การนับวันทางโหราศาสตร์

การนับวันทางโหราศาสตร์


             การเปลี่ยนวันใหม่ ตามหลักปฏิทินจันทรคติไทย ยึดถือตามดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นหลัก ครั้งโบราณ ไม่มีนาฬิกา แต่จะถือเอาเวลาพระออกบิณฑบาตร คือเมื่อมองเห็นลายมือบนฝ่ามือชัดเจน(ไม่ใช้แสงไฟช่วย) ด้วยตาเปล่าให้นับเป็นวันใหม่ ต่อมาเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลใด การเปลี่ยนวันใหม่ให้เริ่มที่ 06.00 น. และคำว่า "กลางวัน" ให้เริ่มตั้งแต่ 06.00 น.-17.59 น. (ก่อน 6 โมงเย็น) ส่วนคำว่า "กลางคืน" ให้เริ่มตั้งแต่ 18.00 น.-05.59 น. (ก่อน 6 โมงเช้า)

ดังนั้นในรอบหนึ่งวันของโหราศาสตร์ (24 ชม.) จะแตกต่างจาก รอบนับวันตามสากลประเทศซึ่งจะเริ่ม 00.01 น.- 24.00น. โดยรอบวันของโหราศาสตร์จะเริ่มตั้งแต่ 06.00 น.-05.59 น.

จะมีวันยกเว้นคือวันพุธ ถ้าท่านที่เกิดช่วงเวลา 06.00 น.-17.59 น. ถือว่าเป็นวันพุธกลางวัน แต่ถ้าท่านเกิดวันพุธช่วงเวลา 18.00น.-05.59 น. ถือว่าเป็นวันพุธกลางคืนหรือ วัน

"ราหู" เกิดวันอาทิตย์ก็จะเริ่มนับเวลาเกิดจาก 06.00น. ของเช้าวันอาทิตย์ไปจนถึง 05.59 น.ของวันจันทร์ ก็ยังคงนับเป็นวันอาทิตย์อยู่ เมื่อถึง 06.00น. ของเช้าวันจันทร์เมื่อใดจึงถือเป็นวันจันทร์ เช่น ตามสูติบัตร บอกว่าท่านเกิดอาทิตย์เวลา 04.13น. แต่เมือจะคำนวณตามหลักโหราศาสตร์จะถือว่าเป็นวันเสาร์อยู่ เพราะยังไม่ถึง 06.00น. ซึ่งเป็นช่วงย่างเข้าวันอาทิตย์จริงๆ ,ตามสูติบัตร บอกว่าท่านเกิดพฤหัสบดีเวลา 05.13น. แต่เมือจะคำนวณตามหลักโหราศาสตร์จะถือว่าเป็นวันพุธอยู่ เพราะยังไม่ถึง 06.00น. และวันเวลาถือเป็นวันพุธกลางคืนหรือวัน "ราหู" ด้วย

สำหรับการคำนวณอีกแบบที่มีการตัดเวลาท้องถิ่นก็จะกระทบในลักษณะเดียวกัน เช่น ตามสูติบัตร บอกว่าเกิดอังคารเวลา 06.03น. จริงๆต้องเป็นวันอังคารแล้ว แต่การคำนวณตามหลักโหราศาสตร์ บางแบบ(ขึ้นอยู่กับตำราและผู้พยากรณ์) จะกำหนดให้มีการตัดเวลาท้องถิ่นออก คือลบด้วย 18 นาที เป็นช่วงเวลาจริงที่ต่างกันกระหว่าง จังหวัดกรุงเทพฯ และจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งใช้อ้างอิงเวลา เมื่อคำนวณแล้ว เวลาเกิดจริง คือ 05.45น.(06.03น. ลบออก 18 นาที ) ก็จะถือว่าเป็นวันจันทร์เพราะยังไม่ถึง 06.00น. ซึ่งเป็นเวลาเปลี่ยนวันใหม่

ปีนักษัตร(ชวด,ฉลู,ขาล,เถาะ) 

การเปลี่ยนปีนักษัตรใหม่มีใช้หลายแบบ เช่น ตามสูติบัตรปัจจุบัน การบันทึกสูติบัตรกำหนดนับปีนักษัตรใหม่ตามปฏิทินหลวง (แนวทางปฏิบัติตาม หนังสือเวียนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0310.1/ว4 ออกเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2539) ซึ่งปฏิทินหลวงให้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 (อ้าย) เป็นวันที่เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่โดยจะอยู่ช่วงเดือนพฤศจิกายน , ธันวาคม หรือเปลี่ยนปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ เปลี่ยนปีในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า(5) โดยจะอยู่ช่วงประมาณเดือนมีนาคม

นอกจากการเปลี่ยนปีนักษัตรในวันอื่นๆ เช่น เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 มกราคม (ตามปฎิทินของ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว) , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันที่ 1 เมษายน (ตามปฎิทินของ อ.เทพย์ สาริกบุตร) , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันเถลิงศก (ช่วงวันที่ 15-17 เมษายน ตามประกาศสงกรานต์) , เปลี่ยนปีนักษัตรใหม่ในวันสังขารล่องหรือวันสงกรานต์ตามแบบทางภาคเหนือ เปลี่ยนปีนักษัตรแบบจีน ในวันสารทลิบชุน ประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ก่อนวันตรุษจีน

ทั้งนี้จะ ใช้เปลี่ยนปีนักษัตรแบบใดขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ทำการใด หรือครูอาจารย์ท่านใช้ปฏิทินแบบใดเป็นหลัก เช่น จะพยากรณ์ทางโหราศาสตร์จะใช้ ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ ซึ่งเปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า(5) เป็นต้น


 ที่มา/อ้างอิง :  มายโหรา.คอม (เรียบเรียง)



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์