คนเรามักคล้อยตามคอมเมนต์บวกที่ได้โหวตเยอะ


เราไม่ได้รับอิทธิพลจากความคิดเห็นคนอื่นๆจริงหรือ ล่าสุด งานวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) เผยว่า 

ในโลกออนไลน์นั้น คนเรามีสิทธิ์จะคล้อยตามความคิดเห็นทางบวก แต่จะไม่ค่อยเอนเอียงไปมากเท่าไหร่กับความเห็นทางลบ ซึ่งหัวข้อบางหัวข้อก็ช่าง"ต้อน"เราให้ไปทางเดียวกันได้ดีเหลือเกิน

งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Science แล้ว หลังจากที่นักวิจัยได้ทำงานวิจัยมาตลอด 5 เดือนเกี่ยวกับการรับข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซต์ ทีมวิจัยกลุ่มนี้ติดตามการให้คะแนนความชอบความคิดเห็นบางอย่างในอินเตอร์เน็ต โดยได้ติดตามอย่างเป็นระบบเพื่อดูว่า การรับรู้ถึงความความนิยมของความคิดเห็นเหล่านั้นจะมีผลต่อความรู้สึกต่อความคิดเห็นนั้นหรือไม่

นักวิจัยพบว่า ความคิดเห็นที่ได้รับการให้คะแนนในทางบวกมากๆจะมักจะได้รับการตอกย้ำคะแนนความนิยมมากขึ้นไปอีก

"พฤติกรรมการต้อนแบบนี้จะเกิดขึ้นกับการให้คะแนนและคุณภาพที่เป็นสัญญาณบวก" รศ.ดร.ซินาน อาราล แห่งวิทยาลัยบริหารธุรกิจ Sloan สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์เผย

"ในขณะเดียวกัน พฤติกรรมการต้อนเพราะความคิดเห็นทางลบกลับไม่เหมือนกับความคิดเห็นทางบวก โดยที่ความคิดเห็นที่ได้รับคะแนนทางลบมากๆก็มักอาจจะทำให้คนไม่ชอบความคิดเห็นนั้นไปด้วยได้ แต่ก็ไม่ได้มากมายเท่ากับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับความคิดเห็นทางบวก ที่เรียกว่า correction effect"

"คนเรามักจะตั้งคำถามกับอะไรที่เป็นเรื่องลบก่อนเลย ในใจพวกเขามักจะอยากปรับความเห็นที่เป็นลบนั้นให้เป็นเรื่องถูกต้องก่อน แล้วค่อยโหวตสิ่งที่ปรับไปแล้วนั้นไปสู่ทางบวก"

แม้ดูผิวเผินแล้ว ปรากฏการณ์นี้จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ ดร.อาราลก็เตือนว่า กับดักเองก็มีเหมือนกัน เช่นว่า อาจจะมีการนำไปใช้ประโยชน์ในทางการเมือง การตลาด หรือคนที่หาผลประโยชน์จากการปั่นโหวตในทางบวก เพื่อให้คนคล้อยตามมากๆ

"ความเห็นในทางบวกบางทีก็หมายถึงความลำเอียงและเฟ้อด้วย ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ก็กระจายตัวไปอย่างรวดเร็วเพราะข่าวทางบวกนี่แหละ แต่เมื่อฟองสบู่แตก คนก็เสียเงินและบ้านไป ฟองสบู่หุ้นก็เหมือนกัน มันก็เป็นพฤติกรรมการต้อนเพราะเรื่องบวกเช่นกัน และทุกอย่างก็พังพินาศลงเมื่อมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น" ดร.อาราลอธิบาย

งานวิจัยเรื่องนี้ยังเผยด้วยว่า มีเรื่องราวบางประเภทเท่านั้นที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมการต้อนแบบนี้ได้ คือ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม และธุรกิจ ขณะที่เรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ไอที บันเทิง และข่าวทั่วไปกลับไม่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวเท่าไหร่

ดร.อาราลเผยว่า เราควรจะคิดวิเคราะห์ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อเจอกับการรวบรวมความคิดเห็นหรือโหวตบางอย่างเข้ามา

"เราจะต้องระวังเรื่องการออกแบบและวิเคราะห์ระบบที่พยายามจะรวบรวมปัญญาของฝูงชน"

ในงานวิจัยนั้น นักวิจัยได้สร้างเว็บไซต์รวบรวมความคิดเห็นแห่งหนึ่งขึ้นมาใหม่แต่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อเว็บไซต์ได้เนื่องจากเหตุผลทางกฎหมาย เมื่อดำเนินการเก็บข้อมูลความคิดเห็นและการให้คะแนนความคิดเห็นทั้งหมด 101,281 ความคิดเห็น นักวิจัยก็สามารถดูได้ว่า คนอ่านจะประเมินความคิดเห็นที่ถูกให้คะแนนแตกต่างกันอย่างไร

แม้ว่าการทดลองนี้จะพอเพียง แต่ ดร.อาราลเชื่อว่า "ในสถานการณ์ส่วนใหญ่นั้น มันก็เป็นเรื่องยากที่จะแยกแยะผลจากความลำเอียงเพราะคะแนนบวกดังกล่าวกับการเชื่อมั่นในความคิดเห็นนั้นจริงๆ กล่าวคือ มันก็บอกยากว่า ความคิดเห็นหนึ่งๆที่ได้คะแนนบวกเยอะๆนั้น มาจากการที่ความคิดเห็นเหล่านั้นมีประสิทธิภาพมากจริงๆ หรือว่าเป็นเพราะคนโหวตให้เยอะกันแน่"

นักวิจัยยังพบด้วยว่า ความคิดเห็นที่มีคะแนนนิยมมาก่อน จะมีโอกาสที่จะได้รับการโหวตซ้ำอีกมากขึ้นถึง 32 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับความคิดเห็นที่ยังไม่มีคะแนนนิยมเท่าไหร่เลย และยังมีโอกาสที่จะผันตัวเองไปเป็นความคิดเห็นที่คะแนนนิยมสูงมากๆ มากกว่าถึง 30 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายๆฝ่ายก็เชื่อว่า การทดลองนี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกจึงจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนกว่านี้


คนเรามักคล้อยตามคอมเมนต์บวกที่ได้โหวตเยอะ


http://vcharkarn.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์