ทำไมคนเราถึงไม่สามารถจั๊กจี้ตัวเองได้

ทำไมคนเราถึงไม่สามารถจั๊กจี้ตัวเองได้


ทุก ๆ หนึ่งตารางเซนติเมตรบนผิวหนังของเรา มีจุดที่ไวต่อความเจ็บปวด 100-200 จุด, จุดที่ไวต่อความสัมผัส 25 จุด, จุดที่ไวต่อความเย็น 10 จุด, จุดที่ไวต่อความร้อน 1 จุด แต่ไม่มีจุดที่ไวต่อความคัน อย่างไรก็ตาม เรามักมีความรู้สึกคันบ่อย ๆ เป็นความจริงทีเดียวเวลาเรารู้สึกคัน จะทำให้นั่งไม่ติด นอนไม่หลับโดยจะต้องเอามือหรืออะไรมาเกาให้หายคันจึงจะสบาย มีบางคนเห็นว่า การที่รู้สึกคันหรือจั๊กจี้นั้น เพราะจุดที่ไวต่อความเจ็บปวดได้รับความเร้ากระตุ้น เลยทำให้เกิดความรู้สึกเช่นนี้ขึ้น และก็มีบางคนเห็นว่าถึงแม้ยังไม่ได้พบจุดคันบนผิวหนังก็ตาม แต่อวัยวะรับสัมผัสความคันหรือความจั๊กจี้ต้องมีอยู่แน่ ๆ เช่นเวลาที่ถูกใครเขาจี้ที่ตัว

ที่บางแห่งไม่มีความรู้สึกเช่นนี้ เป็นไปได้หรือไม่ว่าเมื่ออวัยวะรับสัมผัสความคันหรือความจั๊กจี้ถูกเร้ากระตุ้นจากประสาทซิมพาเธติคถ่ายทอดไปยังสมอง และสร้าง "ต่อมแห่งความคึกคัก" ซึ่งทำให้เรารู้สึกคันหรือจั๊กจี้


แล้วทีนี้เวลาเราจี้ตัวเอง ทำไมจึงไม่เกิดความรู้สึกจั๊กจี้นะ?

ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะความคึกคักในสมองได้ถูกรบกวนนั่นเอง ในขณะที่เราจี้ตัวเองนั้น เราได้เตรียมเนื้อเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าแล้ว อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อการเร้ากระตุ้นความรู้สึกจั๊กจี้ แม้ว่าจุดจั๊กจี้จะได้รับการเร้ากระตุ้น แต่ความคึกคักได้ก่อเป็นรูปร่างขึ้นในสมองอยู่แล้ว ดังนั้นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจึงย่อมแตกต่างออกไป เลยทำให้ไม่รู้สึกจั๊กจี้


นักวิจัยในมหาวิทยาลัยลอนดอน (Daniel Wolpert's group at University College, London) ใช้เครื่อง fMRI วัด ระดับการทำงานของส่วนต่างๆ ในสมองของอาสาสมัคร ในขณะที่ถูกคนอื่นจั๊กจี้ เปรียบเทียบกับ ตอนที่อาสาสมัครจั๊กจี้ตัวเอง
ผลคือ สมองของอาสาสมัครที่ถูกจั๊กจี้ แสดงการทำงานที่สูงมากในบริเวณที่เป็นส่วนรับการสัมผัส (somatosensory cortex) แต่ไม่ได้แสดงกิจกรรมอะไรที่มากไปกว่าปกติในส่วนของ ซีรีเบลลัม (Cerebellum) แต่กลับพบว่า ซีรีเบลลัมแสดงระดับการทำงานที่สูงมาก ตอนที่อาสาสมัครจั๊กจี้ตัวเอง และ ระดับการทำงานของส่วนรับการสัมผัสก็ต่ำกว่า ตอนที่ถูกคนอื่นจั๊กจี้ด้วย จึงตีความว่า ตอนที่เราจั๊กจี้ตัวเอง คำสั่งที่ส่งไปบังคับมือ ก็ถูกส่งไปกระตุ้น ซีรีเบลลัม ด้วย เพื่อให้ ซีรีเบลลัม ทำหน้าที่คาดหมายผลของการกระทำไว้ และ ส่งสัญญาณไปลดระดับการกระตุ้นส่วนรับการสัมผัส ทำให้ระดับการทำงานที่ส่วนรับการสัมผัสต่ำกว่า ระดับ threshold ที่จะทำให้รู้สึกจั๊กจี้

 จั๊กจี้ (Tickle) ยังคงเป็นปริศนา ทั้งในแง่ของพฤติกรรมศาสตร์และสรีรวิทยา (physiology) จั๊กจี้เป็นการสัมผัสชนิดหนึ่งที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อทำให้ผู้ที่โดนสัมผัสนั้นบิดตัวหรือหัวเราะโดยอัตโนมัติ

คำว่า "Tickle" มาจากภาษา Middle English ว่า tikelen แปลว่าสัมผัสอย่างเบาๆ "to touch lightly."
มีสำนวนว่า The idiom tickled pink แปลว่า ถูกทำให้พึงพอใจ (to be please)

ในปี 1897 มีนักจิตวิทยาชื่อ G. Stanley Hall และ Arthur Allin ได้ตั้งคำขึ้นมาใหม่สองคำว่า Knismesis และ gargalesis เพื่ออธิบายว่าการจั๊กจี้มีสองแบบ

Knismesis คำนี้หมายถึง การจั๊กจี้แบบแผ่วเบาแบบขนนก การจั๊กจี้ประเภทนี้มักไม่ทำให้เกิดการหัวเราะแต่จะทำให้เกิดความรู้สึกคัน การทำให้เกิด Knismesis โดยการกระตุ้นระดับต่ำที่บริเวณที่ไว (sensitive) ของร่างกาย การกระตุ้นนี้ทำได้โดยการสัมผัสเบาๆหรือการใช้กระแสไฟฟ้าเบาๆ

Gargalesis คำนี้หมายถึง การจั๊กจี้ด้วยความแรงกว่า ทำให้เกิดการหัวเราะ และต้องทำซ้ำ ๆ ที่บริเวณที่ sensitive ต่อการจี้


การจี้แบบหนัก ๆ (heavy tickle) นี้เกี่ยวข้องกับการเล่นและการหัวเราะ มีผลทั้งในมนุษย์ ลิง และอาจจะมีในสัตว์สปีชีส์อื่นด้วย Gargalesis นี้ทำให้เกิดได้ทั้งความรู้สึกพึงใจหรือตื่นเต้น แต่บางครั้งก็อาจทำให้เกิดความไม่พึงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจี้แบบไม่หยุดหย่อน การจี้แบบนี้ตัวอย่างคือ การใช้นิ้วจิ้มไปที่เอวหรือซี่โครงคนอื่น

ในขณะที่ Knismesis มักเกิดจากแมลงหรือสัตว์ไต่ เช่น แมงมุม ยุง และ knismesis นี้เกิดได้ในสัตว์หลายชนิด แต่ Gargalesis กลับจำเพาะเฉพาะคนและลิง (แต่ก็มีการทดลองพบในหนูได้)

ในปี 1939 , Yngve Zotterman แห่ง Karolinska Institute สตอกโฮม ได้ศึกษาการจั๊กจี้แบบ Knismesis ในแมวโดยวัด Action potential ที่เกิดขึ้นในเส้นประสาทของแมว เมื่อเขาใช้สำลีเขี่ยเบาๆบนผิวแมว เขาพบว่าการกระตุ้นนี้ทำให้เกิดการจั๊กจี้ที่ส่งกระแสประสาทโดยเส้นที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวด pain fiber (group C unmyelinated fibers) เหมือนการคัน

การศึกษาเพิ่มเติมบอกว่าในคนที่ได้รับการผ่าตัดนำเส้นประสาท pain nerves ออกเพื่อลดความเจ็บปวดที่รุนแรง พบว่าในคนไข้จะลดการตอบสนองต่อการจั๊กจี้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ในคนที่มีการบาดเจ็บที่ไขสันหลังแล้วสูญเสียความรู้สึกเจ็บปวดไปนั้น ก็ยังมีการตอบสนองต่อการจั๊กจี้ก็ยังเกิดได้

รูปการส่งประสาทในระบบประสาทในการจั๊กจี้ จากเส้นประสาทที่เกี่ยวกับความเจ็บปวด (pain) แสดงด้วยสีแดง
ละเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัส (touch)แสดงด้วยสีน้ำเงิน


ซึ่งจากการทดลองพบว่าการจั๊กจี้เบา ๆ แบบรำคาญนั้นส่งโดยเส้น pain เป็นอย่างน้อย แต่คนที่บาดเจ็บที่ไขสันหลังที่เสียความรู้สึกเจ็บยังสามารถรู้สึกจั๊กจี้ได้ ดังนั้นจึงเป็นไปได้มากว่าการส่งประสาทจั๊กจี้เกิดที่เส้นประสาททั้งคู่ ดังนั้นจึงน่าคิดว่าบริเวณที่ไวต่อการจั๊กจี้นั้นคงมีปลายประสาทรับ (touch) มาก แต่กลับไม่พบว่าในบริเวณที่ไวต่อการจั๊กจี้จะมีตัวรับสัมผัส (touch) มากเป็นพิเศษแต่อย่างใด

ในขณะที่ฝ่ามือเป็นส่วนที่ไวที่สุดต่อการสัมผัส แต่ที่ที่ไวที่สุดในการจั๊กจี้คือฝ่าเท้า และบริเวณที่ไวต่อการจั๊กจี้อื่นๆคือ รักแร้ ด้านข้างลำตัว คอ เข่า บริเวณกระบังลม สะดือและซี่โครง ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าที่ที่ไวต่อการจั๊กจี้นี้เป็นเพราะอะไรกันแน่ แต่บริเวณที่ไวเหล่านี้ไม่มีความแตกต่างกันในผู้หญิงกับผู้ชาย ถึงหลักฐานจะบ่งบอกว่าการจั๊กจี้คือการกระตุ้นทางระบบประสาท แต่คนบ้าจี้บางคนเริ่มหัวเราะตั้งแต่ยังไม่โดนตัวด้วยซ้ำ

แล้วคำถามต่อไปคือ จั๊กจี้สำคัญอย่างไรกับสิ่งมีชีวิต?

ความรู้สึกจั๊กจี้และการหัวเราะเป็นสากล (universal) ในบรรดามนุษย์และลิงชิมแพนซี น่าจะมีปัจจัยทางวิวัฒนาการมาเกี่ยวเนื่องด้วย นักวิจัยต่างก็เห็นตรงกันว่า การเล่นจั๊กจี้มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับทารก แม่จั๊กจี้ลูกน้อย ลูกก็หัวเราะและยิ้มร่าเริง แม่ก็หัวเราะตอบ ทั้งคู่ใช้ประโยชน์จากวิวัฒนาการนี้



นักจิตวิทยาเด็กหลายท่านบอกว่าการจั๊กจี้เด็กน้อยนั้นเป็นการทำให้เกิดความผูกพัน (bonding) ระหว่างพ่อแม่ลูก ความสัมพันธ์โดยการจั๊กจี้กันนี้จะดำเนินต่อจนถึงวัยเด็ก และจนถึงวัยรุ่นช่วงต้น แต่การจั๊กจี้ในระหว่างเพื่อนนั้น นักจิตวิทยาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งการเล่นขั้นสูงสุด (highest grade of social play) ทำให้เกิดความรักผูกพัน และปฏิกริยาทางพุทธิปัญญาความคิด “cognitive interaction” จะได้ผลสุดต่อเมื่อทั้งคู่ต้องมีความสบายใจที่จะเล่น

ในวัยเจริญพันธุ์ การจั๊กจี้อาจเป็นการแสดงออกทางเพศอย่างหนึ่ง
จั๊กจี้อาจเป็นรูปแบบหนึ่งของการคุกคามทางเพศ (sexual harassment) ในขณะเดียวกัน คนที่ถูกจั๊กจี้อาจคิดว่าตัวเองถูกคุกคามทางเพศโดยที่จริง ๆแล้วผู้จี้ไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้นก็ได้

ความสัมพันธ์ทางสังคมของการจั๊กจี้อีกอย่างคือ ระหว่างพี่น้องที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน มีงานวิจัยหลายอย่างที่บ่งบอกว่าพี่มักจะใช้การจั๊กจี้เพื่อข่มเหงน้อง เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่จะแสดงความรุนแรงโดยทำให้ไม่น่าเกลียด เพื่อจะข่มขวัญหรือลงโทษน้อง เรียกอีกอย่างว่า “tickle torture” คือจั๊กจี้โหดนั่นเอง แรงจูงใจเบื้องหลังการจั๊กจี้โหดนี้แสดงถึงความเป็นผู้มีฐานะเหนือกว่า ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง

Tickle toreture
การทรมานด้วยการจั๊กจี้ เพื่อให้แสดงการข่มเหง หรือเป็นการทำร้าย ผู้ที่ถูกจั๊กจี้จะรู้สึกทรมานเพราะความรู้สึกจั๊กจี้นี้เป็นรีเฟล็กซ์ ไม่ได้เกิดจากความพึงพอใจทางสังคม การทรมานนักโทษด้วยการจั๊กจี้นี้มีมาแต่สมัยโบราณในเมืองจีน ในช่วงราชวงศ์ฮั่น จะเก็บไว้ทรมานนักโทษชั่นสูง เพราะจะไม่ทิ้งรอยไว้เบื้องหลังให้เป็นหลักฐาน และสามารถหายทรมานได้อย่างรวดเร็ว อีกตัวอย่างหนึ่งของการ tickle torture ใช้ในโรมัน จะให้เอาเท้าจุ่มในเกลือ แล้วปล่อยแพะมาเลียเกลือที่ฝ่าเท้า นานๆไปอาจทำให้เจ็บปวดเลย และในสมัยอังกฤษโบราณก็มีการจั๊กจี้ฝ่าเท้าเพื่อทรมานเหมือนกัน


Self-tickle
Knismesis อาจเป็นหลักฐานแสดงถึงการตอบสนองเพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอม อาจเป็นเพราะจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นการจั๊กจี้ชนิดนี้ถึงเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องตกใจก็ได้ และสามารถทำให้ตัวเองจั๊กจี้แบบนี้ได้ด้วยการสัมผัสเบาๆ แต่ Gargalesis นั้นตรงข้าม เมื่อตัวเราเองจิ้มไปตรงที่ไวต่อการจั๊กจี้กลับไม่สามารถรู้สึกจั๊กจี้ได้ ดังนั้นการจั๊กจี้แบบนี้ต้องใช้ความประหลาดใจร่วมด้วย (surprise) ด้วยเหตุนี้คนเราจึงไม่สามารถจั๊กจี้ตนเองได้



ในการศึกษาหนึ่งเรื่องการจั๊กจี้ตนเองโดย Blakemore and colleagues มีการใช้เครื่องถ่ายภาพแม่เหล็กไฟฟ้า MRI โดยให้อาสาสมัครใช้ joystick เพื่อบังคับให้หุ่นยนต์จั๊กจี้มาจั๊กจี้ตนเอง ก็ไม่สามารถทำให้ตัวเองหัวเราะได้ จากภาพ MRI แสดงว่าเมื่อคนนั้นพยายามจั๊กจี้ตนเอง สมองส่วนซีรีเบลลัม (cerebellum) จะส่งข้อมูลให้สมองส่วน somatosensory cortex ซึ่งเป็นสมองส่วนที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัส ว่ากำลังจะจั๊กจี้ที่ไหนทำให้คาดเดาได้ก่อน ทำให้ความรู้สึกจั๊กจี้ลดลงหรือหายไปนั่นเอง


somatosensory cortex








ขอขอบคุณ พันทิพย์ดอทคอม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์