โรงพยาบาลบูตาโร ตอบโจทย์การใช้งาน ปลุกวิญญาณคนป่วยให้มีชีวิต


ณ พื้นที่ชนบทแสนห่างไกลความเจริญของประเทศรวันดา ประเทศที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ขาดแคลนอาหารและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานนั้น หากจะต้องสร้างสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นของตัวเองขึ้นมาสักชิ้น คำตอบของงานนี้จะเป็นอย่างไร ยิ่งโปรแกรมที่เกิดขึ้นเป็นโรงพยาบาลที่ต้องรองรับคนป่วยในพื้นที่แบบแอฟริกาด้วยแล้ว
โจทย์นี้ถูกแก้ไขโดยสำนักงานไม่หวังผลกำไร MASS design group จากเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ที่สร้างแนวทางแก้ไขเป็นโรงพยาบาลบูตาโร ขนาด 150 เตียง รองรับปัญหาสุขภาพของประชากรกว่า 400,000 คน วิธีการแก้ไขที่เหล่าสถาปนิกนำเสนอคือความเป็น ‘ถิ่นที่’ พวกเขามองว่าในพื้นที่อย่างแอฟริกาการเลือกใช้อะไรในท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงเป็นสิ่งแรก ทั้งแรงงานจากประชากรในละแวกนั้นให้เกิดรายได้แก่ชุมชน และทำให้โรงพยาบาลนี้หลอมรวมไปกับถิ่นที่ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุหินจากภูเขาละแวกนั้นมาเป็นส่วนประกอบผนังภายนอก ผนังระเบียง หรือไม่ว่าจะเป็นผนังเตี้ยที่กั้นระหว่างสวนของแต่ละอาคารเพื่อป้องกันแพร่กระจายของโรคติดต่อ หรือการคำนึงการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติมากกว่าการใช้เครื่องกล ด้วยการสร้าง cross ventilation ในส่วนวอร์ดคนไข้ เพียงแค่ใช้วิธียกฝ้าเพดานให้สูงขึ้นกว่าที่เคยเห็นในแบบทั่วไป พร้อมกับออกแบบให้ลมมีทางเข้า-ออก ด้วยการออกแบบให้ทางเข้าลมแคบพร้อมกับทางออกของลมที่สูง อันเป็นธรรมชาติของลมที่จะเกิดขึ้นจากการหมุนเวียนของอากาศร้อนที่ถูกแทนที่ด้วยอากาศเย็นกว่า

และภายในโรงพยาบาลมีบรรยากาศที่สวยงาม ดูสดชื่น ไม่ได้สร้างบรรยากาศที่ดูแห้งแล้งแบบโรงพยาบาลเดิมๆ ที่เราเคยจินตนาการถึง ชวนให้ชาวรวันดาที่มาโรงพยาบาลนี้อยากมีชีวิตอยู่ต่อมากกว่าแวดล้อมไปด้วยความหดหู่ …เคล็ดไม่ลับเหล่านี้ช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้นแน่นอน

โรงพยาบาลบูตาโร ตอบโจทย์การใช้งาน ปลุกวิญญาณคนป่วยให้มีชีวิต


โรงพยาบาลบูตาโร ตอบโจทย์การใช้งาน ปลุกวิญญาณคนป่วยให้มีชีวิต


โรงพยาบาลบูตาโร ตอบโจทย์การใช้งาน ปลุกวิญญาณคนป่วยให้มีชีวิต


โรงพยาบาลบูตาโร ตอบโจทย์การใช้งาน ปลุกวิญญาณคนป่วยให้มีชีวิต


โรงพยาบาลบูตาโร ตอบโจทย์การใช้งาน ปลุกวิญญาณคนป่วยให้มีชีวิต

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี MCOT สำนักข่าวไทย


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์