อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ


อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ

         อนุสรณ์แห่งความเสียสละของตำรวจ ทหาร ข้าราชการ และพลเรือนไทย ใน การต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ในยุคที่การแตกต่างทางความคิดสุดขั้วกำลังคืบคลาน รุกรานแผ่นดินไทย อนุสรณ์สถานเป็นดังอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติผู้เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อ เพื่อรักษาความเป็นปึกแผ่นแน่นแฟ้นของแผ่นดินไทย ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

อนุสรณ์ ที่สร้างเป็นแท่งศิลา ได้จารึกชื่อข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ ที่เสียสละชีวิตในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในช่วงที่เกิดความแตกแยกทางความคิดทางการเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2511-2525 ลองศึกษาประวัติศาสตร์การรู้รบอันยาวนานบนเขาค้อ จะซาบซึ้งถึง ความสำคัญของประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของการสู้รบบนเขาค้อ




อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ เตือนใจให้ตระหนักถึงความรักชาติรักแผ่นดิน และระลึกถึงการต่อสู้ที่แลกมาด้วยเลือดเนื้อของผู้เสียสละ อนุสรณ์สถานตั้ง ตระหง่านอยู่บนยอดเขาค้อ โดดเด่นด้วยแท่งหินอ่อนรูปทรงสามเหลี่ยม ออกแบบโดย ดร.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา มีความหมายตามขนาดและรูปร่างดังนี้

-รูปทรางสามเหลี่ยม หมายถึงการปฏิบัติการร่วมกันระหว่าง พลเรือน ตำรวจ และทหาร
- ฐานอนุสรณ์สถานกว้าง 11 เมตร หมายถึง พ.ศ.2511 อันเป็นปีเริ่มการปฏิบัติการรุนแรงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่นี้
- ความสูงจากแท่นบูชาถึงยอดอนุสรณ์สถาน 24 เมตร หมายถึงพ.ศ. 2524 อันเป็นปีที่เปิดยุทธการครั้งใหญ่
- ความสูงจากฐานถึงยอดอนุสรณ์สถาน 25 เมตร หมายถึงปี 2525 อันเป็นปีสิ้นสุดการต่อสู้ด้วยอาวุธ
-ความกว้างฐานสามเหลี่ยมด้านละ 2.6 เมตร หมายถึงปี 2526 อันเป็นปีเริ่มการก่อสร้างอนุสรณ์สถานผู้เสียสละแห่งนี้

อนุสรณ์ สถานแห่งนี้ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั่วไป ได้มาทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ วันที่ 17 กันยายน 2526 โดยสร้างขึ้นด้วยเงินบริจาค ของประชาชนและข้าราชการทุกฝ่าย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ได้เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธานเปิดอนุสรณ์สถานแห่งนี้ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2527 เพื่อเตือนใจคนไทยทั้งชาติว่า "ยามใดที่คนไทยขัดแย้งกัน จะต้องมีการสูญเสียอย่างผู้กล้าหาญ 1,171 ชีวิต ที่จารึกไว้กับองค์อนุสรณ์ จงอย่าให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก" ทางจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้กำหนดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา ให้เป็นวันสมโภช อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ


อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ


บริเวณ ด้านข้างของอนุสรณ์ฯ เป็นฐานจำลองการสู้รบ ที่เป็นเนินเตี้ยๆ มีหลุมหลบภัย มีกระสอบทรายบังเกอร์ ซึ่งในอดีตที่แห่งนี้เป็นฐานแห่งแรกที่ทหารไทยยึดคืนมาได้จากการสู้รบกับ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) นอกจากนี้ บริเวณอนุสรณ์สถาน ยังเป็นจุดชมวิวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งบนเขาค้อ เนื่องจากตั้งอยู่บนส่วนที่สูงที่สุด สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเนินเขาลูกเล็ก ลูกน้อย ไล่เลียงกันเป็นทะเลภู แลในเช้าวันที่มีทะเลหมอกด้านล่าง ยังสามารถชมทะเลหมอกได้จากจุดชมวิวนี้ได้ด้วย

พิพิธภัณฑ์อาวุธ-ฐานอิทธิ
ใน พื้นที่ใกล้เคียงกันบนเขาค้อ ยังเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑ์อาวุธ และะฐานอิทธิื ซึ่งตั้งชื่อตาม พันเอก อิทธิ สิมารักษ์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ยึดพื้นที่เขาค้อคืนจาก ผกค.ในปี พ.ศ.2524 บริเวณนี้เคยเป็นฐานปืนใหญ่ ยิงสนับสนุนการ สู้รบ ปัจจุบันจัดให้ เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง มีอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ใช้ในการสู้รบตั้งอยู่มากมาย เช่น เครื่องบินขับไล่ เอฟ 5 เฮลิคอปเตอร์ที่ใช้ปฏิบัติการ รถสายพานลำเลียงพล ปืนใหญ่ ปืนใหญ่ขนาด 105 มม. จำนวน 2 กระบอก ปืนใหญ่ ขนาด 155 มม. ยิงได้ไกล 11 กิโลเมตร รถแบ็คโฮคันสำคัญ ที่สร้างถนนสายประวัติศาสตร์ เพื่อสลายที่มั่นของผู้ก่อการร้าย


อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ


พิพิธภัณฑ์ แห่งนี้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากๆ สำหรับเด็กๆ และทุกคนในครอบครับ เพราะมีอาวุธสงครามจริง ให้ชมกันมากมาย น่าตื่นตาตืนใจ อาวุธบางอย่างสามารถเข้าไปสัมผัสได้โดยใกล้ชิด ซึ่งเป็นที่ถูกใจของนักท่องเที่ยว

ภาย ในอาคารมีห้องบรรยายสรุปเกี่ยวกับเหตุการณ์ ในยุทธภูมิเลือดเขาค้อ มีห้องจัดนิทรรศการ เกี่ยวกับ อุปกรณ์ เครื่องใช้ เสื้อผ้า อาวุธของคอมมิวนิสต์ ส่วนด้านนอกอาคารยังมีฐานอาวุธ จัดแสดงอาวุธยุทโธปากรณ์ เช่น ปืนใหญ่ รถถัง รถแทรกเตอร์ บังเกอร์หลบภัย แต่ละจุดมีป้ายประวัติพร้อมคำอธิบายประกอบ


เปิดเวลา 07.00 – 17.00 น.
ค่าเข้าชม 10 บาท
กรณีมาเป็นหมู่คณะ จะมีเจ้าหน้าที่ช่วยบรรยายสรุปและฉายวีดีทัศน์ การต่อสู้ที่เขาค้อให้รับชมด้วย


อนุสรณ์สถานผู้เสียสละเขาค้อ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์