ชี้น้ำแข็งหิมาลัยละลายช้าน้ำท่วมโลกยาก-แต่ภัยบัติจะค่อยๆ รุนแรงขึ้น!

ชี้น้ำแข็งหิมาลัยละลายช้าน้ำท่วมโลกยาก-แต่ภัยบัติจะค่อยๆ รุนแรงขึ้น!

รากฏการณ์แผ่นน้ำแข็งและธารน้ำแข็งขนาดยักษ์จากยอดเขาสูงแห่งเนปาล
 
ซึ่งเป็นต้นน้ำสำคัญของทวีปเอเชียที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงสันนิษฐานวันสิ้นสุดโลก บางตำราคาดว่าภายในปี 2578 ธารน้ำแข็งทั้งหมดจะกลายเป็นประวัติศาสตร์และน้ำจะท่วมโลก 

 ขณะที่อีกรายงานยืนยันว่า ภูฏานจะเกิดสึนามิและผู้คนบนทวีปเอเชียจะล้มตายเกือบหมดภูมิภาค 

 ล่าสุด แท็ด เฟฟเฟอร์ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยอาร์กติกและพื้นที่เทือกเขาแอลป์ มหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐ อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังกลัวอยู่นั้นไม่มีทางเกิดขึ้นทันที แต่จะค่อยๆ เกิดขึ้นและก่อตัวสร้างภัยพิบัติที่รุน แรงและบ่อยครั้งขึ้น

 "ข่าวดีคือธารน้ำแข็งหิมาลัยละลายช้ากว่าที่คิด 10 เท่าตัว แต่ข่าวร้ายคือน้ำแข็งเหล่านี้ยังละลายกลายเป็นน้ำปริมาณมากอยู่ทุกวันและยังคงเป็นปัญหาใหญ่จากภาวะโลกร้อน" เฟฟเฟอร์ ระบุ

 จากข้อมูลการละลายของธารน้ำแข็งหิมาลัยที่รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี 2546-2553
 
ผ่านระบบดาวเทียมจากหน่วยงานควบคุมแรงโน้มถ่วงและการทดสอบสภาพอากาศ หรือ "เกรซ" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างนาซ่ากับรัฐบาลเยอรมนีพบข้อมูลน่าสนใจของอัตราการละลายบนหิมาลัยชี้ว่า ธารน้ำแข็งมีอัตราการละลายอยู่ที่ 4,200 คิวบิกกิโลเมตร มากพอที่จะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 12 มิลลิเมตร ขณะที่น้ำแข็งบนยอดเขาสูงอื่นๆ ในเอเชีย มีอัตราการละลายเพียง 4 คิวบิกกิโลเมตรต่อปี

 นักวิทยาศาสตร์คาดด้วยว่า หากอัตรานี้ยังคงที่ระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะสูงถึง 0.5-1 เมตร ก่อนศตวรรษที่ 21 จะสิ้นสุดลง แต่นั่นขึ้นอยู่กับภาวะโลกร้อนที่มนุษย์ก่อขึ้น หากยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามใจชอบ ใช้พลังงานธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง หรือยังยึดติดกับสังคมอุตสาหกรรม ระดับน้ำทะเลและการละลายของธารน้ำแข็งจะยิ่งเร็วขึ้นไปอีก

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์