“น้ำปลา-ปลาร้า” วัฒนธรรมการกินของชาวอาเซียน


"น้ำปลา" เป็นหนึ่งในส่วนผสมของอาหารไทยที่จะขาดไม่ได้เลย เป็นสิ่งที่ช่วยชูรสชาติอาหารให้จัดจ้านกลมกล่อมขึ้น หรือเหยาะใส่ถ้วยใบเล็กๆ บีบมะนาว ซอยหอมแดงกับพริกแจวใส่ลงไป เป็นเครื่องเคียงในมื้ออาหารไปเลย

วัฒนธรรม "น้ำปลา" ไม่ได้มีเฉพาะในบ้านเรานะคะ แต่ในหลายๆ ประเทศของประชาคมอาเซียนก็มีเหมือนกันด้วย เพราะประเทศอยู่ใกล้เคียงกันก็มักจะมีวัฒนธรรมในการกินคล้ายคลึงกันอยู่แล้ว

"น้ำปลา" เป็นส่วนผสมของปลา เกลือ และน้ำเกลือเข้มข้น ผ่านการหมักบ่มนานนับปี ก็จะได้หัวน้ำปลาอย่างดี จากนั้นก็นำกากปลาที่เหลือมาผสมกับน้ำเกลือเข้มข้นแล้วหมัก ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะได้น้ำปลาเกรดสอง, สาม, สี่,... ไปจนกระทั่งกากปลาย่อยสลายไปหมด

แน่นอนว่าบ้านเราเรียกว่า "น้ำปลา"
แต่เพื่อนบ้านของเราที่กินน้ำปลาก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา อย่างเช่น

 เวียดนาม เรียกว่า “Nuoc Mam”

ฟิลิปปินส์ เรียกว่า “Patis”

ลาว เรียกว่า “น้ำปา”

พม่า เรียกว่า “Ngan Bya Yay”





นอกจากน้ำปลาแล้ว อาหารอีกหนึ่งอย่างที่คล้ายกันคือ "ปลาร้า"

“ปลาร้า” ไม่ได้มีเพียงเฉพาะที่ภาคอีสานของไทย แต่เกิดขึ้นได้ทั่วทุกมุมโลก เพราะเกิดจากการที่ต้องเก็บถนอมปลาเอาไว้กินในยามขาดแคลน และใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว คือ ปลา เกลือ และข้าว

ซึ่งในประเทศไทยแน่นอนเรียกว่า “ปลาร้า”
 ส่วนบ้านพี่เมืองน้องของเราอย่าง


ประเทศลาว เรียกว่า “ปลาแดก”

ปลาร้าเขมร คือ “ปราฮ็อก”

 ฟิลิปปินส์ เรียกว่า “บากุง”

เวียดนาม เรียกว่า “มาม”

 มาเลเซีย เรียกว่า “เปกาซัม”

อินโดนีเซีย เรียกว่า “บากาแซ็ง”

พม่า เรียกว่า “งาปิ๊”

จะเห็นว่า ชาวประชาคมอาเซียนนั้น ก็มีวัฒนธรรมในการกินที่คล้ายคลึงกัน เพราะมีวัตถุดิบจากธรรมชาติที่ใกล้เคียงกัน นั้นก็คือ ปลา เกลือ และข้าว ซึ่งแต่ละชาติจะประดิดประดอยออกมาได้รสชาติ หรือหน้าตาแบบไหน ก็ต้องไปลองหาชมหาชิมกันเอาเอง

“น้ำปลา-ปลาร้า” วัฒนธรรมการกินของชาวอาเซียน

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์