ภัยเงียบของคนทำงาน

ผู้หญิงที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาทั้งในบ้านและนอกบ้านมักจะมีความเสี่ยงกับภาวะ "Burn-Out Syndrome" ได้ง่าย

ภัยเงียบของ"คนทำงาน"ภัยเงียบของ"คนทำงาน"


                 

            Burn-Out หมายถึงอะไร

               
              หมายถึงการทำงานหนักเกินไป และไม่ได้สัดส่วนกับการพักผ่อนจนเกิดอาการ เช่น สมองไม่แล่น ความจำไม่ดี อ่อนเปลี้ยเพลียแรง นอนไม่หลับเหมือนเครื่องยนต์ที่วิ่งไม่หยุด จนทำให้เครื่องร้อนจนหม้อน้ำเดือด คือถ้าเป็นคนก็หมายถึงหมดไฟ ทำงานจนหมดพลัง ไม่มีประจุเก็บไว้ใช้งานอีก นัก จิตวิทยาชาวอเมริกัน เฮอร์เบิร์ตเจ ฟรอยเดนเบอร์เกอร์ ได้นำชื่อ Burn-Out มาใช้ในการรักษาทางจิตเวชเมื่อปี 1974 ซึ่งก็คือโรคทางจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งมักเกิดกับคนที่ตั้งความหวังไว้สูงเกี่ยวกับตัวเองและต้องการความเพอร์เฟ็กตื จนก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางร่างกายและจิตใจ

             เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเริ่มเป็น Burn-Out แล้วนะ

  
               เริ่มรู้สึกว่าการทำงานไม่เหมือนเดิม สมาธิในการทำงานและความตั้งใจในการทำงานต่างๆ ลดลง มีอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่นความจำไม่ดี นอนไม่ค่อยหลับ ซึ่งต้องมีสาเหตุมาจากการทำงานที่โอเว่อร์เกินไป ไม่ได้หมายถึงสาเหตุอื่นๆ


             
ผู้หญิงไทยก็น่าจะเสี่ยงกับการเป็น Burn-Out Syndrome เพราะต้องทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน วันเสาร์-อาทิตย์ก็ไม่ได้หยุด


               จริงๆแล้วคนไทยมักมีอาการ Burn-Out โดยไม่รู้ตัว เพราะคนไข้ที่มาพบจิตแพทย์ส่วนใหญ่มักเลยเถิดไปถึงโรคซึมเศร้า แล้วนอกจากนี้ สังคมและวัฒนธรรมไทยมีส่วนทำให้ผู้หญิงต้องยอมรับ ต้องเงียบๆ หัวอ่อน ไม่มีปากเสียง โอกาสจะเข้าข่ายเป็น Burn-Out ก็จะสูง การที่ผู้หญิงต้องแบกภาระมากมาย ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงเป็นโรคจิต โรคเครียด โรคประสาทเยอะกว่าผู้ชาย

  
               ทางจิตเวชผู้หญิงจึงมีมากกว่าผู้ชายสองเท่า บางโรคสามสี่เท่า ฉะนั้น คนไทยในสังคมเมืองจึงมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงมาก และมักเป็นกับคนวัยทำงานและกับวัฒนธรรมการทำงาน อย่างเช่นในประเทศญี่ปุ่นทำงานกันตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 2-3 ทุ่ม ด้วยเหตุนี้ ชายญี่ปุ่นจึงเข้าคลับบาร์หรือเล่นเกมหลังเลิกงาน ไม่ตรงกลับบ้านเพราะเครียดกับงานมาก


                
เราควรรักษาอาการ Burn-Out ของตัวเองอย่างไร


                    ให้ความสมดุลกับจิตใจ เช่น ตรึกตรองว่าฉันได้พลังมาจากไหนแล้วฉันจะใช้พลังเพื่ออะไรบ้าง คุณภาพชีวิตของฉันเป็นอย่างไร ระหว่าง 0 (แย่มาก) และ10 (ดีมาก) ปัจจัยใดที่ก่อให้เกิดความเครียดแล้ว ฉันจะหลีกเลี่ยงความเครียดได้อย่างไร ฉันใช้จ่ายเงินอย่างไร จุดมุ่งหมายก็คือการมีความสุขในชีวิตมากขึ้น เราควรใส่ใจกับร่างกายและจิตใจของตัวเอง

ข้อแนะนำก็คือ การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เช่น จ๊อกกิ้งหรือขี่จักรยาน หรืออกกำลังกายกับหมู่คน เช่น เล่นวอลเลย์บอลและเทคนิคการผ่อนคลายอื่นๆ หรือการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ


                  
แล้วจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากจิตแพทย์หรือไม่


                      จริงๆแล้วไม่จำเป็นก็ได้ แต่การได้พูดคุยกับจิตแพทย์ก็จะช่วยทำให้มองเห็นการแก้ปัญหาของตัวองได้ การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างเริ่มที่สมอง สิ่งสำคัญก็คืออย่าให้ขาดอารมณ์ขัน พึงระลึกไว้เสมอว่า ไม่มีความหวังกับอดีต แต่มีความหวังกับอนาคตเท่านั้น


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์