบธรรม ขึ้นไปจนถึงความสุขที่เป็นอิสระ อันบรรจบเป็นจุดหมายของวิธีปฏิบัติต่อความสุขที่ครบตลอดทั้งสี่ข้อ



dhammajak

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์