วิธีรักษา.. ภูมิแพ้ ทางเดินอาหาร

1.หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ เช่น ถ้าแพ้ขนสัตว์ก็ต้องไม่เลี้ยงสัตว์ดังกล่าวไว้ในบ้าน โดยเฉพาะห้องนอน หรือถ้าตรวจพบว่าแพ้ไรฝุ่น ซึ่งผู้ป่วยภูมิแพ้ส่วนใหญ่แพ้กันมากถึงร้อยละ 70 ก็ควรหลีกเลี่ยงการปูพรมในห้องนอน เครื่องนอนทุกชิ้นควรซักด้วยน้ำร้อนทุก 2 สัปดาห์ หรืออาจใช้ผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนกันไรฝุ่น
      

2.รับประทานยาแก้แพ้ ใช้ในกรณีที่หลีกเลี่ยงหรือป้องกันสารที่ก่อภูมิแพ้แล้วยังมีอาการแพ้อีก การรับประทานยาแก้แพ้จำพวกยาต้านฮิสตามีนบางชนิด อาจทำให้มีผลข้างเคียงได้ เช่น อาการง่วงนอน ปากแห้ง คอแห้ง ปัสสาวะลำบาก เป็นต้น
      

3.การใช้ยาพ่นจมูก ที่สำหรับรักษาภูมิแพ้โดยเฉพาะ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ชนิดปานกลาง ถึงรุนแรง ยาชนิดนี้อาจเกิดทำให้เกิดผลข้างเคียงซึ่งพบได้น้อยแต่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น อาการระคายเคืองของเยื่อบุจมูก และเลือดกำเดาไหล ซึ่งถ้าผู้ป่วยพ่นยาอย่างถูกวิธีจะเกิดผลข้างเคียงดังกล่าวน้อยมาก
      

4.การใช้ยาสูด เพื่อรักษาโรคหืดภูมิแพ้ยาสูดเพื่อรักษาโรคหืดภูมิแพ้แบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่
       4.1.ยาสูดเพื่อการรักษาและควบคุมโรคหืด จะเป็นยาที่ผู้ป่วยต้องสูดต่อเนื่องทุกวันด้วยเทคนิคที่ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรจะใช้ยาเฉพาะตอนมีอาการ หลังสูดเสร็จควรบ้วนปากและกลั้วคอ เพื่อชะล้างยาที่ตกค้างอยู่ในช่องปาก
       4.2.ยาสูดเพื่อบรรเทาอาการ ผู้ป่วยควรพกพาติดตัว และนำมาใช้เฉพาะเวลามีอาการ หรือใช้ก่อนออกกำลังกายประมาณ 30 นาที ไม่ควรใช้เป็นประจำ ในผู้ป่วยบางรายที่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ดี จะพบว่าผู้ป่วยมีความต้องการที่จะใช้ยาชนิดนี้น้อยครั้งมาก
      

5.การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ โดยผู้ป่วยจะได้รับการฉีดสารก่อภูมิแพ้ เพื่อให้ร่างกายสร้างและปรับเปลี่ยนภูมิต้านทาน และจะค่อย ๆ เพิ่มขนาดยา โดยในระยะแรกจะฉีดทุกสัปดาห์ เป็นเวลาประมาณ 4-6 เดือน หลังจากนั้น ฉีดทุกเดือนเป็นเวลา 3 ปี ผลข้างเคียงของวัคซีนซึ่งพบน้อยแต่อาจเกิดขึ้นได้ คือ ผื่นลมพิษ คัดจมูกและน้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น อาการเหล่านี้มักจะเกิดภายใน 30 นาทีหลังการฉีด


วิธีรักษา.. ภูมิแพ้ ทางเดินอาหาร

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์