ขวัญ ความเชื่อที่ยังคงอยู่

ขวัญ ความเชื่อที่ยังคงอยู่


         ความเชื่อเกี่ยวกับขวัญ เป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นกับพ่อแม่และผู้ปกครองในกรณีที่เด็กเล็ก ๆ ป่วยติดต่อกันหลาย ๆ วัน และรักษาไม่หาย ซึ่งแสดงว่าขวัญที่อยู่ในตัวเด็กได้หนีออกจากตัวเด็กไปแล้ว

     ดังนั้นผู้ปกครองเด็กต้องไปหาหมอดูเพื่อตรวจดูว่าขวัญของเด็กหนีไปอยู่ที่ ไหน และเมื่อรู้ที่อยู่ของขวัญแล้วผู้ปกครองจะไปพลีเอาสิ่งของที่บริเวณขวัญหลบ ซ่อนอยู่มาผูกคอไว้กับเด็ก เชื่อกันว่าเด็กจะหายจากอาการเจ็บไข้

     เนื่องจากเป็นความเชื่อเกี่ยวกับขวัญว่าเป็นสิ่งที่ให้คุณแก่มนุษย์ ดังนั้นชาวบ้านจึงเชื่อว่าที่ตัวเด็กทุกคนจะมีขวัญเป็นเทวดาประจำตัว

ความเชื่อเรื่องขวัญนี้ได้ส่งผลทางด้านจิตวิทยาให้บังเกิดแก่พ่อแม่ ผู้ปกครองและตัวเด็กเป็นอย่างมาก

ขวัญ ความเชื่อที่ยังคงอยู่


ความเชื่อเรื่องขวัญ


พิธีกรรมที่ปฏิบัติเกี่ยวกับขวัญมีสองลักษณะ คือ

1. การเรียกขวัญ (หรือส่อนขวัญ)
จะ กระทำเมื่อเกิดอุบัติเหตุต่างๆหรือเหตุอื่นที่ทำให้ตกใจจนเจ็บป่วย

         พ่อแม่จะนิยมเชิญผู้เฒ่าผู้แก่ไปยังจุดเกิดเหตุ พร้อมเจ้าของขวัญ ในพิธีจะมีกระติบข้าวหรือกล่องข้าวสะอาดเพื่อใส่ฝ้ายผูกแขนและหมากหรือยา มีของเรียกขวัญ เช่นกระจกเงา หวี น้ำหอมที่เจ้าของขวัญชอบ เพื่อทำให้ขวัญพอใจและกลับมาเร็ว เมื่อผู้ประกอบพิธีไปถึงสถานที่เเล้ว ก็จะเรียกชื่อเจ้าของขวัญ ทำนองว่าให้กลับบ้านได้แล้ว แล้วเปิดฝากระติบรับ เมื่อกลับถึงบ้านจึงนำกระติบไปตั้งข้างผู้ป่วยเเล้วเชิญขวัญเข้าตัวผู้ป่วย ด้วยฝ้ายผูกแขน โดยก่อนจะเรียกขวัญจะต้องท่องคาถากันผีป่าก่อน มิฉะนั้นผีป่าจะเข้ามาเเทนที่เจ้าของขวัญ ทำให้ผู้ป่วยอาการแย่ลง


2. การสู่ขวัญ เป็นการให้กำลังใจคนในโอกาสมงคลเเละเสริมสิริมงคลแก่สิ่งของเครื่องใช้และอาคารสถานที่ที่เป็นคุณแก่ตน 

        มีองค์ประกอบและวิธีดำเนินการคือ การหาฤกษ์ยาม  การเชิญผู้มาร่วมพิธี  การจัดทำพาขวัญ(คือพานหรือภาชนะที่รองรับกลีบใบตองเป็นกรวยชั้นๆ ยิ่งหลายชั้นยิ่งเเสดงถึงยศศักดิ์ของเจ้าของขวัญ ปกติไม่เกิน 9 ชั้น)  มัก ให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ในพาขวัญนั่นคือไข่ขวัญเป็นอย่างมาก
       กล่าวคือเมื่อปอกเปลือกไข่ออก ไข่ควรเกลี้ยงเกลาไม่มีตำหนิและมีพื้นที่ตัดขวางนูนเป็นชั้นๆ แสดงว่าเจ้าของขวัญจะเจริญก้าวหน้าต่อไป เพราะขวัญดีมาก ส่วนบทสู่ขวัญจะเป็นไปตามสถานการณ์คือสอดคล้องกับงาน เมื่อสู่ขวัญแล้ว

ผู้ประกอบพิธี(คือพราหมณ์)จะผูกแขนให้กับเจ้าของขวัญเป็นคนแรกและผูกให้ผู้ ร่วมพิธีตามลำดับความสำคัญ 

นอกจากนี้ยังเชื่อว่าสิ่งที่มี อุปการะคุณต่อความเป็นอยู่ในชีวิต ต่างก็มีขวัญเช่นกัน ถ้าไม่ใส่ใจต่อขวัญของสิ่งเหล่านั้นอาจดำเนินชีวิตไม่ปกติสุขได้
 
ดังนั้นจึงได้เกิดความเชื่อเรื่องขวัญของสิ่งต่างๆ ที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุด ก็คือความเชื่อเรื่องการทำขวัญข้าวเป็นต้น
 
(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : 202-205)


ขวัญ ความเชื่อที่ยังคงอยู่


ความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” ของล้านนา

          วัฒนธรรมจากอาณาจักรล้านนาในอดีตจะ มีความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” โดยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนจะมีขวัญอยู่ในตัว 32 ขวัญ สัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควาย ก็มีขวัญประจำตัวอยู่ ซึ่งคำว่า “ ขวัญ ” หมายถึง สิ่งที่ไม่มีตัวตนซึ่งประจำตัวคนมาตั้งแต่เกิดจนตาย นิยมการทำพิธีเรียกขวัญ 2 แบบคือ การเอาขวัญสู่และการเอาขวัญผี

จากการถามผู้ใหญ่ท่านบอกว่า เมื่อคนตายไปแล้วขวัญทั้ง 32 นี้ก็จะไปเกิดได้อีก 32 ชีวิต ดังนั้นบางคนก็อาจมีขวัญมากกว่า 1 ขวัญ (ตอนเด็กๆแม่เคยไปให้หมอทำนายโดยไม่ให้เขารู้ แล้วหมอบอกว่ามี 2 คนมาเกิด รู้ชื่อคนมาเกิดด้วย) จึงสงสัยในเมื่อมันขัดกับความเชื่อว่าแต่ละคนมีกรรมติดตัว กรรมใครกรรมมัน แล้วถามว่า 1 คนไปเกิดได้หลายคน เขาจะชดใช้กรรมเวรกันอย่างไร แล้วคนที่เราเดินผ่านกันก็อาจมีขวัญมาจากที่เดียวกับเรา



ที่มา yahoo/thaiza/mapculture

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์