คำถามยอดนิยม หัวใจเต้นผิดจังหวะ

คำถามยอดนิยม หัวใจเต้นผิดจังหวะ


ในภาวะปกตินั้น เด็กจะมีอัตราการเต้นของหัวใจเท่ากับผู้ใหญ่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ในผู้ใหญ่ทั่วไปในภาวะปกติหัวใจจะเต้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยอัตราประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที 

1.ภาวะปกติ หัวใจเต้นด้วยอัตราเท่าไหร่อย่างไร

ในภาวะปกตินั้น เด็กจะมีอัตราการเต้นของหัวใจเท่ากับผู้ใหญ่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ในผู้ใหญ่ทั่วไปในภาวะปกติหัวใจจะเต้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยอัตราประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที ในภาวะตื่นเต้นตกใจ หรือขณะออกกำลังกายหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นในนักกีฬาหรอืคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าคนปกติ

ส่วนหญิงมีครรภ์ จะมีอัตราการเต้าหัวใจที่เร็วขึ้นกว่าปกติ        

2.ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึง ภาวะอย่างไร

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึงภาวะหัวใจเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือภาวะหัวใตเต้นสะดดุด หรอทหยุดเต้นเป็นช่วงๆ

3.อาการและอันตรายที่อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นมีความรุนแรงตั้งแต่น้แยจนมากขึ้นกับความบ่อยของการเกิดและชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรวมถึงสาเหตุของภาวะหัวใจเต้าผิดจังหวะ และโรคอื่นๆ ด้วย ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการก็ได้

อาการที่อาจพบได้จากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเต้าช้า เช่น วิงเวียนหน้ามืดหมดสติ อ่อนเพลีย เป็นต้น

อาการที่อาจพบได้จากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเต้นเร็ว เช่น ใจสั่น ใจสะดุด วิงเวียน เหนื่อย เป็นลมหมดสติ ในภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเต้นเร็ว จากหัวใจห้องว่างบางชนิด อาจจะทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้หรือในบางรายอาจมีกาการจากภาวะแทรกซ้อนเช้น อัมพฤกา อัมพาค จากภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว เป็นต้น

4.สาเหตุของภสวะหัวใขเต้นผิดจังหวะมีสาเหตุจาดอะไรได้บ้าง

1.สาเหตุเกิดจากภาวะอื่นที่ไม่ใช่หัวใจ เช่น ยาหรือสารเคมี เกลือแร่ในเลือดผิดปกติ ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำหรือเป็นพิษภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตบางชนิดผิดปกติที่ปอด สมอง ตับ เป็นต้น

2.สาเหตุเกิดจาจกความผิดปกติจากหัวใจ เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใตอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมเมื่ออายุมาก เป็นต้น

5.การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะทำอย่างไร

การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ก็จะเริ่มจาการที่แพทย์ทำการซักประวัติต่างๆรวมถึงอาการหรืออาการแสดงที่อาจเป็นผลจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น หน้ามืด วิงเวียน หรือลมหมดสติ อาการใจสั่น ใจเต้นสะดุดเป็นต้น จากนั้นแพทย์ก็จะทำการเพิ่มเติมตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น กราฟหัวใจ หรือ ECG การติดเครื่องบันทึกการเต้นหัวใจ 24-48 ขั่วโมง การตรวจเลือด (Blood tests) เอกซเรย์ปอด การตรวจอัลตราซาวนต์หัวใจ การเดินสายพานหรือ EST การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอกเลือดหัวใจ การฉีดสีหลิดเลือด เป็นต้น

6.การรักษาภาวัหัวใจเต้นผิดจังหวะ

1.หาสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอละทำการรักษาหรือแก้ไขสาเหตุ

2.ทำการรักษาเพื่อลดการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ลดอาการหรือป้องกันภาวะแทรกว้อน

6.1 การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเต้นช้า

1.การรักษาและแก้ไขสาเหตุและติดตามอาการ เช่น การหยุดยาหรือสารเคมี หรือการรักษาภาวะหรือความผิดปกติที่เป็นสาเหตุ

2.การรักษษด้วยยา เพื่อลดภาวะหรืออาการรวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

3.การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือ Pacemaker ใช้ในกรณีที่มีอาการมากหรือรุนแรง

6.2 การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเต้นเร็ว

1. การรักษาและแก้ไขปัญหาสาเหตุและติดตามอาการ เช่น การหยุดยาหรือสารเคมี หรือการรักษาความผิดปกติที่เป็นสาเหตุ

2.การักษาด้วยยา เพื่อลดภาวะหรืออาการรวมถึงภาวะแทรกซ้อน

3.การจี้ไฟฟ้าหัวใจ เป็นการรักษาที่อาจทำให้หายขาดได้ โดยจะเลือกทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบ่อย มีการมากหรือรุนแรง ในการที่ใช้ยาไม่ได้ผลหรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา

4.การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแพทย์จะเลือกใส่เครื่องกระตุ้นหะวใจ ในกรณีที่เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเร็วที่ร้ายแรงซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตกะทันหันได้ เข่น หัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะบางชนิด


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์