ห่วงวัยรุ่นไทยดื่มสุรา 17 ล้านคน แต่เต็มใจบำบัดแค่1,500 คน

ห่วงวัยรุ่นไทยดื่มสุรา 17 ล้านคน แต่เต็มใจบำบัดแค่1,500 คน


ห่วงวัยรุ่นไทยดื่มสุรา 17 ล้านคน แต่เต็มใจบำบัดแค่1,500 คน

จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2554 พบประชากรไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 53.9 ล้านคน มีพฤติกรรมการดื่มสุราถึง 17 ล้านคน ครอบครัวของผู้ดื่มสุราส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการเงิน ความสัมพันธ์และความรุนแรงในครอบครัว เกินกว่าร้อยละ70.0
 
แพทย์หญิง วิลาวัลย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า สุราเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและความเจ็บป่วยทุพพลภาพที่สำคัญการดื่มสุรายังเกี่ยวข้องกับโรคต่างๆเช่น มะเร็ง และกล่องเสียง มะเร็งตับ ตับแข็งหรือตับอ่อนอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง กระเพาะอาหารอักเสบ เบาหวาน ความผิดปกติของเส้นเลือดในสมองบางชนิด

 ถ้าเป็นสตรีมีครรภ์จะเป็นอันตรายต่อทารกบางคนอาจมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย เป็นต้น อีกทั้ง สุรายังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและสร้างความรุนแรงต่อครอบครัวและสังคม 

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจการดื่มสุราของคนไทยพบว่ามีจำนวนถึง 17 ล้านคนแบ่งเป็นผู้ดื่มนานๆครั้งจำนวน 9.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 55.8 และดื่มสุราสม่ำเสมอ จำนวน 7.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ44.2 โดยเบียร์เป็นประเภทสุราที่คนนิยมดื่มมากที่สุด รองลงมาได้แก่สุราขาวกลั่นชุมชน/สุราสีและสุราแดงตามลำดับ ผู้ดื่มส่วนใหญ่อยู่ในวัย15-59 ปี มีจำนวนถึง 5 ล้านคน ที่มีความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่มสุรา และจำนวน3ล้านคน มีปัญหาการติดสุรา ผู้ชายมีอัตราการดื่มมากกว่าผู้หญิงถึงร้อยละ 53.4
 
นายแพทย์ วิโรจน์ วีรชัย ผู้อำนวยการสถาบันธัญญารักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ติดสุราที่เข้ารับการบำบัดที่สถาบันธัญญารักษ์โดยสมัครใจ ช่วงปี 2550 จนถึงปัจจุบัน มีประมาณ 1,500 คนต่อปี ถือว่าเป็นอันตรายที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ดื่มทั้งหมดประมาณ 17 ล้านคน ผู้ที่ดื่มสุราอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายปีทำสมองเกิดการเสพติดและดื้อต่อสุรา ทำให้ต้องการดื่มในปริมาณมากขึ้นเพื่อให้ได้ความสุขเท่าเดิม หากหยุดดื่มมักเกิดอาการถอนพิษสุราหรือภาวะถอนสุราแบบเพ้อคลั่ง รุงแรงถึงขั้นชัก สับสน มีอาการทางจิตแทรกซ้อนในบางครั้ง อาจถึงขั้นเสียชีวิต ผู้ป่วยแบบติดมักมีความรู้สึกอยากดื่มสุราอยู่ตลอดเวลา
         
หากดื่มสุราแม้ปริมาณเล็กน้อยสมองจะถูกกระตุ้นทำให้เกิดความรู้สึกอยากดื่มจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้แม้ว่าผู้ติดสุราต้องการอยากเลิกสุราและพยายามเลิกด้วยตนเองกรณีผู้ที่มีอาการขาดสุราเพียงเล็กน้อย และสามารถทนอาการที่เกิดขึ้นอาจสามารถเลิกสุราได้ 

แต่บางคนมีอาการถอนพิษสุราชนิดรุนแรงเช่นอาเจียน มือสั่น ชัก สับสนควบคุมตนเองไม่ได้ หูแว่ว หวาดระแวง อาการเหล่านี้อาจทำให้ผู้ติดสุราเสียชีวิตได้ ดังนั้น การบำบัดรักษาเพื่อเลิกสุราให้ได้ผลดีต้องดำเนินการด้วยทีมสหวิชาชีพประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักอาชีวบำบัด เภสัชกร นักโภชนาการ นักสังเคราะห์ จึงสามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วยประสบเความสำร็จในการเลิกสุรา โดยเฉพาะในรายที่ติดสุราเป็นเวลานานไม่ควรเลิกด้วยตนเอง ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับการบำบัดที่สถานพยาบาลต่างๆหรือที่สถาบันธัญญารักษ์ และโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา และปัตตานี

ห่วงวัยรุ่นไทยดื่มสุรา 17 ล้านคน แต่เต็มใจบำบัดแค่1,500 คน


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์