รำลึกความหลัง 100 ปีเรือไททานิค

บันไดห้องโถงจำลองบันไดห้องโถงจำลอง


ทั่วโลกร่วมรำลึก100ปีไททานิค

ทั่วโลกร่วมรำลึกเหตุเรือไททานิคล่ม ทั้งจัดคอนเสิร์ท จำลองมื้ออาหารสุดหรูมื้อสุดท้ายบนเรือ ก่อนชนก้อนน้ำแข็ง ในมหาสมุทรแอตแลนติก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ในวาระรำลึกครบรอบ 100 ปีเรือไททานิคจม ในวันที่ 14 เมษายน ได้มีการจัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์โลก ในสถานที่สำคัญๆที่มีความเกี่ยวข้องกับเรือลำนี้ เช่นการจัดฟรีคอนเสิร์ทที่อู่ฮาร์แลนด์ แอนด์ วูล์ฟ อู่ต่อเรือไทานิคในกรุงเบลฟาสท์ ประเทศไอร์แลนด์ ที่มีผู้คลั่งไคล้เรือไททานิคกว่า 1.6 หมื่นคนร่วมรำลึก

เรือไททานิค เป็น เรือสำราญที่มีขนาดใหญี่ที่สุดในโลกเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว โดยมีบริษัท ไวท์ สตาร์ จำกัด บริษัทเดินเรือข้ามมหาสมุทรเป็นเจ้าของ และมีเรือพี่เรือน้องอีกสองลำ ได้แก่ โอลิมปิค และ บริทานิค


หน้าต่างใต้ท้องเรือหน้าต่างใต้ท้องเรือ


ขณะเดียวกัน พิพิธภัณฑ์เรือไททานิค ในเมืองเซาท์แธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ที่เป็นท่าเรือแห่งแรกที่เรือไททานิค เข้า เทียบท่าเพื่อให้บริการเชิงพาณิชย์ ที่เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ก็มีผู้ชมเข้าชมเนืองแน่น เพื่อรับชมประวัติของเรือไททานิค

ส่วนร้านอาหารระดับหรู ในเมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ได้จัดทำเมนูอาหารเลียนแบบอาหารค่ำ 10 เมนูมื้อสุดท้ายที่เรือไททานิค ให้ บริการแก่ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง ก่อนที่เรือจะพุ่งชนก้อนน้ำแข็งในช่วงใกล้เทียงคืนของคืนวันที่ 14 เมษายน ซึ่งก่อนหน้านี้ ร้านอาหารในฮ่องกง ก็ได้จัดทำเมนูอาหารมื้อสุดท้าย เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เรือลำนี้ล่มในราคาชุดละประมาณ 60,000 บาท โดยได้จัดบรรยากาศและเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร แบบเดียวกันกับที่ใช้บนเรือ

ด้านผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง เจมส์ คาเมรอน ได้นำภาพยนตร์เรื่อง “ไททานิค” ที่ออกฉายเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว โดยมีลีโอนาโด ดี คาปริโอ และ เคท วินสเลต นำแสดง มาพัฒนาเป็นภาพยนตร์สามมิติ และออกฉายใหม่อีกครั้ง ในประเทศต่างๆทั่วโลก เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เรือไททานิคจม และนายคาเมรอน ยังเป็นผู้หนึ่ง ที่เคยโดยสารเรือดำน้ำไปสำรวจเรือไททานิค ที่นอนอยู่ใต้พื้นมหาสมุทรแอตแลนติกด้วย

พิพิธภัณฑ์ ในเมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด ได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ “มอลลี บราวน์” เศรษฐีนีชาวอเมริกัน ที่เป็นหนึ่งในผู้โดยสารเรือไททานิค และ รอดชีวิตจากเหตุการณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ เรื่องราวเกี่ยวกับมอลลี่ บราวน์ เป็นเรื่องที่คลุมเครือ จนเมื่อนายคาเมรอน หยิบมาสร้างภาพยนตร์เรื่องไททานิค ทำให้มีการสืบค้นเรื่องราวของเธอ และพบว่าเธอมีตัวตนจริงๆ และภายหลังจากรอดชีวิตจากเรือไททานิค เธอได้อุทิศตนเพื่อการรณรงค์ต่อสู่เพื่อสิทธิและแรงงานสตรี

เรือไททานิค เป็น เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่สุด ในโลกเมื่อ 100 ปีที่แล้ว มีความยาว 269 เมตร กว้าง 28 เมตร และ สูง 53 เมตร มีกำลังขับเคลื่อน 51,000 แรงม้า ใช้เงินลงทุน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เท่ากับ 213 ล้านดอลลาร์สหรัฐในมูลค่าปัจจุบัน) มีผู้โดยสารและลูกเรือ 2,224 คน เหตุการณ์เรือไททานิคล่ม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1,513 ราย

bangkokbiznews


ของใช้ส่วนตัวต่าง ๆ ของผู้โดยสารบนเรือ ของใช้ส่วนตัวต่าง ๆ ของผู้โดยสารบนเรือ


ห้องพักของผู้โดยสารระดับเฟริส์คลาสของไททานิคห้องพักของผู้โดยสารระดับเฟริส์คลาสของไททานิค


จดหมายของผู้โดยสารบนเรือจดหมายของผู้โดยสารบนเรือ


รูปเหตุการณ์จากหนังสือรูปเหตุการณ์จากหนังสือ


รำลึกความหลัง 100 ปีเรือไททานิค


รำลึกความหลัง 100 ปีเรือไททานิค


รำลึกความหลัง 100 ปีเรือไททานิค


รำลึกความหลัง 100 ปีเรือไททานิค


รำลึกความหลัง 100 ปีเรือไททานิค


รำลึกความหลัง 100 ปีเรือไททานิค


Molly Brown นางมอลลี บราวน์Molly Brown นางมอลลี บราวน์


หายนะ ภัยไททานิกครั้งนี้มีผู้รอดชีวิตทั้งสิ้นกว่า 700 คนและมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเดินเรือ

อัน ที่จริงแล้ว ผู้ที่รอดชีวิตจากเรือไททานิกมิได้มีแต่เพียงผู้หญิงและเด็กเท่านั้น แต่ยังมีชายด้วย จากการสรุปข้อเท็จจริงพบว่าชายที่รอดชีวิตมีทั้งผู้โดยสารชั้น 1, 2, 3 และลูกเรือ

บุคคลที่รอดชีวิตบางคนที่น่ากล่าวถึงคือ เจ. บรูซ อิสเมย์ กรรมการ ผู้จัดการไวต์สตาร์ ผู้คนส่วนใหญ่ต่างสงสัยกันว่าอิสเมย์รอดมาได้อย่างไรทั้งๆที่ผู้ชายส่วนใหญ่ เสียชีวิตหมดเนื่องจากสละที่นั่งให้แก่สตรีและเด็ก ชีวิตในช่วงหลังของอิสเมย์ต้องล้มละลายทางเกียรติยศเพราะสังคมตราหน้าว่าเขา รอดมาได้เพราะแย่งที่ของสตรีและเด็ก

บางคนก็พูดกันว่าอิสเมย์พราง ตัวเป็นหญิงเพื่อลงเรือ แต่อิสเมย์ชี้แจงว่าตนลงเรือชูชีพลำสุดท้าย เมื่อเห็นยังมีที่ว่างจึงได้ลงเรือไปและก็ไม่ได้พรางตัวเป็นสตรีแต่อย่างใด 

นางมอลลี บราวน์ (เป็นผู้ที่ให้แจ็กยืมชุดใหญ่ใส่เพื่อไปงานเลี้ยงอาหารในภาพยนตร์) ซึ่งเป็นพวกเศรษฐีใหม่ที่เดินทางไปกับเรือไททานิก เมื่ออยู่ในเรือ ชูชีพนางบราวน์ได้แสดงความเข้มแข็งและกล้าหาญ ในสภาพที่ทุกคนหมดเรี่ยวแรง เธอได้แสดงบทบาทผู้นำโดยให้สั่งคนในเรือช่วยกันพายเรือมุ่งไปยังเรือคาร์เพ เทีย และพยายามช่วยคนที่ตกน้ำ หลังจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ชีวิตของนางบราวน์ก็รุ่งเรืองขึ้น จากเดิมที่สังคมชั้นสูงในเมืองเดนเวอร์ไม่ยอมรับเธอ แต่จากวีกรรมอันกล้าหาญทำให้เธอก้าวไปไกลถึงขนาดได้รับเสนอการชื่อให้เข้า ชิงตำแหน่งวุฒิสมาชิกทีเดียว รวมทั้งยังมีผู้นำเรื่องราวของเธอไปสร้างเป็นภาพยนตร์ แต่อย่างไรก็ดี ในบั้นปลายของชีวิต เธอก็เปลี่ยนไปกลายเป็นคนที่ค่อนข้างเห็นแก่ตัว

เจ้าหน้าที่ของเรือไททานิกที่รอดชีวิตไม่มีใครเลยสักคนเดียวที่สามารถก้าวไปถึงตำแหน่งกัปตันเรือ

และ เมื่อต้นปี ค.ศ. 1997 นางเอดิท ไฮส์แมน ผู้ที่มีชีวิตรอดจากเรือไททานิกที่มีอายุมากที่สุดก็ได้เสียชีวิตลง เธออยู่ในเหตุการณ์เรือไททานิกเมื่ออายุ 15 ปีและเสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 100 ปี


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์