ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


"เขื่อนรัชชประภา" จ.สุราษฎร์ธานี

เขื่อนรัชชประภา เป็นเขื่อนเอนกประสงค์ที่สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสงเกิดเป็นอ่างน้ำขนาดใหญ่ บนสันเขื่อนเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่งดงามของอ่างเก็บน้ำโดยเฉพาะยามดวงอาทิตย์ตก ภายในอ่างเก็บน้ำมีเกาะมากกว่า 100 เกาะสามารถล่องเรือชมทัศนียภาพที่สวยงามมาก บริเวณเกาะแก่งต่างฯมีแพพักซึ่งอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติเขาสก ไว้บริการและยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจเช่น พายเรือแคนู ตกปลาเที่ยวถ้ำซึ่งจะต้องเดินป่าเข้าไประหว่างทางจะได้สัมผัสกับธรรมชาติและความสมบูรณ์ของผืนป่าภาคใต้ตัวเขื่อนซึ่งอยู่ในความดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มีสนามกอล์ฟมาตรฐาน 8 หลุม ท่าเรือสำหรับนั่งเรือชมบรรยากาศเหนือเขื่อน และบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย

เขื่อนรัชชประภา เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการชลประทานและการผลิตกระแสไฟฟ้า สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชื่อเดิมเรียกว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2525 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2530 เมื่อสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชประภา” มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนรัชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อวันพุธที่ 30 กันยายน 2530


ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟ้า

เขื่อนรัชชประภา สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สูง 94 เมตร ความยาวสันเขื่อน 761 เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก 5 แห่ง

อ่างเก็บน้ำมีความจุ 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 3,057 ล้านลูกบาศก์เมตร

โรงไฟฟ้า ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า เครื่องละ 80,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง รวมกำลัง การผลิต 240,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ลานไกไฟฟ้าตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำ ห่างจากโรงไฟฟ้า ประมาณ 100 เมตร ทำหน้าที่ส่งพลังไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า ด้วยสายส่งไฟฟ้าขนาด 230 กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานี ไฟฟ้าแรงสูงสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 50 กิโลเมตร และขนาด115 กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงพังงา ระยะทาง 82 กิโลเมตร เขื่อนรัชชประภา เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2525 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน2530

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อวันพุธที่ 30 กันยายน 2530


ประโยชน์จากเขื่อนรัชชประภา

ด้านพลังงานไฟฟ้า มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 240,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ส่งพลังไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า ด้วยสายส่งไฟฟ้าขนาด 230 กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานี ไฟฟ้าแรงสูงสุราษฎร์ธานี ระยะทาง 50 กิโลเมตร และขนาด115 กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงพังงา ระยะทาง 82 กิโลเมตร

การชลประทานเพื่อการเพาะปลูก ปริมาณน้ำที่ปล่อยจากเขื่อนให้ประโยชน์ต่อการเพาะปลูกพืช บริเวณสองฝั่งแม่น้ำในตอนล่าง เป็นผลให้พื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ ในเขตท้องที่ตำบลตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม และอำเภอพุนพิน สามารถปลูกพืชในฤดูแล้งได้ผลดีบรรเทาอุทกภัย การกักเก็บน้ำของเขื่อนในฤดูฝน จะช่วยลดความรุนแรงของสภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่างได้เป็นอย่างดี

การประมง อ่างเก็บน้ำของเขื่อนรัชประภาเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญ สร้างรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง

การผลิตไฟฟ้า พลังน้ำจากเขื่อนสามารถนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึงปีละ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าในภาคใต้ให้มั่นคงยิ่งขึ้น แก้ไขน้ำเสียและผลักดันน้ำเค็ม ในฤดูแล้งลำน้ำตาปี-พุมดวงมีปริมาณน้ำลดลง ทำให้เกิดภาวะน้ำเน่าเสียได้ง่าย ขณะเดียวกันบริเวณปากแม่น้ำจะมีน้ำเค็มหนุนขึ้นมา น้ำที่ปล่อยจากเขื่อน รัชประภาจะช่วยเจือจางน้ำเสียในลำน้ำ และผลักดันน้ำเค็มที่ปากแม่น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การท่องเที่ยว รูปแบบการท่องเที่ยว ตัวเขื่อนเป็นการดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การท่องเที่ยวบริเวณเขื่อนอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติเขาสก ในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนรัชชประภาจะมีแพที่พักไว้บริการ เป็นแพของทางอุทยาน 3 แพ แต่ละแพอยู่ในตำแหน่งที่มีทัศนียภาพสวยงาม และยังมีแพของเอกชนอีก 3 แพ การเที่ยวเขื่อนรัชชประภาสำหรับคณะที่มีเวลาน้อยจะขับรถมาจอดที่จุดชมวิวบน สันเขื่อน แล้วก็กลับ บางคณะพอมีเวลาหน่อยก็จะเช่าเรือหางยาวนั่งชมทัศนียภาพในอ่างเก็บน้ำ เรือจะพาไปถึงแพของอุทยาน ขึ้นแพพักผ่อนอริยาบท ชมทัศนียภาพ ถ่ายรูปแล้วก็เดินทางกลับ แต่สำหรับคณะที่ต้องการพักผ่อนบนแพท่ามกลางธรรมชาติก็จะพักค้างคืนบนแพ กิจกรรมที่น่าสนใจระหว่างที่พักอยู่ที่แพคือ ชมวิว เล่นน้ำ พายเรือแคนู ตกปลา และอีกกิจกรรมที่น่าสนใจคือการไปเที่ยวถ้ำซึ่งจะต้องเดินป่าเข้าไป ระหว่างทางจะได้สัมผัสความสมบูรณ์ของป่าดิบของภาคใต้ เดินไม่ไกลพอได้บรรยากาศการเดินเที่ยวป่าสัมผัสธรรมชาติ และอีกกิจกรรมหนึ่งคือการนั่งเรือชมวิว วิวในอ่างเก็บน้ำสวยเกินคำบรรยาย ทัศนียภาพในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสวยงามมากจนได้ชื่อว่ากุ้ยหลินเมืองไทย บริเวณเกาะแก่งในเขื่อนยังมีแพพักของอุทยานฯ ไว้บริการแก่นักท่องเที่ยวได้ไปท่องเที่ยวพักผ่อน ในแต่ละปีสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวปีละกว่า 70,000 คน สร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ทั้งคนขับเรือนำเที่ยว และการค้าขายบริเวณสันเขื่อน


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


การเดินทางไปยังเขื่อนรัชชประภา

ใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอไชยา ท่าฉาง พุนพินเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 401 ไปทางอำเภอบ้านตาขุนถึงทางแยกอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 57-58 เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 12กม.ถึงเขื่อนรัชชประภา แต่ถ้าออกจากตัวเมืองสุราษฎร์ก็ใช้ทางหลวงหมายเลข401 ไปทางอำเภอบ้านตาขุนก็ได้เช่นกัน

  • รถโดยสารประจำทางสายสุราษฎร์-ตะกั่วป่า-ภูเก็ต ผ่านทางแยกเข้าเขื่อน แล้วต่อรถโดยสารเข้าตัวเขื่อน
  • รถโดยสารประจำทางสายพุนพิน-บ้านตาขุน,พุนพิน-พนม แล้วต่อรถโดยสารเข้าตัวเขื่อน
  • รถเช่าเหมาคัน มีให้บริการที่หลังสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี อำเภอพุนพิน และที่ท่ารถตลาดเกษตร2 อำเภอเมือง

กิจกรรมที่น่าสนใจในเขื่อนรัชชประภา

  • ชมทิวทัศน์สวยๆของสันเขื่อนและอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน
  • เล่นกอล์ฟที่สนามกอล์ฟขนาด 8 หลุมของเขื่อนฯ
  • ลงเรือเที่ยวชมเกาะแก่งต่างๆในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน
  • หาซื้อปลาน้ำจืดตัวโตๆ สดๆ ที่บริเวณท่าเรือ

ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย


ตื่นตากับ กุ้ยหลินเมืองไทย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์