อูฐยักษ์เคยอาศัยอยู่ในขั้วโลกเหนือ

"อูฐยักษ์"เคยอาศัยอยู่ใน"ขั้วโลกเหนือ"


แม้ว่าอูฐจะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์แห่งทะเลทราย แต่ผลการศึกษาชิ้นใหม่ชี้ว่า อูฐเคยอาศัยอยู่ในสภาพอากาศที่เย็นจัดมาก่อน

นักวิทยาศาสตร์พบซากดึกดำบรรพ์ของอูฐยักษ์ในเขตอาร์กติกของแคนาดา โดยผลการวิเคราะห์โปรตีนที่พบในกระดูกแสดงให้เห็นว่าอูฐสายพันธุ์นี้ ซึ่งมีชีวิตเมื่อกว่า 3.5 ล้านปีที่แล้ว เป็นบรรพบุรุษของสายพันธุ์ในปัจจุบัน
 

ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ คอมิวนิเคชันส์ ดร.ไมค์ บัคลีย์ แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ กล่าวว่า ว่า เราเข้าใจกันมานานว่า อูฐได้ปรับตัวให้อยู่รอดได้ในทะเลทรายร้อนแล้ง แสงแดดจ้า


ในช่วงกลางยุคไพลสโตซีน เป็นช่วงที่โลกมีอากาศอุ่น การมีชีวิตรอดในเขตอาร์ติกถือเป็นเรื่องที่ยากลำบาก โดยอูฐยักษ์จะต้องเผชิญกับฤดูหนาวที่โหดร้ายและยาวนาน อุณหภูมิลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ซึ่งอาจหมายถึงพายุหิมะที่กินเวลายาวนานหลายเดือน และเวลากลางคืนที่ยาวนานกว่าปกติ แม้ในช่วงนั้น บริเวณขั้วโลกจะยังคงเป็นพื้นที่ป่าอยู่ก็ตาม


แม้จะมีหลักฐานว่าอูฐเคยอาศัยอยู่ในเขตอเมริกาเหนือมาก่อน โดยหลักฐานที่สืบพบไปถึง 45 ล้านปีก่อน แต่ก็มีหลักฐานที่ชวนให้ประหลาดใจว่า พวกมันเคยอาศัยในเขตที่สูงมาก่อน


อูฐยักษ์เคยอาศัยอยู่ในขั้วโลกเหนือ

โดยในการสำรวจ 3 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2006 นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แคนาดา ได้รวบรวมตัวอย่างฟอสซิลส่วนขา จำนวน 30 ชิ้น จากเกาะแอลส์เมอร์ ทางเหนือสุดของแคนาดา


จากการวัดขนาดพบว่า อูฐในยุคนั้นมีขนาดตัวใหญ่กว่าอูฐในปัจจุบันราวร้อยละ 30 โดยมีความสูงที่วัดจากเท้าถึงไหล่ถึง 270 ซม. แม้ลักษณะโดยรวมจะคล้ายคลึงกัน แต่พบว่ามีความดกหนาของขนมากกว่า เพื่อสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย


ผลวิเคราะห์โปรตีน คอลลาเจน ในชิ้นกระดูกเหล่านั้น บ่งชี้ว่า อูฐยุคโบราณเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของสายพันธุ์ในปัจจุบัน พวกมันเป็นอูฐโหนกเดียว โดยใช้โหนกไว้สำหรับเก็บสำรองไขมัน ไม่ใช่น้ำอย่างที่มักเข้าใจกัน
 

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เจ้าอูฐยักษ์พวกนี้อาศัยแหล่งพลังงานจากโหนกตลอด 6 เดือนของฤดูหนาว มีดวงตาขนาดใหญ่สำหรับรับแสงเพื่อให้มองเห็นได้ดีขึ้นในสภาพแสงน้อย และมีตีนแบนราบสำหรับเดินบนหิมะ


อูฐยักษ์เคยอาศัยอยู่ในขั้วโลกเหนือ

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์