ใส่ใจปัญหาความสูงของลูก

ใส่ใจปัญหาความสูงของลูก



หากถามคนเป็นพ่อ…แม่…ว่า  “เมื่อลูกเกิดมา..อยากให้ลูกตัวสูงหรือตัวเตี้ย?”

คำตอบที่ได้ก็คือ  อยากให้ลูกตัวสูง  แต่ในความเป็นจริงความสูงมักเกิดขึ้นได้จากการเลี้ยงดูตั้งแต่ในวับเยาว์ของผู้เป็นพ่อแม่  เช่นเดียวกันกับความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่สืบทอดกันมาของทั้งพ่อและแม่จึงทำให้บางครั้งความคาดหวังที่ลูกจะสูงนั้นดูเป็นไปได้ยาก

เรื่องความสูงกับคนไทย  ดูจะเป็นปัญหามาค่อนข้างนมนาน  และการที่จะเพิ่มความสูงได้นั้นเหมือนไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  บางคนอาจถูกเรียกว่า  เตี้ย  มาตั้งแต่เด็ก  ด้วยความเล็ก  หรือบางคนอาจสูงเกินมาตรฐานโดยเฉลี่ยด้านความสูงแล้ว  แต่ก็ยังถูกมองว่าเตี้ย  ดังนั้น  มาดูกันว่า  อย่างไหน…ที่เรียกว่าเตี้ย  และเตี่ยถือว่ามีความผิดปกติหรือไม่?

คำที่แทนความสูงไม่มากหรือว่า “เตี้ย” สามารถแปลความได้ว่า  ความสูงของคนๆ  นั้นน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ  ซึ่งในเด็กจะวัดจากการเทียบกับเด็ก  ในวัยเดียวกันในกลุ่มประชากรชาตินั้นๆ ซึ่งสามารถดูได้จากกราฟเจริญเติบโตมาตรฐาน

การเจริญโตโดยปกติเริ่มตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์และหลังคลอด  ซึ่งมาดาต้องได้รับสารอาหารที่เหมาะสม  มีสุขภาพกายและใจดีส่วนปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเจริญก็คือ  พันธุกรรม  โภชนาการ  จิตใจ  อารมณ์  การออกกำลังกายและการทำงานร่วมกับฮอร์โมนหลายชนิด  เด็กจะมีการเจริญที่ดีได้ด้วยปัจจัยเหล่านี้  แล้วอัตราเพิ่มความสูงเฉลี่ยของเด็กปกติล่ะ….เป็นเท่าใด

ขวบปีแรก  เด็กจะสูงได้ 25 เซนติเมตร  เมื่อมีอายุ 1-2 ปีจะสูงได้อีก 10 เซนติเมตร  อายุ 2-3 ปี สูงได้ 8 เซนติเมตร  อายุ 3-4 ปีสูงได้ 7 เซนติเมตร  และอายุมากกว่า 4 ปี  จะสูงได้  5 เซนติเมตร รวมเมื่อเด็กอายุ 4 ปี  จะสูงได้55เซนติเมตร  เมื่อมีการดื่มนมและออกกำลังกาย  ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะสูงขึ้นได้อีก  กระทั่งเข้าสู่วันรุ่นจนถึงผู้ใหญ่  หากเป็นเด็กหญิงจะสูงได้อีกประมาณ  20 เซนติเมตร  ส่วนเด็กชายจะสูงได้อีกประมาณ 30 เซนติเมตร

ถามต่อไปว่า  แล้วเด็กที่มีอายุต่ำกว่าเฉลี่ยหรือเตี้ยนั้น  มีความผิดปกติของร่างกายหรือไม่ ?

คำตอบก็คือ  มีความเป็นไปได้  และเกิดได้จากหลายสาเหตุ  ดังนี้

กรรมพันธุ์ : เด็กที่มีพ่อหรือแม่ไม่สูง (พ่อสูงน้อยกว่า 160 เซนติเมตร  และแม่สูงน้อยกว่า 150 เวนติเมตร),  เด็กเข้าวัยรุ่นช้ากว่าเพื่อนๆ   ในวัยเดียวกันและมีประวัติเข้าสู่วันหนุ่มสาวช้าในครบครัว,  มีภาวะขาดฮอร์โมนบางชนิด  เช่นภาวะบกพร่องฮอร์โมนการเจริญเติบโต   ภาวะบกพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน,  เป็นโรคเรื้อรังชนิดต่างๆ  เช่นไตวาย  เรื้อรัง  โรคปอดเรื้อรัง  โรคการดูดซึมสารอาหารบกพร่อง,  ได้รับยาบางอย่างในขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน  เช่น สเตียรอยด์,  เป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มโรคความผิดปกติของโครโมโซม  เช่น  ดาวน์ซินโดรม  มีความผิดปกติของกระดูก  เป็นต้น

การรักษาสามารถทำได้  แต่ต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุของตัวเล็กแต่ละคน

เช่น  ปัจจัยจากพันธุกรรม  เด็กในกลุ่มนี้ไม่มีการรักษาเฉพาะ  จึงควรให้เด็กในกลุ่มนี้ไม่มีการรักษาเฉพาะ  ฉะนั้น  จึงควรให้เด็กรับประทานอาหารให้ครบถ้วน  ออกกำลังกายเป็นประจำ  เพื่อให้ได้ความสูงตามศักยภาพทางพันธุกรรม

ปัจจัยจากการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้ากลุ่มนี้จะมีปัญหาทางด้านจิตใจได้บ่อย  โตไม่ทันเพื่อน  ไม่มีการพัฒนาการทางเพศเหมือนเพื่อน  การรักษาทำได้โดยการให้ฮอร์โมนกระตุ้น

ปัจจัยจากการขาดฮอร์โมน  จะทำการตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมนและให้ฮอร์โมนทดแทนตามชนิดที่ขาด

การใช้ฮอร์โมนเจริญเติบโตหรือ  Growth  hormone มักใช้ในเด็กที่มีภาวการณ์ขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต  ซึ่งจะทำให้เด็กมีความสูงปกติเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่  ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการกลุ่มเทอร์เนอร์ซึ่งมีความผิดปกติของโครโมโซมเอ็กซ์และพบในผู้หญิง  หากไม่รักษาจะมีความสูงประมาณ  135-140 เซนติเมตร  เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่  แต่ถ้าเข้ารับการรักษาตั้งแต่เด็ก  ผู้ป่วยจะมีความสูงได้ถึง 150 เซนติเมตร

นอกจากนี้  ในเด็กที่มีประวัติการเจริญเติบโตช้าตั้งแต่ในครรภ์ซึ่งก็คือ  มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าปกติ  ประมาณ 2.5 กิโลกรัมเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่มักจะมีความสูงน้อยกว่าปกติประมาณ  10-15 เซนติเมตร  แต่ทำการรักษาด้วยฮอร์โมนจะสูงอีกราว 5-10 เซนติเมตร

ปัญหาเรื่องความสูง  อาจกลายเป็นปัญหาระดับชาติได้เพราะเมื่อทุกครั้งที่มีการจัดแข่งขันกีฬาระดับภูมิภาค  หรือระดับนานชาติ  นักกีฬาจากประเทศไทยมักจะมีความสูงน้อยกว่าชาติอื่นๆ  เมื่อรวมปัญหาความอ้วนตั้งแต่ในเด็กแล้ว  การกินไม่เลือก  ไม่ออกกำลังกาย  ได้รับสารอาหารไม่ครบแบบนี้  จะยิ่งส่งผลให้อัตราเฉลี่ยความสูงของคนไทยยิ่งลดลง

ดังนั้น  คนเป็นพ่อ…..แม่   จึงควรหันมาใส่ใจปัญหาความสูงของลูกกันให้มากขึ้น.



ขอบคุณ : krabork.com และ เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์