กริพเพน เขี้ยวเล็บใหม่ทัพฟ้าไทย

กริพเพน เขี้ยวเล็บใหม่ทัพฟ้าไทย

กริพเพน เขี้ยวเล็บใหม่ทัพฟ้าไทย

ก่อนหน้านี้ “กองทัพอากาศ” เองก็ไม่ได้มองแค่เครื่องบิน “กริพเพน” อย่างเดียว แต่นั่นหมายถึง เครื่องบินซู-30 ของประเทศรัสเซีย ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา แต่เนื่องด้วยเครื่องบินซู-30 ที่มีขนาดใหญ่ และมีเครื่องยนต์ 2 เครื่อง ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง

ขณะที่เครื่องบินเอฟ-16 ซี/ดี ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีความเหมาะสม ที่กองทัพอากาศหวังที่จะได้มาเสริมเขี้ยวเล็บให้แก่ประเทศไทย แต่ติดอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ขายให้กองทัพอากาศไทย เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกามีข้อกำหนดที่จะไม่มีการซื้อขายกับประเทศที่มี การ “ปฏิวัติ-รัฐประหาร”

กริพเพน (JAS-39C/D Grippen) เครื่องบินรบ หรือเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ สัญชาติสวีเดน ผลิตโดยบริษัทซ้าบ SAAB ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการต่อสู้ทางอาการ และมีความยืดหยุ่นสูง โดยคำว่า JAS ย่อมาจาก J : Jakt (อากาศสู่อากาศ) A : Attack (อากาศสู่พื้น) และ S : Spaning (การลาดตระเวน) ซึ่งหมายความว่า กริพเพน เป็นเครื่องบินรบหลากบทบาท สามารถทำภารกิจที่แตกต่างกันไปได้

สำหรับ ความน่าสนใจของกริพเพน คือการที่มันสามารถบินขึ้น-ลงได้บนถนนสาธารณะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ของสวีเดน ที่สามารถปฏิบัติการได้ แม้ว่าทัพอากาศจะสูญเสียความได้เปรียบทางอากาศไป และมีความเร็วสูงกว่าเสียง 2 เท่า หรือเท่ากับเครื่องบิน F16 แต่จะช้ากว่าเครื่องบินรบ SU30 ของมาเลเซียที่สั่งซื้อจากรัสเซียเล็กน้อย ทว่าเครื่อง SU30 เป็นแบบสองเครื่องยนต์ ต้องการเชื้อเพลิงและค่าการบำรุงรักษาสูงกว่า กริพเพน หลายเท่า เหยียบราว ๆ 3-4 แสนบาท ส่วน กริพเพน อยู่ที่ประมาณ 90,000 บาทต่อหนึ่งชั่วโมงบิน ในส่วนของลักษณะตัวเครื่อง กริเพนจะไม่มีหางหลัง แต่ใช้ปีกเสริมด้านหน้า (Canard) เพิ่มความคล่องตัวและแรงยก พิสัยปฏิบัติการอยู่ที่ 800 กิโลเมตร เพดานบิน: 15 กิโลเมตร สามารถบรรทุกน้ำหนัก รวมอาวุธและน้ำมันได้ 8 ตัน ใช้เรดาร์สมัยใหม่ เป็นเรดาร์พัลส์-ดอปเปลอร์ พีเอส-05/เอ ถูกสร้างขึ้นโดยอิริกส์สันและจีอีซี-มาร์โคนี สามารถ ตรวจจับ ระบุตำแหน่ง ระบุเป้าหมาย และติดตามเป้าหมายได้หลายเป้าหมายแบบอัตโนมัติ ทั้งบนพื้น ทะเล หรืออากาศ และในทุกสภาพอากาศ นอกจากนี้ ยังสามารถถูกใช้เพื่อนำทางขีปนาวุธอากาศสู่อากาศได้ 4 ลูก ในเวลาเดียวกัน

ส่วนห้องนักบินให้พื้นที่การมองมากกว่าเครื่องบินขับไล่ส่วนมาก 30% และจอแสดงผลที่กินพื้นที่น้อยจนเหลือพื้นที่เพิ่มขึ้น 75% มีจอแสดงแบบเฮดดาวน์สีสมบูรณ์ 3 จอ และจอแสดงอุปกรณ์ฉุกเฉินของเครื่องบินแบบดิจิตอล โครงสร้างของห้องนักบินทำให้นักบินมีความสะดวกสบายในการทำงานและยังเพิ่ม ความระวังต่อสถานการณ์อีกด้วย

ปัจจุบันเครื่องบินกริพเพน ที่ผลิตโดยประเทศสวีเดน มีประจำการอยู่ 5 ประเทศ ได้แก่ สวีเดน ฮังการี แอฟริกาใต้ สาธารณรัฐเช็ก อังกฤษ และไทย รวมจำนวนประมาณ 264 เครื่อง และยังมีประเทศที่แสดงความสนใจจะสั่งซื้อดังนี้

บัลแกเรีย สนใจที่จะจัดหาจำนวน 20 เครื่องทดแทน MiG-29

กลุ่มประเทศบอลติก สนใจจะเช่าใช้งานจำนวน 12 เครื่อง

บราซิล เริ่มต้นโครงการ F-X ใหม่อีกครั้ง และคาดว่ากริพเพนจะเข้าร่วมแข่งขันด้วย

โครเอเซีย ต้องการเครื่องบิน 12 เครื่องตามโครงการปรับปรุงกองทัพ โดยจะประกาศเลือกแบบใน พ.ศ. 2551 ซึ่งกริพเพนต้องแข่งขันกับ เอฟ-16 มือสองจากสหรัฐ

กรีซ กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดซื้อเครื่องบินรบอีก 30 - 40 เครื่อง

โรมาเนีย ต้องการเครื่องบินขับไล่ 40 เครื่อง โดยจะประกาศเลือกแบบใน พ.ศ. 2551 ซึ่งกริพเพนต้องแข่งกันกับ ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น ของยุโรป

สวิสเซอร์แลนด์ ต้องการเครื่องบินทดแทน F-5 จำนวน 20 - 33 เครื่อง โดยสวิสเซอร์แลนด์ได้ร้องขอให้ผู้ผลิตที่ส่งแบบแผนเครื่องบินเข้าแข่นขัน ทั้ง 4 ราย ประกอบไปด้วย เอฟ/เอ-18อี/เอฟ, ราฟาล, ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น, และ กริพเพน

นอร์เวย์ ต้องการเครื่องบินทดแทน เอฟ-16 เอ็มเอลยูจำนวน 48 ลำ โดยได้ร้องขอให้ผู้ผลิตที่ส่งแบบแผนเครื่องบินเข้าแข่งขันทั้ง 3 รายอันประกอบไปด้วย เอฟ-35, ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น, และ กริพเพน

เดนมาร์ก ต้องการเครื่องบินทดแทน เอฟ-16 เอ็มเอลยู จำนวน 48 ลำ

นอกจากนั้น สวีเดนยังสนับสนุน จรวดต่อต้านเรือผิวน้ำอากาศสู่พื้น RBS-15 F ซึ่งรวมอยู่ในแพ็กเกจเดียวกับโครงการด้วย ทั้งนี้ไม่นับรวม จรวดอากาศสู่อากาศ IRIS-T ของเยอรมัน ซึ่งถือเป็น มิสไซล์ชั้นดีที่ประเทศไทยจะมีประจำการเป็นประเทศแรกในภูมิภาคนี้ โดยทางกองทัพอากาศไทยก็ได้สิทธิ์จัดซื้อรวมกับ Gripen ในระยะที่ 2
ปล.อันดับที่ 1-5 คือเครื่องบินรบที่ดีที่สุดในตอนนี้ ซึ่งกริพเพนก็ติดเข้ามาด้วยเช่นกัน

กริพเพน เขี้ยวเล็บใหม่ทัพฟ้าไทย


กริพเพน เขี้ยวเล็บใหม่ทัพฟ้าไทย


อันดับที่ 5 Rafale สาธารณรัฐฝรั่งเศสอันดับที่ 5 Rafale สาธารณรัฐฝรั่งเศส


อันดับที่ 4 JAS 39 Gripen ราชอาณาจักรสวีเดอันดับที่ 4 JAS 39 Gripen ราชอาณาจักรสวีเด


อันดับที่ 3 F/A-18 Hornet สหรัฐอเมริกาอันดับที่ 3 F/A-18 Hornet สหรัฐอเมริกา


อันดับที่ 2 Typhoon สหราชอาณาจักรและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีอันดับที่ 2 Typhoon สหราชอาณาจักรและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี


อันดับที่ 1 F-22 Raptor สหรัฐอเมริกาอันดับที่ 1 F-22 Raptor สหรัฐอเมริกา


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์