popeye ป๊อบอาย ไม่ได้กินผักโขม จริงหรือ


หลายท่านคงจะรู้จัก Popeye จากภาพยนตร์การ์ตูน
ยามใดที่ popeye ต้องการเพิ่มพละกำลังต่อสู้ศัตรู
ก็จะยกกระป๋อง spinach ขึ้นมากิน
แล้วกล้ามก็จะขึ้นมาให้เห็นทันตา


จากข้อมูลหลายแห่ง ทำให้ได้รับทราบว่า Spinach นั้น
จริงๆแล้วคือผักปวยเล้ง ไม่ใช่ผักโขม
และจากข้อมูลของ Guzzie Kitchen  จา
www.maama.com

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผัก Spinach นี้ไว้น่าสนใจมาก

อาหารยอดฮิตติดอันดับสามของเด็กอเมริกัน (รองจาก ไก่งวง และไอศกรีม)
ที่เรียกชื่อกันเป็นภาษาฝรั่งว่า "Spinach" นั้น
ถ้าจะแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ต้องใช้คำว่า "ปวยเล้ง" ถึงจะถูกต้อง
หาใช่แปลว่า "ผักโขม" ดังที่คนไทยเข้าใจไม่


ความเข้าใจไขว้เขวอย่างผิด ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้
กัสซี่ขอกล่าวโทษแก่ผู้ที่แปลบทภาพยนต์การ์ตูนชุด Popeye the Sailor ในภาษาไทย
ที่แปลคำว่า "Spinach" ในประโยคภาษาอังกฤษ
ที่ Popeye พูดก่อนที่ จะยกกระป๋อง Spinach ขึ้นกิน
ก่อนที่จะกลายร่างจากกะลาสีผอมกะหร่องเป็นนักสู้กล้ามใหญ่
เข้าต่อสู้กับเหล่าร้าย

โดยใช้คำว่า "ผักโขม" เพื่อแทนคำว่า "Spinach" ซึ่งเป็นคำแปลที่ "ไม่ถูกต้อง"




 
"ปวยเล้ง" หรือ "Spinach" ผักใบใหญ่หนาทรงกลม สีเขียวเป็นมัน
แต่ก้านผอมนิดเดียวนั้น ถึงจะมีชื่อออกไปในทางหมวย ๆ หน่อย
แต่ความจริงแล้ว เป็นผักที่มีถิ่นกำเนิดจากเปอร์เซีย (อิหร่าน)
หาใช่เป็นผักของจีนตามที่คนไทยเราเข้าใจ

ตามประวัติบอกว่า ชื่อเดิมของ "ปวยเล้ง" นั้นคือ "Aspanakh"
เป็นผักที่ชาวอาหรับชอบกินกับมาก
จนถึงขนาดให้สมญานามว่าเป็น "Prince of Vegetables"

เป็นผักที่ชาวอาหรับนำติดตัวไปด้วยในคราวยกทัพบุกสเปน ในศตวรรษที่ 11
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สเปนกลายเป็นศูนย์กลาง
การปลูก "ปวยเล้ง" และแพร่หลายไปทั่วภูมิภาคในยุโรป
และชื่อเดิม Aspanakh ก็ถูกเรียกผิดเพี้ยนไปในภาษาละตินว่า "Spinachia"
และถูกเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Spinach" ในศตวรรษที่ 14

และ "ปวยเล้ง" เข้าไปสู่ประเทศจีนเป็นครั้งแรก
โดยกษัตริย์แห่งเนปาลเป็นผู้นำเข้ามาถวายจักรพรรดิแห่งจีน
ต่อมาเป็นผักที่ได้รับความนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย
 
ชื่อ "poh ts'ai" ในภาษาจีนของปวยเล้ง
บอกถึงถิ่นที่มาของปวยเล้งได้เป็นอย่างดี
เพราะคำว่า "poh ts'ai" มีความหมายว่า "ผักจากเปอร์เซีย"

"ปวยเล้ง" เป็นผักที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม โปรตีน วิตามินซี
และ วิตามินบี 2 ในปริมาณที่สูง
อีกทั้งเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนและซาโปนิน
(สารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้) อีกด้วย
สามารถทานได้ทั้งแบบสด ๆ ในจานสลัด
หรือใช้จิ้มกับน้ำพริก หรืออาจจะนำไปทำให้สุก
ในอาหารจานต่าง ๆ จะเป็นต้มจืด ผัด หรืออบก็ได้ทั้งนั้น


เขียนมาถึงตรงบรรทัดนี้ อาจจะมีคุณผู้อ่านบางท่าน
เกิดความสงสัยในใจว่า
เจ้า Spinach ที่กัสซี่พูดถึงนี่
มันต่างจาก "ผักโขม" ของไทยที่เราเห็นวางขาย
กันตามตลาดและซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ตรงไหน??


ลักษณะภายนอกก็ยังแตกต่างกันอย่างมากด้วย
เพราะ "ผักโขม" ของบ้านเรา ใบจะมีขนาดใหญ่กว่าแต่ใบบาง
ใบมีสีเขียวด้าน ๆ ไม่มัน ก้านจะโต มีขนอ่อนใต้ใบ
และลำต้นบางทีจะมีหนาม ไม่สามารถนำมาใช้ทานสด ๆ
ในจานสลัดได้เนื่องจากค่อนข้างจะระคายคอ
นิยมนำไปปรุงให้สุกมากกว่า

เพราะเมื่อสุกแล้วจะมีรสหวานและเนื้อนุ่ม
ในภาษาอังกฤษจะเรียกผักชนิดนี้ว่า"Asian Spinach"
หรือ "Chinese Spinach"

ผักโขมที่มีวางขายในท้องตลาดจะแบ่งออกเป็น
"ผักโขมบ้าน" , "ผักโขมสวน" และ "ผักโขมจีน"


"ผักโขมบ้าน" ก็ยังแบ่งออกเป็นชนิดย่อย ๆ
ได้อีก 2 ชนิด คือ "ผักโขมบ้านชนิดใบกลมเล็ก"
ที่มีลำต้นเล็ก ก้านเป็นสีแดง
ใบมีสีเขียวเหลือบแดง
ส่วนใหญ่มีวางขายในตลาดทางภาคเหนือในช่วงฤดูฝน

ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ "ผักโขมหนาม"
ผักชนิดนี้จะมีลำต้นสูง มีใบใหญ่
ใช้เฉพาะส่วนยอดอ่อนมาปรุงอาหารเท่านั้น
หาเก็บได้ตามป่าในช่วงฤดูฝน

"ผักโขมสวน" จะมีใบใหญ่บาง สีเขียวอ่อน ต้นจะยาว

"ผักโขมจีน" เป็นผักโขมต้นใหญ่ ใบใหญ่สีเขียวเข้ม
ขอบใบหยัก ใบสดมีรสเผ็ดและกลิ่นฉุน
ผักโขมชนิดนี้จะสามารถหาซื้อได้ง่ายที่สุด
เพราะมีวางขายทั้งในตลาดและซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป

เวลาเลือกซื้อควรเลือกชนิดที่มีใบสีเขียวสดแต่ไม่เขียวจนดำ
เพราะนั่นแสดงว่าเป็นผักโขมแก่ รสจะขม เนื้อผักหยาบ ไม่อร่อย
เลือกดูผักที่ใบไม่ช้ำ และเมื่อซื้อมาแล้วควรนำไปปรุงอาหารทันที
จึงจะได้คุณค่าทางอาหารในปริมาณค่อนข้างมาก

นั่นแหละคะ คือ คือข้อแตกต่างระหว่าง Spinach และ Asian Spinach 
 

นอกจากนี้คุณสมบัติพิเศษของผักโขม
สามารถช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตาได้
จากบทความของเดลินิวส์ แจ้งว่า

จักษุแพทย์ สตีเวน จี แพรตต์ แห่งโรงพยาบาลสคริปป์เมโมเรียล
ในแคลลิฟอร์เนีย พบว่า

ในผักโขม จะมีสาร ลูทีน และ สารเซอักแซนทิน อยู่เป็นจำนวนมาก
โดย สารแคโรทีนอนด์ทั้งสองนี้ จะมีสรรพคุณช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา
ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้คนอายุ 65 ปีขึ้นไป อาจสูญเสียการมองเห็นได้

นอกจากนั้น ผักโขมซึ่งอุดมด้วยธาตุเหล็ก ยังช่วยเสริมสร้างสติปัญญา
 ทำให้สมองตื่นตัวตลอดเวลาแม้ในผู้สูงวัย อีกทั้งยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ มะเร็ง และหลอดเลือด


เพราะฉะนั้น เราน่าจะหันมานิยมกินทั้งผักโขมและปวยเล้งกันให้มาก
เพราะอุดมไปด้วยประโยชน์มากมายจริงๆ
 

ที่มา : arunsawat.com


popeye ป๊อบอาย ไม่ได้กินผักโขม จริงหรือ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์