108 วิธี แก้สะอึก

108 วิธี แก้สะอึก


สะอึก (hiccup) เกิดจากกะบังลมทำงานไม่เป็นปกติ 
กะบังลมกั้นอยู่ระหว่างช่องท้องกับช่องอก ทำงาน 
โดยยืดและหดในจังหวะสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการหายใจ 
สาเหตุของการสะอึกอาจเกิดจากมีอะไรไปรบกวน 
ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกะบังลม ลมในกระเพาะ 
อาหารขยายตัวไปกระตุ้นปลายประสาทที่มาเลี้ยง 
กะบังลม หรืออวัยวะใกล้กะบังลมเป็นโรคบางอย่าง 
เช่น เยื่อหุ้มปอดอักเสบ 

สาเหตุเหล่านี้ทำให้กะบังลมหดตัวอย่างรุนแรงทันทีทันใด 
การบีบรัดตัวของกะบังลมทำให้แผ่นเหนือกล่องเสียงที่คอหอย 
ซึ่งปกติคอยกั้นไม่ให้อาหารเข้าไปในหลอดลมปิดลง เมื่อ 
กะบังลมหดตัวอย่างรุนแรงก็จะดึงอากาศเข้าสู่ปอดผ่านคอ 
หอย อากาศจึงกระทบกับแผ่นปิด แล้วทำให้สายเสียงสั่นสะเทือน 
จึงเกิดเป็นเสียงสะอึก 

อาการสะอึกอาจเกิดขึ้นช่วงสั้นๆ และหายไปได้เอง 
ใช้เวลาไม่กี่วินาทีไปจนถึง 2-3 นาที ซึ่งพบได้บ่อยๆ 
แต่หากสะอึกอยู่นานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันๆ หรือสะอึก 
ในขณะนอนหลับ อาจต้องหาสาเหตุว่ามาจากโรคของ 
อวัยวะต่างๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับอวัยวะในช่อง 
ท้อง ในช่องปอด ในระบบสมองและประสาทส่วนกลาง เป็นต้น 

คนส่วนใหญ่มักจะสะอึกหลังจากการรับประทาน 
อาหารมากเกินไปหรือเร็วเกินไป หรือรับประทานอาหาร 
ที่ทำให้มีก๊าซมาก บางคนอาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่ม 
ที่มีแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่มากเกินไป บางคนที่มีความ 
ตึงเครียดมากเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุของการสะอึกได้ 
                 


108 วิธี แก้สะอึก


เทคนิคหยุดอาการสะอึก มีหลายวิธี การศึกษา 
ชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา พบว่า 
การ
กลืนน้ำตาลทรายเปล่าๆ
1 ช้อนโต๊ะ สามารถแก้อาการ 
สะอึกได้ถึง 19 คน จากจำนวน 20 คน 

นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ อีกหลายวิธี ได้แก่ 
- สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นหายใจไว้สักพัก 
- หายใจในถุงกระดาษ 
- กลืนน้ำแข็งบดละเอียด 
- เคี้ยวขนมปังแห้ง 
- บีบมะนาวให้ได้สัก 1 ช้อนชา แล้วจิบแก้สะอึก 
- ก้มตัวดื่มน้ำจากขอบแก้วด้านตรงข้าม หรือด้านที่ไกลจากริมฝีปาก 
- จิบน้ำจากแก้วเร็วๆ หลายๆ อึก ติดๆ กัน 
- ใช้นิ้วมืออุดหูประมาณ 20-30 วินาที 
- อุดหูไปด้วย แล้วดูดน้ำจากหลอดไปด้วย 
- แหงนหน้า กลั้นหายใจ นับ 1-10 จากนั้นหาย ใจออกทันที แล้วดื่มน้ำหนึ่งแก้ว 
- ใช้นิ้วคีบลิ้นแล้วดึงออกมาเบาๆ หรือแลบลิ้นออกมายาวๆ 
- กดจุด โดยออกแรงบีบเนินใต้นิ้วโป้ง ของมืออีกข้างหนึ่ง หรือกดบริเวณร่องเหนือริมฝีปาก 
- นวดเพดานปาก 
- ทำให้ตกใจ เช่น ตบหลังแรงๆ โดยไม่ให้รู้ตัวก่อน 
- ถ้าเป็นเด็กอ่อนควรอุ้มพาดบ่าใช้มือลูบหลังเบา ๆ ให้เรอ 

ควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการสะอึกไม่หยุดนานกว่า 1 วัน 

มีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกวิงเวียนร่วมด้วย 
หรือสะอึกทุกครั้งหลังจากรับประทานยาที่แพทย์จัดให้ 

ในการค้นหาสาเหตุของการสะอึกเป็นเวลานานๆ 
แพทย์อาจต้องตรวจระบบทางเดินอาหาร ว่า 
มีการอักเสบของหลอดอาหารที่เกิดจากการย้อน 
กลับของน้ำย่อยที่มาจากกระเพาะอาหารหรือไม่ 
ต้องตรวจความผิดปกติในลำคอ หู จมูก ระบบทาง 
เดินหายใจ และระบบสมองและประสาท 

แต่หากสะอึกเป็นระยะเวลาสั้นๆ ไม่นานนัก 
แต่เป็นหลายครั้ง อาจสังเกตจากกิจวัตรประจำวัน เช่น 
การรับประทานอาหาร การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 
หรือการสูบบุหรี่ ว่ามีความสัมพันธ์กับการสะอึกหรือไม่ 
ถ้าสัมพันธ์กัน ก็ควรจะปรับเปลี่ยนกิจวัตรเหล่านั้น 

          

เครดิต : นายเอก...postjung

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์