วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น



สาวรุ่นแดนปลาดิบในวัย 20 ปีพอดิบพอดี สวมชุมกิโมโนลายสวย เดินถือร่มฝ่าหิมะไปร่วมงาน "เซอิจิน โน ฮิ" หรือวันบรรลุนิติภาวะ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นธรรมเนียมสำคัญสำหรับหนุ่มสาว ในการตระหนักถึงการเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องมีความพยายาม ความรับผิดชอบ และรู้จักวางแผนชีวิตด้วยตัวเอง (ภาพ-เอพี)

วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น


 

“วันบรรลุนิติภาวะ หรือ เซย์จินโนะฮิ” (seijin no hi) นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 – 1868) โดยมีรากฐานมาจากประเพณีและวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณของญี่ปุ่น เพื่อแสดงการที่บุคคลจะต้องละทิ้งความเป็นเด็กและเริ่มต้นการเป็นผู้ใหญ่ โดยคำว่า “เซย์จิน” Seijin นั้นก็แปลตรงๆ ตัวว่า “ผู้ใหญ่” นั่นเอง

ในประเพณีดั้งเดิมนั้นจะมีเพียงการเฉลิมฉลองตามความเชื่อในศาสนาชินโต ซึ่งพิธีกรรมก็จะแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างผู้ชายและผู้หญิง และมักจะกระทำพิธีเฉพาะผู้ที่เกิดในตระกูลซามูไร เด็กหนุ่มอายุ 15 (หรือราว 10 – 16 ปี) จะเข้าพิธีบรรลุนิติภาวะที่เรียกว่า “เก็มปาคุ” Gempuku โดยผู้เข้าร่วมพิธีจะแต่งเครื่องสวมหัวชื่อว่า “เอโบะชิ” และจะได้ชื่อใหม่ เป็นการแสดงว่าตนเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ ต้องปฏิบัติตนอย่างผู้ใหญ่ รวมถึงสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ท่านอื่นๆ ในครอบครัว และแต่งงานได้แล้ว สำหรับเด็กสาวในตระกูลซามูไรเช่นกัน งานวันบรรลุนิติภาวะจะจัดขึ้นในชื่อที่เรียกว่า “โมงิ” Mogi เมื่ออายุ 13 ปี (หรือราว 12 – 16 ปี) พวกเธอจะได้รับกิโมโนพิเศษหนึ่งชุด ที่จะสามารถใส่ในฐานะผู้ใหญ่ได้เป็นครั้งแรก

วันบรรลุนิติภาวะ ของญี่ปุ่นคือ วันจันทร์ที่สอง เดือนมกราคม วันบรรลุนิติภาวะ (เซอิจิน โนะ ฮิ)
วันสำหรับคนหนุ่มสาวผู้มีอายุครบ 20 ปี

รวมภาพ สาวญี่ปุ่นในชุดกิโมโน


วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น


วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น


วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น


วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น


วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น


วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น


วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น


วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น


วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น


วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น


วันบรรลุนิติภาวะ ของชาวญี่ปุ่น

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์