คิดนอกกรอบ ประเด็นรัฐถอนสิทธิ์ยาโรคข้อเสื่อม

คิดนอกกรอบ ประเด็นรัฐถอนสิทธิ์ยาโรคข้อเสื่อม



 ข่าวชิ้นเล็กๆแต่สร้างความสะเทือนไปหลายวงการโดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมที่รับราชการอยู่ทั่วประเทศเมื่อรัฐประกาศถอดถอนยารักษาโรคข้อเสื่อมออกจากบัญชีรายชื่อยาที่ข้าราชการเบิกจ่ายได้

 

     สาเหตุของการงดจ่ายยาโรคปวดข้อสืบเนื่องมาจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่23 มีนาคมแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการจัดทำมาตรการกำกับดูแลการใช้ยาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าโดยเฉพาะการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติที่พบว่าสถานพยาบาลหลายแห่งมีสัดส่วนใช้ยานอกบัญชีฯร้อยละ 60-70%โดยเฉพาะยาโรคไขข้อและกระดูกซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง(ThaiPR.net วันพฤหัสที่30 ธันวาคม2552)


     คณะทำงานฯได้สรุปว่ายาในกลุ่ม SYSADOA(กลูโคซามีน คอนดรอยดินซัลเฟสและไดอะเซอเรน)ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาที่ฉีดเข้าข้อ(ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์)ไม่มีประสิทธิภาพชัดเจนในการรักษาการใช้ยากลุ่มนี้อาจไม่เกิดประโยชน์และไม่คุ้มค่ากับราคาที่จ่ายซึ่งส่วนมากเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดังนั้นจึงมีหนังสือสั่งให้กลุ่มยาเหล่านี้เป็นรายการที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1มกราคม 2554


     ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยาบรรเทาอาการปวดข้อกลุ่ม SYSADOAซึ่งค้านกับข้อมูลอีกด้านที่เป็นการศึกษาของ Prof.Reginster ที่ตีพิมพ์ในวารสารLancet ปี 2001แสดงให้เห็นว่าการรับประทานกลูโคซามีนซัลเฟต 1500 มก.นานต่อเนื่อง 3ปี มีผลทำให้ข้อเสื่อมช้าลงจากการดูผล X-rayที่ช่องว่างของข้อและผลข้างเคียงของผู้ป่วยที่ใช้กลูโคซามีนซัลเฟต ไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่ได้ยาหลอกProf. Reginsterยังให้ความคิดเห็นอีกว่าผลการศึกษานี้เป็นการใช้กลูโคซามีนซัลเฟต ที่เป็นยา ไม่สามารถนำผลการรักษานี้ไปอ้างอิงกลูโคซามีนตัวอื่นได้


    และอีกข้อมูลจากการรีวิวการศึกษาของกลูโคซามีนที่รายงานใน Cochranelibrary ในปี 2005ผู้วิจัยได้ทำการรีวิวข้อมูลการศึกษาทั้งหมดของกลูโคซามีนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปี 2005ผู้ทำการวิจัยสรุปว่ากลูโคซามีนให้ผลดีในการรักษาอาการข้อเสื่อมและกลูโคซามีนของผู้ผลิตยาแต่ละรายให้ผลการรักษาดีไม่เหมือนกันบางรายไม่ให้ผลทางการรักษาเลย


     แต่ข้อมูลที่ชี้ชัดสุดคือ ผลการวิจัยจาก TheJoint Area Prescribing Committee (JAPC) ในปี 2010ซึ่งระบุว่า สารกลูโคซามีนซัลเฟต ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลในการรักษาเข่าเป็นสารชนิดเดียวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทRottaซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตและเป็นยาเพียงตัวเดียวที่มีผลการศึกษายืนยันประสิทธิภาพการรักษาทั้งด้านการบรรเทาอาการและชะลอความเสื่อมของข้อเข่าจึงมีความปลอดภัยในระยะยาวแม้จะมีราคาแพงกว่าก็ตามผู้วิจัยยังระบุว่าไม่ควรใช้กลูโคซามีนที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์และไม่มีใบอนุญาตเนื่องจากไม่มีผลการวิจัยรับรองและไม่สามารถยืนยันผลการรักษาหรือผลข้างเคียงได้


     ในเมื่อมีข้อมูลสนับสนุนในผลการรักษาที่เชื่อถือได้ของกลูโคซามีนจากข้อมูลล่าสุดนี้ ทำให้สงสัยไม่น้อยว่าที่รัฐตัดกลูโคซามีนออกจากบัญชีรายชื่อยาเพราะไม่ได้ผลตามที่กล่าวอ้างหรือมีเหตุผลอื่นกันแน่โดยเฉพาะกระแสก่อนหน้านี้ที่ นพ.พงษ์พิสุทธิ์จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)เปิดเผยตัวเลขการเบิกจ่ายยาของข้าราชการไทยพุ่งไปที่7 หมื่นล้าน/ปีและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆเฉลี่ยปีละเกือบ15-20%สาเหตุที่ค่าใช้จ่ายในระบบสวัสดิการข้าราชการสูงขึ้นเพราะจ่ายตามที่เบิกจริงและไม่มีมาตรการควบคุมยาหลายชนิดเป็นยานอกบัญชีกลางซึ่งมีราคาแพงหากไม่มีการควบคุมคาดว่าปีงบประมาณ2553 การเบิกจ่ายน่าจะพุ่งไปหลักแสนล้าน!


     ข้อมูลเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามคาใจว่าหรือแท้ที่จริงแล้วเหตุผลที่รัฐตัดรายชื่อกลูโคซามีนออกไปเพียงเพราะต้องการควบคุมงบประมาณเพียงอย่างเดียวไม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการรักษาใช่หรือไม่ถ้าเป็นอย่างที่วิเคราะห์ เชื่อว่าอีกไม่นานน่าจะมีรายชื่อยาที่ถูกตัดสิทธิ์เบิกจ่ายทยอยประกาศตามมาอีก


     หลังจากข้าราชการสูงวัยเดือดร้อนกันไปแล้วตั้งแต่ต้นปีล่าสุดนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รมว.สธ.ได้มอบหมายให้อธิบดีกรมการแพทย์ศึกษาข้อมูลทางวิชาการในยากลุ่มรักษาข้อเสื่อมเพื่อดูว่ายาตัวไหนต้องทบทวนหรือต้องแก้ไขสรรพคุณและส่งเรื่องให้ อย.พิจารณา คาดว่าจะแล้วเสร็จใน2 สัปดาห์…หัวหรือก้อยข้าราชการก็ต้องลุ้นกันอีกยกแต่ที่แน่ๆ ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมลุ้นไม่ได้วันนี้คุณทำการบ้านเรื่องยาโรคข้อเสื่อมแล้วหรือยัง?


บทความโดย : ว่าที่ ส..


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์