ความสำคัญของโลหิต

ความสำคัญของโลหิต


โลหิต เป็นของเหลวชนิดหนึ่ง เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยสูบฉีดจากหัวใจ โลหิตเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ให้อยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ การผ่าตัด หรือแม้แต่ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามค้นคว้ามาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการหาสารประกอบอื่นมาทดแทนโลหิตได้ ฉะนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องให้โลหิตจากมนุษย์บริจาคให้แก่กัน


หน้าที่ของโลหิต

โลหิตทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างคือ ขนส่งก๊าซออกซิเจนจากการหายใจเข้า และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายเมื่อหายใจออก มีหน้าที่ขนส่งสารอาหารโดยการดูดซึมสารอาหารจากกระเพาะอาหาร และลำไส้เข้าสู่กระแสโลหิตแล้วไหลเวียนผ่านไปยังตับ และส่งต่อให้เซลล์เนื้อเยื่อของอวัยวะนอกจากนี้โลหิตยังมีหน้าที่รักษาสม ดุลย์ของน้ำ และเกลือแร่ปรับระดับอุณหภูมิในร่างกายให้คงที่โดยการไหลเวียนของโลหิตไป ทั่วร่างกาย


ความหมายของการบริจาคโลหิต

การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนหนึ่งที่ร่างกายเหลือใช้เพื่อให้กับผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะร่างกายคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ซึ่งร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ ผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไป ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตใน ร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่บริจาค ร่างกายก็จะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัวเพราะหมดอายุออกมาในรูปของปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่อ อยู่แล้ว การบริจาคโลหิตใช้เวลาประมาณ 15 นาที ท่านจะได้รับการเจาะโลหิตและบรรจุในถุงพลาสติก (Blood Bag) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี ซี) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค


คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต ผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. อายุระหว่าง 17-60 ปีบริบูรณ์
  2. น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพทั่วไปสมบูรณ์ดี
  3. ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
  4. ไม่เป็นไข้มาเลเรีย ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา และไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ โรคเลือด ชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
  5. ไม่อยู่ในภาวะน้ำหนักลดมากในระยะสั้น
  6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ไม่มีประวัติยาเสพติด
  7. งดการบริจาคโลหิตภายหลังการผ่าตัด คลอดบุตรหรือแท้งบุตร 6 เดือน (ถ้ามีการรับโลหิตต้องงดบริจาคโลหิต 1 ปี)
  8. สตรีไม่อยู่ระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์
  9. นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ รับประทานอาหารก่อนมาบริจาคโลหิต
  10. ไม่อยู่ในระหว่างทานยาแก้อักเสบ หรือหลังจากงดยา 2 สัปดาห์แล้ว


เพิ่มเติม

  • ทุกท่านมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ในการรับบริจาคโลหิต ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
  • หากมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มิใช่คู่นอนของท่าน ภายในระยะ 22 วัน หรือ 3 สัปดาห์ กรุณางดการบริจาค เพราะถ้าได้รับเชื้อจะเป็นระยะฟักตัว ไม่สามารถ ตรวจพบได้


เกร็ดความรู้

ถ้านำเส้นโลหิตทั่วร่างกายมาต่อกัน จะมีความยาวถึง 96,000 กิโลเมตร หรือความยาวเท่ากับ2 เท่าครึ่งของระยะทางรอบโลก โดยเฉลี่ยแล้วปริมาณโลหิตในร่างกาย จะมี 5-6 ลิตรในผู้ชาย และ 4-5 ลิตรในผู้หญิง และโลหิตจะมีการไหลเวียน โดยผ่านมาที่หัวใจถึง 1,000 เที่ยวต่อวัน คนหนุ่มสาวจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่ากับ 35,000,000,000,000 เซลล์ (สามสิบห้าล้านล้านเซลล์) อยู่ภายในร่างกาย ในเวลา 120 วัน เซลล์เม็ดโลหิตแดง จำนวน 1.2 ล้านเซลล์จะถึงกำหนดหมดอายุขัย และถูกขับถ่ายออกมา ในขณะเดียวกันไขกระดูกซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ในกระดูกซี่โครง กะโหลกศีรษะ และกระดูกสันหลัง จะช่วยกันผลิตเซลล์ใหม่เท่ากับจำนวนที่ตายไปขึ้นมาแทนที่



ขอบคุณ : bknowledge.org

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์