“อุปกิเลส ๑๖”

ภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ตภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ต

แสงส่องใจ คือแสงที่ส่องให้ใจสว่าง และไม่มีแสงใดที่จะส่องใจให้สว่างได้ นอกจากแสงคือธรรมของพระพุทธเจ้า ธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะส่องใจให้สว่างได้ เพราะธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะอบรมให้ยิ่งปัญญารู้วิธีคุ้มครองใจมิให้ความมืดมนเข้าปกคลุมใจ ให้ไม่ปรากฏความบริสุทธิ์ประภัสสร

จิตทุกดวงมีธรรมชาติบริสุทธิ์ประภัสสร คือจิตทุกดวงมีความบริสุทธิ์เกิดขึ้นเองตามวิสัยของโลก แต่เศร้าหมองไปเพราะอุปกิเลสจรมาบัง ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกั้นอุปกิเลสให้พ้นจากจิตได้ ยังความบริสุทธิ์ประภัสสรออันเป็นธรรมชาติของจิตให้ปรากฏได้ ธรรมของพระพุทธเจ้าจึงวิเศษแท้ ไม่มีอื่นเสมอ

อุปกิเลสคือโทษเครื่องเศร้าหมอง ๑๖ อย่างนั้น เกิดจากความคิดปรุงแต่ง หยุดความคิดปรุงแต่งได้เพียงไร ย่อมยังความเศร้าหมองมิให้บดบังความประภัสสรแห่งจิตได้เพียงนั้น

(๑) อภิชฌาวิสมโลภะ
อุปกิเลสข้อ ๑ ท่านแปลว่า “ความละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง”

(๒) โทสะ อุปกิเลสข้อ ๒ ท่านแปลว่า “ความร้ายกาจ”

(๓) โกธะ อุปกิเลสข้อ ๓ ท่านแปลว่า “โกรธ”

(๔) อุปนาหะ อุปกิเลสข้อ ๔ ท่านแปลว่า “ผูกโกรธไว้”

(๕) มักขะ อุปกิเลสข้อ ๕ ท่านแปลว่า “ลบหลู่คุณท่าน”

(๖) ปลาสะ อุปกิเลสข้อ ๖ ท่านแปลว่า “ตีเสมอ คือยกตัวเทียมท่าน”

(๗) อิสสา อุปกิเลสข้อ ๗ ท่านแปลว่า “ริษยา”

(๘) มัจฉริยะ อุปกิเลสข้อ ๘ ท่านแปลว่า “ตระหนี่”

(๙) มายา อุปกิเลสข้อ ๙ ท่านแปลว่า “มารยา เจ้าเล่ห์”

(๑๐) สาเถยยะ อุปกิเลสข้อ ๑๐ ท่านแปลว่า “โอ้อวด”

(๑๑) ถัมภะ อุปกิเลสข้อ ๑๑ ท่านแปลว่า “หัวดื้อ”

(๑๒) สารัมภะ อุปกิเลสข้อ ๑๒ ท่านแปลว่า “แข่งดี”

(๑๓) มานะ อุปกิเลสข้อ ๑๓ ท่านแปลว่า “ถือตัว”

(๑๔) อติมานะ อุปกิเลสข้อ ๑๔ ท่านแปลว่า “ดูหมิ่นท่าน”

(๑๕) มทะ อุปกิเลสข้อ ๑๕ ท่านแปลว่า “มัวเมา”

(๑๖) ปมาทะ อุปกิเลสข้อ ๑๖ ท่านแปลว่า “เลินเล่อ”

ขอบคุณ dhammajak.net


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์