ฟลูออไรด์คืออะไร ทำไมถึงมีประโยชน์

ฟลูออไรด์คืออะไร ทำไมถึงมีประโยชน์


คุณรู้หรือไม่ว่า ฟลูออไรด์สำคัญมากๆและจัดเป็นองค์ประกอบ 1 ใน 5 ที่สำคัญของงานทันตกรรมป้องกัน ได้แก่ การทำความสะอาดฟันและช่องปากโดยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี การเคลือบหลุมร่องฟัน การปรับพฤติกรรมการบริโภค การใช้ฟลูออไรด์ การตรวจสอบสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอทุก 6 เดือน

ฟลูออไรด์เป็นเกลือของธาตุฟลูออรีน พบได้ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีทั่วไปในดิน น้ำ อากาศ หินแร่ ในอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารทะเลและในพืชผักบางชนิดตลอดจนมีการผลิตขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ

ร่างกายรับฟลูออไรด์ได้จากการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม ฟลูออไรด์ที่ถูกดูดซึมในร่างกายส่วนใหญ่ ร่างกายจะนำไปสร้างกระดูกและฟัน ทางการแพทย์ใช้เป็นยารักษาโรคกระดูกผุและโรคกระดูกอื่นๆ บางชนิด ทางทันตกรรมนั้น ใช้ในการป้องกันฟันผุ

- ฟลูออไรด์มีผลในการป้องกันฟันผุ ใน 2 ลักษณะ คือ โดยการรับประทาน และการสัมผัสกับผิวเคลือบฟัน

- ฟลูออไรด์ที่ใช้รับประทานส่วนใหญ่อยู่ในรูปยาเม็ดฟลูออไรด์ ยาน้ำ วิตามิน ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มหรือนมฟลูออไรด์ การรับประทานยาเม็ดฟลูออไรด์ จะให้ผลดีกับฟันที่กำลัง

            
- สร้างตัวอยู่ในขากรรไกรและการรับประทานฟลูออไรด์ที่ได้ประโยชน์ ต้องใช้กับวัยเด็กตั้งแต่ 6 เดือน ถีง 12 ปี และการกินยาเม็ด และยาน้ำฟลูออไรด์นี้ควรปรึกษาทันตแพทย์เสียก่อน เพื่อที่จะได้กำหนดปริมาณการกินที่ถูกต้องได้
            
- ส่วนของฟันที่ขึ้นมาในช่องปากแล้ว จะใช้ฟลูออไรด์ในลักษณะให้สารฟลูออไรด์ได้สัมผัสกับผิวเคลือบฟัน เช่น การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ การใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ จะทำให้สภาพช่องปากได้รับฟลูออไรด์ในความเข้มข้นต่ำๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะไปเพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันอย่างได้ผลดี

ฟลูออไรด์ในช่องปากสามารถป้องกันฟันผุ โดย
            
- ช่วยชะลอการย่อยสลายของแร่ธาตุ และเสริมกระบวนการคืนกลับของแร่ธาตุบนผิวเคลือบฟัน ทำให้ยับยั้งการผุของผิวเคลือบฟันในระยะแรกๆ
            
- ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อกรดให้ผิวเคลือบฟัน ถ้าได้รับฟลูออไรด์ โดยการรับประทานในช่วงที่มีการสร้างฟัน ทำให้ฟันมีโอกาสผุยากขึ้น

ควรระมัดระวังในการใช้ฟลูออไรด์
            
ไม่ควรใช้ฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไป เช่น การกินยาเม็ด ยาน้ำฟลูออไรด์ต้องกินในปริมาณที่กำหนด หรือการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ต้องระวังการกลืนยาสีฟัน โดยใช้ปริมาณยาสีฟันแค่พอเพียงประมาณขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวก็พอ






ขอขอบคุณข้อมูลจาก กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์