เคยสงสัยไหม!..( มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ )...คืออะไร?

เคยสงสัยไหม!..( มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ )...คืออะไร?


มะนาวไม่รู้โห่

(ชื่อวิทยาศาสตร์: Carissa carandas L.;
ชื่อสามัญ: Karanda; Carunda; Christ's thorn)
หรือชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น มะนาวโห่, หนามแดง, หนามขี้แฮด (เชียงใหม่)

เป็นพืชที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ตามกิ่งก้านมีหนามค่อนข้างยาวและแหลม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่รี ปลายและโคนมน ขอบเรียบ ดอกมีขนาดเล็กมีสีขาวเป็นช่อ หอมกลีบดอกเป็นรูปหอก ผลขนาดเท่าหัวแม่มือ เป็นพวงสีแดงสดแก่สีดำรับประทานได้

ชื่อ "มะนาวไม่รู้โห่" นั้นเป็นชื่อพืชที่มีปรากฏเรียกกันมาแต่โบราณ ซึ่งเห็นได้จากที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเช่นในเรื่อง พระรถเมรี

นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด

ประโยชน์

ใบ รสปร่าขื่น ต้นดื่ม แก้ท้องร่วง แก้เจ็บคอ แก้ปวดหู ผลสุก รสเปรี้ยว แก้โรคลักปิดลักเปิด ผลดิบ รสฝาด สมานแผล เนื้อไม้ รสเผื่อน บำรุงร่างกาย ราก รสเฝื่อนเมา ขับพยาธิ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร


เคยสงสัยไหม!..( มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ )...คืออะไร?


ลักษณะของพืช »

มะนาวไม่รู้โห่ นับว่าเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นมีหนาม
ยาวพอสมควร แต่ก็นับว่ายาวทีเดียว คือยาวประมาณ1นิ้วเศษ 1นิ้ว ลำต้น สูงประมาณ 5 เมตรเศษ มีดอกสีขาวเป็นช่อๆ กลีบช่อมี 6 กลีบ ด้วยกัน ก้านดอกสีชมพูอมเขียวใบไม้ ผลอ่อนที่เกิดขึ้นจะเป็นสีชมพูอ่อน แก่ แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้มข้นมาบ้างแต่ก็ไม่เข้มมาก มี สีขาวร่วมด้วย นับว่าดอกของมะนาวไม่รู้โห่สวยวามทีเดียว ผลแก่แล้วก็เปลี่ยนเป็นสีดำไป
 
การปลูก »
มะนาวไม่รู้โห่ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ปลูกง่าย พอมีน้ำบ้าง
ก็ใช้ได้แล้ว ส่วนมากปลูกได้ด้วยการตอนกิ่งหรือเพาะเมล็ดก็ได้
 
ส่วนที่ใช้เป็นยา »
น้ำรสเปรี้ยวในผล ราก
 
รสและสรรพคุณยาไทย »
ราก บำรุงธาตุ เจริญอาหาร น้ำในผลใช้แทน
มะนาว เอารากมาต้ม เคี่ยว ดื่ม น้ำในผลเอามาปรุงอาหารได้แทน
น้ำมะนาวได้ แต่รสเปรี้ยวจะอ่อนกว่ามะนาวเล็กน้อย แก้ไอ ขับเสมหะได้เช่นเดียวกัน

เคยสงสัยไหม!..( มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ )...คืออะไร?



นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ไม้โชว์ทรงพุ่ม มีดอกสวยงาม มีกลิ่นหอม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หนามแดงเป็นไม้พุ่มสูง 2-3 เมตร ทรงพุ่มกลม แตกกิ่งจำนวนมาก ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมยาว 2-4 ซม. ทุกส่วนมียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามใบรูปไข่กลับ โคนใบและปลายใบมนกลม กว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-7 ซม. ดอกออกเป็นช่อสีขาวอมชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาว 1.5-2 ซม. สีชมพู ปลายดอกแยกเป็น 5 กลีบ บิดเวียนเล็กน้อย เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตลอดวัน ออกดอกตลอดปี แต่มีดอกดกในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน

นิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิด แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลียเขตร้อน พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ

การขยายพันธุ์
1.การเพาะเมล็ด
2.การตอนกิ่ง

การปลูกและการดูแลรักษา
1.หนามแดงเป็นไม้ดอกไม้ประดับที่ทนทาน แล้งง่าย เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง
2.ดินควรเป็นดินร่วน เก็บความชื้นได้ดี
 
ประโยชน์ตำรายาไทยใช้ แก่น บำรุงไขมัน เหมาะสำหรับคนผอม บำรุงธาตุ ใบสด ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องร่วง แก้ปวดหู แก้ไข้ แก้เจ็บปากและคอ ผลสุกและดิบ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน แก้ท้องเสีย รากสด ต้มน้ำดื่ม ขับพยาธิ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้า ทาหรือพอกรักษาบาดแผลและแก้คัน รากมีสารกลุ่ม cardiac glycoside ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้ทำงานมากขึ้น จึงควรระวังเมือก 

เคยสงสัยไหม!..( มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ )...คืออะไร?


เคยสงสัยไหม!..( มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ )...คืออะไร?


ขอบคุณข้อมูลจาก  www.acs.ac.th

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์