รับมือกับไมเกรนในช่วงหน้าร้อน



รับมือกับไมเกรนในช่วงหน้าร้อน

ช่วงหน้าร้อนโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย โรคไมเกรนก็ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่ต้องระวังเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อผู้ป่วยถูกแดดนานๆ

ก็ อาจจะทำให้มีอาการไมเกรนตามมาได้ เราลองไปเรียนรู้และทำความรู้จักกับโรคไมเกรนในช่วงหน้าร้อน และวิธีป้องกันกับโรคไมเกรนกันดีกว่าค่ะ



ไมเกรน (migraine) เป็น อาการปวดศีรษะชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะอาการที่สำคัญคือ ปวดตุ้บๆ ที่บริเวณขมับข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ บางคนอาจเริ่มจากปวดแบบตื้อๆ จี๊ดๆ ก่อน แล้วค่อยรุนแรงขึ้นจนเป็นตุ้บๆ ในที่สุด ความรุนแรงของอาการปวดมีตั้งแต่ปวดปานกลางจนถึงรุนแรงมาก ระยะเวลาของอาการปวดมีความแตกต่างกันในแต่ละคนตั้งแต่ 4-72 ชม. อาการปวดจะกำเริบหรือรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ขณะปวดไมเกรนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และอาจไวต่อแสงหรือเสียง ดังนั้นผู้ที่เป็นไมเกรนส่วนใหญ่มักอยากอยู่ในห้องมืดและเงียบ เพราะจะทำให้อาการปวดไมเกรนดีขึ้นนอกจากนี้บางคนก่อนจะมีอาการปวดไมเกรนอาจมี “อาการนำ” มาก่อนประมาณ 5-20 นาที เช่น เห็นแสงวูบวาบคล้ายแสงแฟลช ตามองไม่เห็นชั่วขณะ หรือชาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย เป็นต้น

สาเหตุของไมเกรน
สำหรับสาเหตุและกลไกของอาการปวดไมเกรนในปัจจุบันยังไม่ทราบชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้พยายามอธิบายถึงสาเหตุและกลไกของอาการปวดไมเกรนไว้ หลายทฤษฏี ดังนี้

  • เดิม เชื่อว่าเกิดจากการที่หลอดเลือดในสมองมีการหดตัวเกิดขึ้น หลังจากนั้นร่างกายมีการตอบสนองโดยการทำให้หลอดเลือดดังกล่าวเกิดการขยายตัว ซึ่งการขยายตัวของหลอดเลือดนี่เองเป็นสาเหตุของการปวดไมเกรน
  • ต่อ มาพบว่า เส้นประสาทคู่ที่ 5 หรือที่เรียกว่า ไทรเจมินัล (trigerminal) และสารเคมีในสมองที่ชื่อซีโรโตนิน (serotonin) ซึ่งเชื่อว่าการเสียสมดุลของสารเคมีนี้ในสมองเป็นสาเหตุ ของการปวดไมเกรน เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าเมื่อมีอาการปวดไมเกรน ระดับซีโรโตนินในสมองจะลดลง ทำให้เกิดการกระตุ้นผ่านเส้นประสาทไทรเจมินัลไปยังหลอดเลือดที่เยื่อหุ้ม สมองด้านนอกส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวจนบวมและอักเสบในที่สุด
  • ระยะหลังมานี้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับยีนส์หรือจีโนมิกส์พบว่า ion-transport gene อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดไมเกรน
  • นอก จากนี้มีการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าไมเกรนสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่จะเกิดอาการหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่มา กระตุ้นด้วย

ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดไมเกรน
ปกติแล้วอาการปวดไมเกรนจะกำเริบขึ้นเมื่อมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น ซึ่งแต่ละคนจะมีปัจจัยกระตุ้นที่แตกต่างกันออกไป ปัจจัยกระตุ้นที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่

  1. อาหาร หรือสารบางชนิด เช่น ผงชูรส สารถนอมอาหาร คาเฟอีน ช็อกโกแลต แอลกอฮอล์ หรือการแม้แต่กินอาหารไม่ตรงเวลา ความหิวก็อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ในบางคน
  2. การพักผ่อนไม่เพียงพอ การนอนมากหรือน้อยเกินไปอาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรนได้
  3. ฮอร์โมน ผู้หญิงบางคนจะมีอาการปวดไมเกรนในช่วงที่มีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก บางคนที่ใช้ยาฮอร์โมนคุมกำเนิดบางยี่ห้ออาจกระตุ้นให้มีอาการปวดไมเกรนที่ รุนแรงหรือระยะเวลาในการปวดนานมากขึ้นได้
  4. สิ่ง แวดล้อม เช่น อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น “อากาศร้อน” หรือ “เย็นมากเกินไป” อยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน หรือได้กลิ่นบางอย่างก็ทำให้ปวดหัว เช่น กลิ่นน้ำหอม ควันบุหรี่
  5. ความเครียด ผู้ที่มีความเครียดจะมีอาการปวดไมเกรนได้บ่อยและรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เครียด

ทราบอย่างไรว่าเป็นไมเกรน
การวินิจฉัยไมเกรนนั้นจำเป็นต้องอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะอาการปวด ตำแหน่ง ความรุนแรง ความถี่ ระยะเวลาในการปวด และอาการอื่นที่ร่วมด้วย ประวัติโรคประจำตัวและประวัติการใช้ยา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือการตรวจเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยแยกจากโรคอื่น เช่น อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว หรือจากภาวะเครียด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง โรคของต่อมใต้สมองหรือมีเนื้องอก เป็นต้น

“ยา” กับ “ไมเกรน”
สำหรับยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดไมเกรนนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

กลุ่มที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดไมเกรน
ยากลุ่มแก้ปวด ไม่ว่าจะเป็นพาราเซตามอล แอสไพริน หรือยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบรูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นต้น กลุ่มยาเหล่านี้เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการบรรเทาอาการปวดไมเกรนเป็นกลุ่มแรกๆ เนื่องจากมีประสิทธิภาพดี อาการข้างเคียงของยาน้อย และราคาถูก

ยากลุ่ม Ergot alkaloids ได้แก่ ergotamine ในปัจจุบันนี้มีหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาดจัดเป็นยาอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยมใช้ ในการบรรเทาอาการปวดไมเกรน ข้อดีของยากลุ่มนี้คือ ยาออกฤทธิ์ได้นานและลดการกลับเป็นซ้ำของไมเกรนได้ในบางราย ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ยา ergotamine เพียงตัวเดียวในการรักษาหรืออาจให้ร่วมกับยากลุ่มแก้ปวด หากอาการปวดไมเกรนยังไม่ดีขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการปวด และสภาพร่างกายของแต่ละคนสำหรับผลข้างเคียงที่สำคัญของยาergotamine ได้แก่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดตามแขนขาหรือกล้ามเนื้อ มีอาการชา รู้สึกหนาวตามปลายมือปลายเท้า ปวดศีรษะ เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที และเนื่องจากยา ergotamine ที่จำหน่ายในท้องตลาดอยู่ในรูปแบบที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีนร่วมด้วยเพื่อ ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมยา ergotamine ได้ดีขึ้น ดังนั้นนอกจากผล
ข้างเคียงจากยา ergotamine แล้ว บางคนยังอาจได้รับผลข้างเคียงจากคาเฟอีนด้วย ได้แก่ ใจสั่น ปวดศีรษะ เป็นต้น

คำแนะนำสำหรับการใช้ยาที่มีส่วนประกอบของ ergotamine คือ ไม่ควรกินเกินวันละ 6 เม็ด และไม่ควรเกินสัปดาห์ละ 10 เม็ด นอกจากนี้ยังห้ามใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหลอดเลือดและ หัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ ผู้ที่มีภาวะไตวาย หรือในหญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

ยากลุ่ม Triptans เช่น sumatriptan, zolmitriptan เป็นต้น เป็นกลุ่มยาที่ถูกพัฒนามาใหม่เพื่อใช้ใน
การบรรเทาอาการปวดไมเกรนโดยเฉพาะ ข้อดีของยากลุ่มนี้ ได้แก่ ออกฤทธิ์เร็วและลดการกลับเป็นซ้ำของไมเกรนได้ดี นอกจากนี้ยังลดปัญหาการเกิด headache recurrence (เป็นอาการปวดศีรษะที่แย่ลง โดยเกิดขึ้นหลังจากอาการปวดไมเกรนดีขึ้นเมื่อกินยาแล้วภายใน 24 ชั่วโมง) ได้ดีกว่ายา ergotamine และมีผลข้างเคียงจากยาน้อย อย่างไรก็ตามยาในกลุ่มนี้ยังมีราคาค่อนข้างสูงในปัจจุบัน แพทย์จึงมักพิจารณาให้ในผู้ที่มีการกลับเป็นซ้ำของไมเกรนบ่อยๆ

คำแนะนำสำหรับการใช้ยากลุ่มนี้คือ ควรกินยากลุ่มนี้ทันที เมื่อเริ่มมีอาการปวดไมเกรน เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้อย่างสูงสุด และยากลุ่มนี้ก็มีข้อห้ามใช้เช่นเดียวกันกับยา ergotamine คะ

กลุ่มที่ใช้เพื่อป้องกันอาการปวดไมเกรน
สำหรับยาที่ใช้เพื่อป้องกันอาการปวดไมเกรนนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ในผู้ที่ปวดไมเกรนทุกราย โดยแพทย์จะพิจารณาให้ในบางรายเท่านั้น เพื่อช่วยให้ความรุนแรงและ/หรือความถี่ของอาการปวดไมเกรนลดน้อยลง กลุ่มผู้ที่ควรได้รับยาป้องกันอาการปวดไมเกรน

  • ผู้ที่มีอาการปวดไมเกรนมากกว่า 2 ครั้ง ต่อเดือน
  • ผู้ที่มีอาการปวดรุนแรงจนมีผลต่อการดำเนินชีวิต ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง
  • ผู้ที่มีแนวโน้มว่าอาการปวดไมเกรนจะรุนแรงมากขึ้น หรือปวดเป็นระยะเวลานานมากขึ้น

ยา ที่ใช้เพื่อป้องกันอาการปวดไมเกรนในปัจจุบันนี้มีหลากหลายชนิด โดยควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อให้เกิดการเลือกชนิดของยาและการปรับ ขนาดยาให้เหมาะสมกับแต่ละราย ควรกินยาป้องกันอาการปวดไมเกรนอย่างต่อเนื่องจนอาการปวดสงบลงนาน 6-12 เดือน แพทย์จึงอาจพิจารณาหยุดยา และถ้าอาการปวดไมเกรนกำเริบขึ้นอีกครั้งจึงค่อยเริ่มกินยาป้องกันใหม่ ตัวอย่างกลุ่มยาป้องกันอาการ
ปวดไมเกรน เช่น

  • กลุ่มยาต้านเบต้า (Beta-blockers) เช่น propanolol, atenolol, metoprolol, nadolol เป็นต้น
  • กลุ่มยาต้านแคลเซียม (Calcium channel blockers) เช่น flunarizine, verapamil เป็นต้น
  • ยารักษาโรคซึมเศร้า เช่น amitriptyline, nortriptyline เป็นต้น
  • ยากันชักบางชนิด เช่น sodium valproate, topiramate เป็นต้น

การ รักษาอาการปวดไมเกรนนั้นไม่ยากอย่างที่คิดนะคะ เพียงแค่ดูแลทั้งสุขภาพกายแลสุขภาพจิตให้ดี หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยกระตุ้นอาการปวด แค่นี้ก็สามารถลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดได้แล้ว


รับมือกับไมเกรนในช่วงหน้าร้อน

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์