เราอาจจะได้ใช้เทปคาสเซ็ทอีกครั้ง

เราอาจจะได้ใช้เทปคาสเซ็ทอีกครั้ง


ปัจจุบันเราใช้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ทำให้เกิดข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์จากผู้ใช้เฟซบุ้คกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก, การแชร์ภาพถ่ายและอัพโหลดวิดีโอแบบ รวมถึงการอัพโหลดข้อมูลเพื่อใช้ในการแพทย์และการศึกษา นั่นหมายความว่าเราต้องการพื้นที่และสื่อสำหรับเก็บข้อมูลเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

นักวิจัยจาก Fuji Film จากญี่ปุ่นและ IBM จากซูริคได้ร่วมกันพัฒนาสื่อสำหรับเก็บข้อมูลที่มีความจุมากถึง 35 terabytes บนตลับเทปแม่เหล็กท่ี่เคลือบด้วยอนุภาคแบเรี่ยมเฟอร์ไรท์ที่มีขนาด 10 x 10 x 2 เซนติเมตร ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถูกใช้ครั้งแรกกับ Square Kilometre Array (SKA) กล้องโทรทัศน์วิทยุที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ประกอบด้วยเสาอากาศรับสัญญาณนับพันๆต้น เมื่อเริ่มเปิดใช้งานในปี 2024 คาดว่า SKA จะใช้พื้นที่มากกว่าวันละ 1 petabyte (1 ล้านกิ๊กกาไบตต์) ในการเก็บข้อมูล ในปัจจุบันแม้ว่าฮาร์ดไดร์ฟจะสามารถเก็บข้อมูลขนาด 3 terabytes ได้เป็นสิบปี แต่นั่นหมายความว่าเราต้องใช้ฮาร์ดไดร์ฟไม่ต่ำว่าปีละ 120,000 ตัว

ทางทีมวิจัยก็เลยทำการทดลองพัฒนาเทปคาสเซ็ทที่มีความจุสูงและอายุการใช้งานยาวนานนับสิบๆปี พวกเค้าพยายามจะพัฒนาเทปที่มีขนาดเดียวกับต้นแบบแต่ความจุสูงขึ้นเป็น 100 terabytes ให้สำเร็จก่อนที่ SKA จะเปิดใช้งาน ด้วยการลดขนาดความกว้างของแทรคที่บันทึกและพัฒนาระบบที่มีความแม่นยำยิ่งขึ้นในการอ่านเขียนและค้นหาตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการ

นอกจากนี้การใช้เทปคาสเซ็ตยังช่วยลดการใช้ไฟฟ้าลงมากกว่า 200 เท่าเมื่อเทียบกับ Data centres ที่ใช้ฮาร์ดไดร์ฟแบบจานในขนาดที่เท่ากัน ซึ่งเทปคาสเซ็ตจะใช้ไฟตอนอ่านหรือบันทึกเท่านั้น แต่ข้อเสียของเทปคาสเซ็ตก็คือการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการช้ากว่าฮาร์ดไดร์ฟแบบจาน


ที่มา: http://www.dailygizmo.tv


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์