ไทยกับ มหาสงคราม (๓) - การสงครามเป็นอันยุติแล้ว

การสงครามเป็นอันยุติแล้ว


 



 


สถานการณ์เดิม  .  .  .


          ก่อนที่จะเข้าสนามรบ   กองทหารไทยได้ไปฝึกอบรมในโรงเรียนต่างๆ  ดังนี้


          กองทหารบกรถยนต์    ไปฝึกอบรมที่  เมืองลีย็องส์  Lyons  และเมือง  ดูรด็อง  Dourdan


          กองบินทหารบก    ไปฝึกอบรม  ตำบลอิ๊สตรส์  istres  และ  เมืองอาวอร์ด Avord   


          กองทหารบกรถยนต์เข้าทำการในสนามด้านกองทัพฝรั่งเศส


          ผู้แทนกองทัพเยรมันได้ยอมลงนามในสัญญาหย่าศึก ยอมแพ้แก่ฝ่ายราชสัมพันธมิตรอย่างราบคาบ


          การเดินทางเข้าเหยียบดินแดนราชศัตรู


          ด้านกองบินทหารบก


          เมื่อทางราชการรู้แน่ชัดแล้วว่าการสงครามเป็นอันสงบแน่นอน  และกองบินทหารบกเป็นอันไม่มีโอกาสได้เข้ากระทำการสงครามในยุทธบริเวณ    จึงมีคำสั่งเรียกกองบินทหารบกกลับพระนคร 


          พระเจ้าพี่ยาเธอ  กรมหมื่นชุมพรเขตร์อุดมศักดิ์ได้เสด็จโดยเรือตอรเปโดที่ ๔  ถึงท่าราชวรดิษฐ์  เวลา  ๑๔  นาฬิกา  ๓๐  นาที    ซึ่งหัวหน้าฑูตทหาร  กับนายพันโท  พระทรงสุรเดชได้ตามเสด็จด้วย    ส่วนเรือเจนทะเลมาถึง เมื่อเวลา  ๑๕  นาฬิกา  ๔๕  นาที


 


สถานการณ์ต่อไป  .  .  . 


การต้อนรับกองบินทหารบกเมื่อถึงพระนคร


          วันที่  ๑  พฤษภาคม  ๒๔๖๒  เวลา  ๑๖  นาฬิกา  เรือได้มาถึงท่าขุนนาง  ได้เข้าจอดเทียบท่า    พระบรมวงศานุวงศ์  นายทหารผู้ใหญ่ ผู้น้อย  ข้าราชการพลเรือน และราษฎรได้ไปคอยรับอยู่ที่ท่าเป็นอันมาก    ครั้นแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  พระมหาสมณะ ได้เสด็จขึ้นสู่เกย  ได้มีพระดำรัสอำนวยพร และทรงประน้ำพระพุทธมนต์ทั่วทุกตัวคน


          ครั้นแล้วทหารเดินแถวมีแตรวงนำหน้าเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง  ตามถนนมหาราช - ถนนหน้าพระลาน - เข้าสู่ประตูวิเศษไชยศรีไปตั้งแถวที่หน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกมาต้อนรับกองทหาร  ทรงตรวจพล   เมื่อจบการตรวจพลแล้วได้มีพระราชดำรัส


 


 


 


 


 


          เมื่อได้พระราชทานพระราชดำรัสต้อนรับทหารแล้ว    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับ  ณ พระราชอาสน์  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเหรียญที่ระฤกราชการสงครามยุโหรปแก่นายทหาร,นายสิบ,พลทหาร  เข้าไปรับพระราชทานเหรียญเรียงตัวกัน


 


 


 


 


 



เหรียญงานพระราชสงครามทวีปยุโรป


The War Medal of B.E. 2461


 เหรียญงานพระราชสงครามทวีปยุโรป ใช้อักษรย่อว่า ร.ส. จัดเป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ประเภท เหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความกล้าหาญ


 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญนี้ขึ้นสำหรับพระราชทานแก่ผู้ที่ไปพระราชสงครามในทวีปยุโรป    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑


 ลักษณะเป็นเหรียญเงินกลม


ด้านหน้า มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพักตร์เสี้ยว และมีอักษรพระบรมนามาภิไธยปรากฏที่ริมขอบว่า


"รามาธิปติสยามินฺโท วชิราวุธฺวิสฺสโต" 


ด้านหลัง มีรูปวชิราวุธ มีรัศมีพานรองสองชั้น มีฉัตรสองข้าง และมีอักษรที่ริมขอบว่า


"งานพระราชสงครามในทวีปยุโรป พระพุทธศักราช ๒๔๖๑"


ห้อยกับแพรแถบสีเลือดหมู มีริ้วสีดำสองข้าง กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร ห้อยกับแพรแถบ ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย


 


ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน


 


 


 



 


 


กองบินทหารบกเสร็จราชกิจ 


          วันที่   ๔  พฤศจิกายน  ๒๔๖๒    นับว่าทหารกองบินทหารบกซึ่งอาสาไปในราชการสงครามเป็นอันเสร็จราชกิจ    นายสิบพลทหารได้ปลดเป็นกองหนุนเดินทางกลับไปสู่ตามภูมิลำเนาของตน    ส่วนนายทหารสัญญาบัตรซึ่งเป็นนายทหารประจำการทั้งสิ้นนั้น  ได้มีคำสั่งให้กลับไปรับราชการตามเหล่าและชนิดของตนดังก่อนที่เข้าอาสา    ทั้งนี้  ตลอดจนนายทหารในกองฑูตทหาร 


 


กองทหารบกรถยนต์ยังไม่เสร็จราชกิจ - ยุทธบริเวณ


          นายทหารสัญญาบัตรในกองทหารบกรถยนต์ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์จากรัฐบาลฝรั่งเศส  คือ


               นายร้อยเอก  หม่อมเจ้า  นิตยากร  ได้รับตราครัวก์ซ์ เดอะ แกร์ร์  เนื่องในความชอบตั้งแต่ครั้งยังกระทำสงครามกันอยู่


               นายพันตรี  หลวงรามรณรงค์  ได้รับตราเลจิย็องด็อนเนอร์  ชั้นที่  ๕  -  Chevalier  de la Legion  d' honneur 


 


 


 


 


 


 


 


Croix  de  Guerre  1914 - 1917                     Chevalier  de la Legion  d' honneur  >


 


 


 


 


 


 


 


การรุกข้ามแม่น้ำไรน์


          จำเดิมตั้งแต่วันที่  ๑๑  พฤศจิกายน  ๒๔๖๑   ซึ่งผู้แทนกองทัพเยรมันได้ยอมลงนามในสัญญาหย่าศึก ยอมแพ้แก่ฝ่ายราชสัมพันธมิตร์อย่างราบคาบตามสัญญาที่ฝ่ายสัมพันธมิตร์ได้ร่างขึ้น    นับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงกลางเดือน  พฤษภาคม  ๒๔๖๒   เป็นเวลาประมาณ  ปีครึ่งยังหาได้ทำสัญญาสันติภาพกันไม่ 


          ต่อมาที่ประชุมทำสัญญาสันติภาพ  ได้กำหนดวันที่  ๒๓  มิถุนายน  ๒๔๖๒   เวลา  ๑๘  นาฬิกา  เป็นเวลาที่สุดซึ่งฝ่ายประเทศเยร์มะเนียจะยอมรับทำสัญญาสันติภาพ    ถ้าแม้ฝ่ายประเทศเยร์มะเนียนิ่งเฉยเสียหรือไม่ยอมรับและได้พ้นกำหนดนี้ไปแล้ว    กองทัพสัมพันธมิตร์จะรุกเข้าไปในดินแดนแห่งประเทศเยร์มะเนียต่อไป


          ครั้นวันที่  ๑๘  มิถุนายน    ก่อนจะถึงกำหนด  ๗  วัน    จอมทัพสัมพันธมิตร์ได้มีคำสั่งให้กองทัพทั้งหลายรุกข้ามลำน้ำไรน์  ไปตั้งประชิดกับเขตร์ที่เป็นกลางและเตรียมพร้อมสำหรับการรบ  


          สำหรับการที่กองทัพสัมพันธมิตร์จะทำการรุกข้ามแม่น้ำไรน์ ครั้งนี้  กองทหารบกรถยนต์ไทยได้รับคำสั่งให้ลำเลียงกรมทหารพรานที่ ๑  ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองฟรังเค่นธาล  และสัมภาระของกรมบัญชาการกองพลในเมืองลู้ดวิกส์ฮาเฟ่น . . . ฯลฯ


          เมื่อได้ลำเลียงทหารขึ้นรถพร้อมแล้ว  ได้เริ่มเดินทางแยกกันเป็น  ๒  ขะบวน คือ  


               ขะบวนรถยนต์กองย่อยที่  ๑  ในบังคับนายร้อยเอก ศรี  ศุขะวาที  ได้เริ่มออกเดินเวลา  ๘  นาฬิกา  ๒๕  นาที  เดินทางผ่านเมืองและตำบลดังนี้ วอรมส์ - โฮ้ฆไฮมเว็สตโฮ้เฟ่น-เฮ็สสล็อฆ- ไวโนลสไฮม-ม็อมเม่นไฮม-ไมนซ์  (Worms - Hochheim - Westhofen - Hessloch - Weinolsheim - Momenheim - Mains)   ข้ามแม่น้ำไรน์โดยสะพานที่ตำบลคัสเคล (Kastel)  แล้วเดินทางต่อไปยังเด็ลเค่นไฮม  (Delkenheim) เพื่อลำเลียงทหารลง    กองย่อยที่ ๑ ได้ไปถึงตำบลลำเลียงทหารลงนี้  ในวันที่  ๑๙  มิถุนายน   เวลา  ๗  นาฬิกา  ๒๕  นาที   


               กองย่อยที่  ๓  ได้ออกเดินเวลา  ๘  นาฬิกา  ๔๕  นาที  แห่งวันที่  ๑๘  มิถุนายน   เดินทางเดียวกับกองย่อยที่  ๑   ไปจนข้ามแม่น้ำไรน์ที่ตำบลคัสเคล  (Kastel)  แล้วเดินทางไปส่งทหารลงจากรถยนต์ที่ตำบลโฮ้ฆไฮม (Hochheim) ทิศตวันออกเมืองไมนซ  (ไม่ใช่โฮ้ฆไฮมทิศเหนือเมืองวอรมส) กองย่อยที่ ๓  ได้ไปถึงตำบลนี้ในวันที่  ๑๙  มิถุนายน   เวลา  ๑๐  นาฬิกา   ฯลฯ


          ในวันที่ ๑๘ - ๑๙ นี้ มีขะบวนรถยนต์เดินทางหลายกองใหญ่  ผู้บัญชาการรถยนต์ได้ชมเชยว่า ขะบวนรถยนต์ไทยได้เดินทางอย่างเรียบร้อย  มีระยะต่อระหว่างรถงดงาม  ไม่มีรถยนต์ตกทางหรือหลงทางเลย


 


         เมื่อได้ลำเลียงทหารลงจากรถยนต์แล้ว    ผู้บังคับการกรมทหาร   และผู้บังคับกองพันได้สแดงความขอบใจ และพอใจในการที่กองทหารได้ลำเลียงทหารฝรั่งเศสมาส่งโดยทหารฝรั่งเศสมิได้รับความลำบาก     ครั้นแล้ว นายพลชมิดต  ผู้บัญชาการกองพลใหญ่  ซึ่งเป็นผู้บังคับทหารฝรั่งเศสได้มาสแดงความยินดี และขอบใจ ทั้งชมเชยความสามารถในการขับรถยนต์ของทหารไทยเป็นอันมาก


          วันที่  ๑๙  มิถุนายนนั้น  ควรนับว่าเป็นวันที่รลึกอันสำคัญสำหรับกองทหารบกรถยนต์ไว้วันหนึ่ง   เพราะเป็นวันที่กองทหารได้เตลื่อนที่ออกจากพระนครไปสู่ยุทธภูมิ    ครั้นถึงวันที่  ๑๙  มิถุนายน รุ่งขึ้นอีกปี ๑  คือพระพุทธศักราช  ๒๔๖๒   กองทหารบกรถยนต์ได้ทำการลำเลียงกองทหารฝรั่งเศสข้ามแม่น้ำไรน์


 


  



 


กองทหารบกรถยนต์ไทยลำเลียงกองระวังน่าทหารฝรั่งเศสข้ามแม่น้ำไรน์ ที่เมืองไมน์ส   


 


การสงครามเป็นอันยุติแล้ว


          วันที่  ๒๓  มิถุนายน  เวลา  ๑๙  นาฬิกา  เป็นหมดเขตเวลาซึ่งสัมพันธมิตรจะยอมพูดตกลงกับฝ่ายเยรมะเนีย


ฯลฯ


          ในเวลานี้  นายพลตรี  ชมิตต์  ได้ไปถึงที่ว่าการเมืองโฮ้ชสต  และได้เรียกผู้บังคับบัญชาการ กรมกองทหารซึ่งขึ้นตรงต่อท่านไปประชุม  และประกาศให้ทราบว่า ฝ่ายประเทศเยรมะเนียได้ยอมทำสัญญาสันติภาพ  ฉะนั้น  การสงครามเป็นอันยุติแล้ว . . .


ฯลฯ


          ในคืนวันที่ลงนามทำสัญญาสันติภาพนี้    บรรดาทหารสัมพันธมิตร์ได้รับแจกชามปาญจากรัฐบาลฝรั่งเศส  สำหรับนายสิบพลทหาร  ๔  คนต่อ  ๑  ขวด   สำหรับนายทหารสัญญาบัตร  ๒  คนต่อ  ๑  ขวด    เพราะฉะนั้น  ทหารได้แสดงความรื่นเริงกันทุกคน


 


          วันที่  ๓๐  มิถุนายน  เวลา  ๕  นาฬิกา  ๓๐  นาที  ขบวนรถยนต์ได้เคลื่อนที่เดินทางผ่านตำบลต่างๆ   เมื่อได้ลำเลียงทหารลง และพักรับประทานอาหารกลางวันแล้ว  ก็ได้เดินทางกลับไปนอนที่ตำบลโอ้ฆไฮมอีก  เพื่อลำเลียงทหารอีกครั้งเป็นครั้งที่สุดในวันรุ่งขึ้น 


 


ลำเลียงทหารอีกครั้งเป็นครั้งที่สุด  


          วันที่  ๑  กรกฎาคม  เวลา  ๕  นาฬิกา  ๓๐  นาที  ได้เริ่มลำเลียงทหารพรานเซเนกาเลส์ขึ้นรถยนต์


               เวลา  ๕  นาฬิกา  ๕๐  นาที  ขบวนรถได้เริ่มออกเดิน  ถึงที่ลำเลียงทหารลงที่เมืองฟรังเค่นธาลเวลา  ๑๑  นาฬิกา    เมื่อได้พักผ่อนและรับประทานอาหารกลางวันแล้ว  กองย่อยต่างๆ ได้แยกกันเดินทางไปยังที่พักประจำ    เมื่อกองทหารบกรถยนต์กลับเมืองนอยสตัตตแล้ว    นับว่าเป็นการเสร็จหน้าที่ในการที่จะช่วยสัมพันธมิตร    ได้มีคำสั่งให้เตรียมตัวสำหรับเดินทางรถไฟกลับยังกรุงปารีส    แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงการกลับ  เห็นสมควรกล่าวถึง  .  .  .


ทหารในกองทหารบกรถยนต์ซึ่งได้มาเสียชีวิตในดินแดนราชศัตรู ดังนี้


                         ๑. นายสิบเอก  ปุ้ย  ขวัญยืน                           ถึงแก่กรรม    ๒๒  มกราคม  ๒๔๖๑


                         ๒.  จ่าสิบเอก  เจริญ  พิรอด                                    "          ๒๖    มกราคม  ๒๔๖๑


                         ๓. พลทหาร  ศุข  พ่วงเพิ่มพันธ์                               "           ๒๙   มกราคม  ๒๔๖๑


                         ๔. พลทหาร   นาค  พุฒมีผล                                  "             ๖  กุมภาพันธ์  ๒๔๖๑


                         ๕.  พลทหาร ศิลา  นอบภูเขียว                               "              ๒  มีนาคม   ๒๔๖๑


                         ๖.  จ่านายสิบ  หม่อมหลวง  อุ่น  อิศรเสนา ฯ             "              ๔  มีนาคม  ๒๔๖๑


                          ๗.  พลทหาร  ผ่อง  อมาตยกุล                              "              ๒๙  เมษายน  ๒๔๖๑


                        ๘.  พลทหาร  เปลี่ยน  นุ่มปรีชา                               "              ๑๓  มิถุนายน  ๒๔๖๑


 


          นายสิบพลทหารเหล่านี้ได้ถึงแก่กรรมโดยอุบัติเหตุในเวลาที่ไปทำการตามหน้าที่บ้าง  บางนายถึงแก่กรรมโดยเจ็บไข้บ้าง    ในชั้นต้นนั้น  เวลาที่ทหารผู้ใดถึงแก่กรรม  ผู้บังคับบัญชาได้จัดการนำศพไปฝังไว้ที่สุสานในเมืองลันเตา หรือที่ตำบลมุสสบาฆ   แล้วแต่ตำบลที่ถึงแก่กรรมนั้นจะใกล้กับที่ใด    การนำศพไปฝังนั้น  ได้มีพิธีอ่านคำขมาศพ และจัดทหารไปเป็นหมู่เกียรติยศ   ฝ่ายทหารฝรั่งเศสก็ได้จัดหมู่เกียรติยศมาคำนับศพเมือนกัน


 


 



 


อนุสาวรีฝังศพทหารไทยที่เมืองลันเตา 


(อ่านข้อความในหนังสือได้ว่า  จ. ม.ล. อ.  อิศรเสนา  ๑๐๔๓๒    เกิด  ๓๑  ต.ค.  ๒๔๓๖    ถึงแก่กรรม  ๔  มี.ค.  ๒๔๖๑)


 


 



 


อนุสาวรีฝังศพทหารไทยที่เมืองมูสบัก


 


           ครั้นกองทหารบกรถยนต์ได้เสร็จหน้าที่ในการทำการส่งกำลังแล้วผู้บังคับกองทหารบกรถยนต์ได้ขออนุญาตขุดศพนายสิบพลทหารไทยทั้งสิ้น  นำขึ้นรถยนต์ไปยังที่เผาศพในเมืองไมนส   ในวันที่  ๕  กรกฎาคม  ๒๔๖๒   เมื่อได้เผาศพแล้วได้เก็บอัฐิกลับมาพร้อมกับกองทหาร


         


 


 


 


 


 


 <  ที่เผาศพทหารไทยผู้เสียชีวิต


ขบวนเชิญศพไปยังที่เผา  >


 


 


 


 สวนสนาม . . . สวนสนามมหาไชย


          ครับ   เมื่อเสร็จศึกแล้วก็เป็นการเฉลิมฉลอง  ก็และการเฉลิมฉลองของทหารนั้นก็คือ  การสวนสนาม   กองทหารบกรถยนต์ได้ร่วมสวนสนามฉลองชัยชนะใน กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศส    กรุงลอนดอน   สหราชอาณาจักร  และ  กรุงบรัสเซลย์  ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม    ดังนี้นะครับ


 


         


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


          วันที่  ๑๔  กรกฎาคม  ๒๔๖๒  ร่วมสวนสนามมหาไชยผ่านประตูชัยที่  กรุงปารีส  ฝรั่งเศส


นายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค์  (ต๋อย หัสดิเสวี  -  ต่อมาเป็นนายพันโท พระอาสาสงคราม)   ผู้บังคับกองทหารบกรถยนต์ เดินนำแถวทหารที่อัญเชิญธงไชยเฉลิมพล


 


 


 



 


ร่วมสวนสนามมหาไชยที่  กรุงลอนดอน   สหราชอาณาจักร    วันที่  ๑๙  กรกฎาคม  ๒๔๖๒       


 


 



 


ร่วมสวนสนามมหาไชยที่  กรุงบรัสเซลย์   ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม     วันที่  ๒๒  กรกฎาคม  ๒๔๖๒  


 


 การเดินทางกลับประเทศสยาม    นายทหาร ได้มาถึง เป็นอันว่าได้มาถึงพร้อมทุกคน


          เมื่อได้ทราบข่าวว่าเรือจะมาถึงเมืองมารเซย์   และจะออกเดินทางได้ในวันที่  ๑๙  สิงหาคม  พ.ศ.๒๔๖๒    ทหารในกองทหารบกรถยนต์ได้เดินทางมายังเมืองนี้เป็นชุดๆ


 


         วันที่  ๑๖  สิงหาคม  พ.ศ.๒๔๖๒ 


 



 


 


          เวลา  ๑๒  นาฬิกา  ๑๕  นาที    ชุดที่  ๑  ได้ออกเดินทางจากค่ายพักมายังสถานีรถไฟ    จำนวนซึ่งเดินทางในครั้งนี้  มีนายทหารสัญญาบัตร  ๙    นายสิบ  ๑๕๑    พลทหาร  ๖๕๒    นายพีนตรี  หลวงรามฤทธิรงค์เป็นผู้อำนวยการเดินทาง


          เวลา  ๑๔  นาฬิกา  รถไฟได้เคลื่อนที่เดินทางมาเมืองมาเซย์   


 


          วันที่  ๑๙  สิงหาคม    เวลา  ๑๐  นาฬิกา  ๑๕  นาที   นายทหาร  ๕๑  นาย  ได้มาถึงเมืองมารเซย์    เป็นอันว่าทหารที่จะเดินทางกลับพระนครได้มาถึงพร้อมทุกคน


               เวลา  ๑๘  นาฬิกา  ๑๕  นาที   เรือมิเตาได้ใช้ฝีจักร์ออกจากท่า


 


          ครับ  . . .  บรรดาท่านทหารอาสาทั้งหลายท่านได้ตรากตรำในสนามรบมาเป็นเวลาช้านานท่านอยากให้เรือมิเตาถึงเมืองไทยเสียในพริบตา  แต่เมื่อเป็นไปไม่ได้  ท่านก็มิวิธีให้ได้ประโยชน์จากการเดินทาง   เมื่อเรือออกจากท่าได้ประมาณสัปดาห์หนึ่ง  เห็นว่านายทหารได้พักผ่อนพอแก่ความเหน็ดเหนื่อยตามสมควรแล้ว  นายพันเอก  พระเฉลิมอากาศ ได้ประชุมนายทหารชี้แจงความประสงค์ที่จะให้มีการบรรยายถึงวิชาความรู้เบ็ดเตล็ด  ซึ่งนายทหารได้พบเห็นมาต่างๆ กัน  เพื่อแลกเปลี่ยนกัน  วันละประมาณ  ๒  ชั่วโมง  ช่วงเวลา  ๑๕  นาฬิกา  ๓๐  นาที เป็นต้นไป       เห็นไหมครับ  ท่านใช้เวลาให้เป็นประโยชน์จริงๆ    และ แล้ว  .  .  .


 


๒๑  กันยายน  ๒๔๖๒    ทหารอาสาชุดสุดท้ายได้เดินทางถึงกรุงเทพฯ


             เวลา ๑๕  นาฬิกา  ๔๕  นาที  เรือลำเลียงได้มาถึงบริเวณท่าราชวรดิษฐ์


 


 


 


 


 



 


 


          ที่ท่าราชวรดิษฐ์มีพระบรมวงศานุวงศ์  ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย  ตลอดจนราษฎรได้ไปคอยรับทหารอยู่เป็นอันมาก        ครั้นแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  พระมหาสมณะ ได้เสด็จขึ้นสู่เกยซึ่งตั้งไว้แล้วที่พน้าพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย  ได้มีพระดำรัสประสาทพร และทรงประน้ำพระพุทธมนต์ทั่วกัน   


 


 



 


 


 



 


 



 


 


           แถวทหารเดินไปตามถนนมหาราช   ถนนหน้าพระลาน  ไปยังพลับพลายกซึ่งทำไว้ตรงถนนพระจันทร์ต่อกับถนนราชดำเนินใน    ระหว่างที่เดินไปนี้  ทหารที่ตั้งแถวรายทางสองฟากถนนได้กระทำวันทยาวุธแสดงความเคารพ และเปล่งเสียงไชโย  แตรวงบรรเลงเพลงมหาชัย    มหาชนซึ่งเนืองนองกันมาต้อนรับทหารก็ได้ร้องไชโยอย่างเซ็งแซ่    ทั้งเดินวิ่งตามกองทหารเป็นการเอิกเกริกอย่างใหญ่หลวง


          เมื่อกองทหารไปถึงหน้าพลับพลาแล้ว  จึงได้จัดแถวตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนินใน  หันหน้าสู่พลับพลา    ครั้นถึง  เวลา  ๑๗  นาฬิกา   พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินด้วยรถยนต์พระที่นั่ง  มาถึงที่ตั้งแถวทหาร  เสด็จลงจากรถพระที่นั่ง . . . ฯลฯ . . . เสด็จพระราชดำเนินผ่านแถวทหารโดยตลอด   เมื่อเสร็จการตรวจพลแล้ว   จึงเสด็จประทับ  ณ  พลับพลา และมีพระราชดำรัสต้อนรับทหาร


. . . ฯลฯ . . .


 


 



 


 



 


 



 


 


 



 


 


           เมื่อสิ้นกระแสรพระราชดำรัสแล้ว  จึงนายพันตรี หลวงรามฤทธิรงค์ ผู้บังคับกองทหารบกรถยนต์ซึ่งไปราชการสงคราม  นำผู้เชิญธงไชยเฉลิมพลเข้าไปสู่หน้าพระที่นั่ง    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผูกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีที่ธงไชยนั้น    แล้วผู้บังคับกองทหารบกรถยนต์ ก็นำผู้เชิญธงเดินผ่านตลอดแถวทหารจากปลายแถวไปสู่หัวแถว    ทหารกระทำวันทยาวุธ    แตรบรรเลงเพลงมหาชัย   


 



 


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีแก่ธงไชยเฉลิมพลกองทหารบกรถยนต์


 



 


           ต่อไปนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์แก่นายทหารต่างๆ  เพื่อบำเหน็จความชอบ


          ต่อนั้นกองทหารได้เดินสวนสนามผ่านหน้าพลับพลาถวายความเคารพแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    แล้วเลยไปสู่ที่พัก  ณ  ศาลาว่าการกลาโหม


  



 


 


          แต่เช้าวันนี้  ได้มีการตกแต่งสถานที่ของรัฐบาล และบ้านเรือนของพลเมืองทั่วไป ด้วยธงทิวและแพรพรรณต่างๆ   พอพลบค่ำก็มีการแต่งประทีปทั่วพระนคร  


ฯลฯ


 


          ยังครับ  ยังไม่หมด  นอกจากนี้  กองทหารยังเดินไปถึงสถานฑูตอังกฤษ และสถานฑูตฝรั่งเศส ในพิธีต้อนรับอีกด้วย   


 


 


            สำหรับงานพระราชพิธีในวันที่  ๒๒  กันยายน   เจ้าพนักงานได้จัดเตรียมที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  คือ เชิญพระปฏิมากรชัยวัฒนประจำรัชกาลพร้อมทั้ง  ๖  รัชกาล    พระแสงดาบประจำรัชกาลทั้ง  ๖   พระเต้าพระพุทธมนต์  พระครอบพระกริ่ง  พระเต้าน้ำเครื่องสงพระมุรธาภิเศก  ธงกระบี่ธุช  ธงครุธพาห  ธงจุฑาธุชธิปไตย  ธงมหาไพชยนต์ธวัช  ธงไชยเฉลิมพลของกองทหารบกรถยนต์ ซึ่งไปราชการสงคราม    ประดิษฐาน  ณ  พระที่นั่งพุดตาลคชาธาร     ครั้นถึงเวลา  ๑๗  นาฬิกา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินสู่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  . . . ฯลฯ . . .  พระสงฆ์ราชาคณะ  ๑๙  รูปเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรไชยมงคล และอำนวยพรแก่สยามพระราชอาณาจักร  จบแล้ว    เสด็จพระราชดำเนินกลับ


 


 



 


 


 


 


 


ธงราชกระบี่ธุช          ธงพระครุธพ่าห  


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 ธงราชกระบี่ธุช  และธงพระครุธพ่าหน้อย 


 


 


 


 


 


 


 


 


  


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


  ธงจุฑาธุชธิปตัย                                                                                                                                                   ธงมหาไพชยนต์ธวัช  


 


 


 


 


  ทหารอาสางานพระราชสงครามทวีปยุโรป  ณ ปราสาทพระเทพบิดร 


 


 


 รอยบาทเหยียบแน่นไว้              แทบพื้นทรายสมัย  


          วันที่  ๒๔  กันยายน  เป็นวันฝังอัฐิทหารซึ่งได้ถึงแก่

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์