สาธุ…คำสั้นๆ แต่ได้บุญ


” สาธุ อนุโมทนา วันทามิ” และ ” ขออนุโมทนาสาธุด้วยนะ” เป็นประโยคที่ชาวพุทธคุ้นเคยมากที่สุด เช่น เมื่อพระเทศน์จบ การถวายทาน รวมทั้งพระให้ศีล ให้พร คำว่า “สาธุ” ซึ่งมีความหมายว่า ดี งาม ชอบ หรือ ถูกต้อง คำว่าอนุโมทนาและสาธุแปลว่าอะไรและใช้เมื่อไรอย่างไร?


“อนุโมทนา ก็คือ ยินดีในสิ่งดีๆนั้นๆ (การกระทำ) ด้วยนะเช่น รู้ว่าเขาทำบุญมาหรือทำอะไรดีๆ หรือเขาไปงานบุญมาเเล้วเล่าให้ฟัง หรือบอกเราว่า“เอาบุญมาฝาก” (จากงานบุญ)…เราก็ตอบว่า“อนุโมทนา”

”สาธุ” ก็เเปลว่า ชอบเเล้ว ดีเเล้วเช่น เวลาพระสวดให้พร เราก็ตอบรับว่า ”สาธุ” คือธรรมที่ท่านพูดนั้นน่ะถูกต้องดีเเล้ว ชอบเเล้ว, ชอบเเล้วนี่หมายความว่าถูกเเล้วน่ะ[ส่วนเวลาผู้ใหญ่อวยพรเรานั้นเราตอบว่า ''สมพรปาก"] คำว่า “สาธุ” มีความหมายเป็น 2 นัย คือ พระสงฆ์เปล่งวาจาว่า “สาธุ” หมายความว่า “เพื่อยืนยัน หรือรองรับการทำสังฆกรรมนั้น ๆ ว่าถูกต้องเหมาะสม หรือ เพื่อลงมติว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอ ซึ่งเป็นกิริยาที่พระสงฆ์ใช้แทนการยกเมือแบบคฤหัสถ์ ในเวลาลงมติ”

ในขณะที่คำกล่าว “สาธุ” หากเปล่งออกมาจากฆราวาส จะเป็นคำอนุโมทนาแสดงความชื่นชมยินดีในบุญกุศล หรือความดีที่คนอื่นทำ โดยประนมมือยกขึ้นเสมอศีรษะ พร้อมเปล่งวาจา สาธุ นอกจากนี้ยังใช้ในความหมายของคำว่า ไหว้ อีกด้วย เช่นบอกเด็ก ๆ แสดงความเคารพพระหรือผู้ใหญ่ ทั้งนี้จะลดเหลือคำว่า “ธุ” ก็มี

การกล่าวคำว่า “สาธุ” ถือว่าผู้กล่าวได้บุญ เพราะเป็นการทำบุญข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ คือ “ปัตตานุโมทนามัย” แปลว่า บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสแสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย


สิ่งที่ได้เรียนรู้ และรับรู้ เมื่อได้เล่าสู่และเป็นสุข ย่อมได้บุญกุศลส่งถึงให้พบแต่ความดีงาม อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


สาธุ…คำสั้นๆ แต่ได้บุญ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์