ที่มาของวันทั้ง 7 ในรอบสัปดาห์


ต้นกำเนิด และที่มาทำไมต้อง 7 วัน

จากการค้นคว้าหาข้อมูล พบว่า การใช้สัปดาห์มี 7 วัน มีมาตั้งแต่ยุคสุเมเรีย และบาบิโลน โดยมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกว่า ว่าได้มีการกำหนดให้หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน เมื่อประมานปีที่ 2350 ก่อนคริสตศักราช (2350 BC) โดยกษัตริย์ซาร์ก้อนที่หนึ่งแห่งนครอัคคาด (Sargon I, King of Akkad) ภายหลังจากที่ได้ยึดครองเมืองอูร์ (Ur) และเมืองอื่นๆ ในคว้นซูเมอร์เรีย (Sumeria) ชื่อของกษัตริย์องค์นี้ และเมืองนี้มีการอ้างถึงในหนังสือคัมภีร์สูตรเรือนชะตาของอาจารย์ประยูร ผมจะไปค้นคว้าเพิ่มเติม แล้วกลับมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป

นอกจากเมืองอูร์จะเป็นต้นกำเนิดของการกำหนดให้สัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวันแล้ว ยังเป็นต้นกำเนิดของการกำหนดให้หนึ่งชั่วโมงมี 60 นาทีด้วย เพราะในยุคนั้น ชาวซุเมอร์เรียนใช้ระบบเลขหลัก 60 ในการคำนวน (แทนการใช้ระบบทศนิยมในปัจจุบัน)

ในยุคสมัยนั้น มนุษย์มีความเชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล หรือเรียกว่า Geocentric ดวงอาทิตย์ และสิ่งต่างบนท้องฟ้าต่างโคจรรอบโลก และค้นพบว่ามีดาวเคราะห์ที่สามารถสังเกตุได้ด้วยตาเปล่า (naked eye planets) อยู่ 5 ดวง ซึ่งประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวอังคาร ดาวศุกร์ ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ (Fix Stars) หรือกลุ่มดาวในจักรราศี และเมื่อรวมกับ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ก็จะมีดาวบริวารของโลกทั้งสิ้น 7 ดวง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำไมสัปดาห์จึงมี 7 วัน จะเห็นได้จากชื่อที่ใช้เรียกในแต่ละวันยังคงมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับดาว หรือตามตำนานของเทพเจ้าประจำดาว ทั้ง 7


การเรียงลำดับของวันในสัปดาห์ (Order)


และเมื่อค้นลึกลงไปอีก ก็เป็นที่น่าประหลาดใจและเหลือเชื่ออย่างยิ่งว่า จริงๆแล้วการเรียงวันในสัปดาห์ มีรากฐานมาจากโหราศาสตร์นั้นเอง

เมื่อโลกเป็นสูตรกลางของจักรวาล โดยมีดาวทั้ง 7 ดวงที่โคจรอยู่รอบโลกนั้น ดาวก็ถูกจัดเรียงลำดับตามระบบ ปโตเลมี (Ptolemaic system) คือ เรียงจากดาวไกลสุดจากโลกมากที่สุดมายังดาวใกล้โลกมากที่สุด โดยใช้อัตราการโคจรรอบโลกเป็นตัววัด จึงได้การเรียงลำดับดังนี้ เสาร์ พฤหัส อังคาร อาทิตย์ ศุกร์ พุธ และจันทร์

เรื่อยๆ ซึ่งเรียกว่า “Planetary Hour” ซึ่งก็คือ ระบบยามแบบสากล นั้นเอง

Planetary Hour หรือ ยามแบบสากล เป็นวิธีการทำนายกาลชะตา (Horary) แบบหนึ่ง ซึ่งยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แล้วผมจะมาเล่าเพิ่มเติม ว่าน่าสนใจเพียงใด มีวิธีการทำนาย และการคำนวนอย่างไร


ที่มาของวันทั้ง 7 ในรอบสัปดาห์


 รูปที่แสดง ดาว 7 แฉก ตามยามแต่ละชั่วโมง (Heptagram of the week)

ชั่วโมงแรกของรุ่งอรุณของวันที่ 1 เริ่มต้นที่ ดาวเสาร์ ให้ชื่อว่า "ชั่วโมงของเสาร์" ถัดไปชั่วโมงที่ 2 เป็น "ชั่วโมงของพฤหัส" ชั่วโมงที่ 3 เป็น "ชั่วโมงของอังคาร" ชั่วโมงต่อไป เป็น "ชั่วโมงของอาทิตย์", "ชั่วโมงของศุกร์", "ชั่วโมงของพุธ" และ "ชั่วโมงของจันทร์" ตามลำดับ และเมื่อครบรอบ 7 ชั่วโมง ก็จะวนกลับมาที่ “ชั่วโมงของเสาร์” ใหม่ เป็นวงรอบไปเรื่อยๆไม่รู้จบ

ดังนั้นชั่วโมงที่ 25 หรือชั่วโมงที่ 1 ของวันที่ 2 ก็จะเป็น “ชั่วโมงของอาทิตย์” และชั่วโมงที่ 49 หรือชั่วโมงที่ 1 ของวันที่ 3 คือ “ชั่วโมงของจันทร์”

และเมื่อเรียงลำดับชั่วโมงไปเรื่อย ครบทั้ง 7 วัน เราก็จะพบว่าชื่อของวันนั้น คือ ดาวที่ประจำของรุ่งอรุณในแต่ละวัน ดังนั้นจริงๆ แล้ววันแรกในสัปดาห์จะเริ่มต้นด้วย “วันเสาร์” และถัดไปคือ วันอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พฤหัสบดี และ ศุกร์ ตามลำดับ

หากท่านใดมีความรู้เรื่องยามอัฐกาล ของโหราศาสตร์ไทย ก็จะพบว่าลำดับดาวพระเคราห์ประจำยามในภาคกลางวัน มีการเรียงลำดับตามระบบปโตเลมี ซึ่งอาจาร์ยพลูหลวง เคยเขียนบทความถึงความมหัศจรรย์ของดาว 7 แฉกนี้ ทั้งเรื่องของยามอัฐกาล และ เลข 7 ตัว

ชื่อวัน ใน 1 สัปดาห์ (The Names of the Days)

การกำหนดชื่อวันในแต่ละสัปดาห์ในทุกชาติทุกภาษาจะตั้งชื่อให้เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าในตำนาน หรือมีความหมายตามดาวดาวทั้ง 7 แทบทั้งสิ้น สมัยแรกๆ จะให้วันเสาร์ (Saturday) เป็นวันแรกของสัปดาห์ ต่อมา ได้นับถือดวงอาทิตย์มากขึ้น จึงให้วันของดวงอาทิตย์ (Sun's day) เลื่อนอันดับ จากวันอันดับที่ 2 ของสัปดาห์ เป็นวันแรกของสัปดาห์แทน ทำให้วันเสาร์ กลายเป็นวันลำดับที่ 7 ของสัปดาห์ไปในที่สุด

วันอาทิตย์ (Sunday)

มีชื่อมาจากภาษาละติน ว่า "dies solis" หมายถึง "วันของดวงอาทิตย์" (Sun's day) เป็นชื่อวันหยุดของคนนอกศาสนา และต่อมา ถูกเรียกว่า "Dominica" (ภาษาละติน) หมายถึง "วันของพระเจ้า" (the Day of God) ต่อมา ภาษาที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน เช่น ฝรั่งเศส, สเปน, อิตาเลี่ยน ก็ยังคงใช้คำที่คล้ายกับรากศัพท์ดังกล่าว เช่น

• ภาษาฝรั่งเศส: dimanche;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: domenica;
• ภาษาสเปน: domingo
• ภาษาเยอรมัน: Sonntag;
• ภาษาดัทช์: zondag ทั้งหมดมีความหมายว่า "Sun-day"



วันจันทร์ (Monday)

มีชื่อมาจากคำว่า "monandaeg" หมายถึง "วันของดวงจันทร์" (The Moon's day) เป็นวันที่สองของสัปดาห์ ที่ตั้งขึ้นมา เพื่อสักการะ "เทพธิดาแห่งดวงจันทร์" (The goddess of the moon)

• ภาษาฝรั่งเศส: lundi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: lunedi;
• ภาษาสเปน: lunes (มาจากคำว่า Luna หมายถึง "ดวงจันทร์")
• ภาษาเยอรมัน: Montag;
• ภาษาดัทช์: maandag ทั้งหมดมีความหมายว่า "Moon-day"


วันอังคาร (Tuesday)

เป็นชื่อเทพเจ้า Tyr ของชาวนอรเวโบราณ (The Norse god Tyr) ส่วนชาวโรมัน เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพเจ้าสงคราม แห่งดาวอังคาร (the war-god Mars) ว่า "dies Martis"

• ภาษาฝรั่งเศส: mardi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: martedi;
• ภาษาสเปน: martes
• ภาษาเยอรมัน: Diensdag;
• ภาษาดัทช์: dinsdag;
• ภาษาสวีเดน: tisdag


วันพุธ (Wednesday)

เป็นวันที่ตั้งเป็นเกียรติสำหรับ เทพเจ้า Odin ของชาวสวีเดน และนอรเวโบราณ ส่วนชาวโรมันเรียกว่า "dies Mercurii" สำหรับใช้เรียกเทพเจ้า Mercury (ประจำดาวพุธ)

• ภาษาฝรั่งเศส: mercredi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: mercoledi;
• ภาษาสเปน: miercoles
• ภาษาเยอรมัน: Mittwoch;
• ภาษาดัทช์: woensdag

วันพฤหัสบดี (Thursday)

เป็นชื่อเทพเจ้า Thor ของชาวนอรเวโบราณ (The Norse god Thor) เรียกว่า "Torsdag" ส่วนชาวโรมัน เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพเจ้า Jove หรือ Jupiter ซึ่งเป็นเทพเจ้า แห่งเทพทั้งปวง และเรียกวันนี้ว่า "dies Jovis" หมายถึง วันของ Jove (Jove's Day)

• ภาษาฝรั่งเศส: jeudi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: giovedi;
• ภาษาสเปน: el jueves
• ภาษาเยอรมัน: Donnerstag;
• ภาษาดัทช์: donderdag ทั้งหมดมีความหมายว่า "วันสายฟ้า" (Thundar day)



วันศุกร์ (Friday)

เป็นชื่อเทพธิดา Frigg ของชาวนอรเวโบราณ (The Norse goddess Frigg) ภาษาเยอรมันเคยเรียกว่า "frigedag" ส่วนชาวโรมัน เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพธิดา Venus ว่า "dies veneris"

• ภาษาฝรั่งเศส: vendredi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: venerdi;
• ภาษาสเปน: viernes
• ภาษาเยอรมัน: Freitag;
• ภาษาดัทช์: vrijdag


วันเสาร์ (Saturday)

ชาวโรมันใช้เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพเจ้า Saturn ว่า "dies Saturni" หมายถึง Saturn's Day.

• ภาษาฝรั่งเศส: samedi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: sabato;
• ภาษาสเปน: el sabado
• ภาษาเยอรมัน: Samstag;
• ภาษาดัทช์: zaterdag;
• ภาษาสวีเดน: Lordag
• ภาษาเดนมาร์คและนอรเว: Lordag หมายถึง "วันชำระล้าง" (Washing day)



ที่มาของวันทั้ง 7 ในรอบสัปดาห์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์