ถนน 10 สาย ที่ตั้งตามนามของบุคคลสำคัญของไทย

ชื่อของถนนหนทางต่างๆ ในบ้านเราบางชื่อ มีที่มาจากชื่อของบุคคลสำคัญระดับประเทศ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ไปดูกัน

1.ถนนสุขมวิท

ถนนสายนี้แต่ก่อนมีชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ" เพราะปลายถนนนี้ไปถึงตัวเมืองสมุทรปราการ เปิดใช้งานเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2479 ต่อมาได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนสุขุมวิท" ตามราชทินนามของพระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) บุตรเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และท่านผู้หญิงตลับ พระพิศาลสุขุมวิทเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 5 และเป็นคนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา พระพิศาลสุขุมวิทได้ทุ่มเทในการก่อสร้างทางหลวงสำคัญของประเทศเป็นอย่างยิ่ง คณะรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้มีมติให้ตั้งชื่อทางหลวงสายกรุงเทพฯ-ตราด ว่า ถนนสุขุมวิท เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493

2.ถนนจรัญสนิทวงศ์

ชื่อถนนจรัญสนิทวงศ์ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงจรัญสนิทวงศ์ (ม.ล.จรัญ สนิทวงศ์) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เดิมกรุงเทพมหานครติดป้ายชื่อถนนว่า "ถนนจรัลสนิทวงศ์" ต่อมาได้แก้ไขเป็น "จรัญสนิทวงศ์" ตามนามของหลวงจรัญสนิทวงศ์ ปัจจุบันถนนสายนี้เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

3.ถนนทองหล่อ

ถนนทองหล่อ หรือ ซอยสุขุมวิท 55 หรือที่นิยมเรียกกันว่า ซอยทองหล่อ เป็นถนนในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย บนถนนสุขุมวิท เป็นที่รู้จักด้านร้านอาหารนานาชาติ รวมถึงมีศูนย์การค้า ร้านค้านานาชาติ ร้านค้าแฟชั่น สถานที่เที่ยวยามค่ำคืน สตูดิโอแต่งงาน ที่พักอาศัยของคนหลากหลายเชื้อชาติ แต่เดิมในสมัยสงครามโลก เป็นที่ ๆ กองทัพญี่ปุ่นผ่านและมาตั้งฐานทัพ ชื่อของซอยนั้นมาจากชื่อเดิมของ ร.ท. ทองหล่อ ขำหิรัญ ร.น. (ยศขณะนั้น) อดีตสมาชิกคณะราษฎร์ ผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475

4.ถนนประเสริฐมนูกิจ

ชื่อถนนประเสริฐมนูกิจตั้งตามราชทินนามของหลวงประเสริฐมนูกิจ (ประเสริฐ ศิริสัมพันธ์ พ.ศ. 2439-2512) นักกฎหมายและศาสตราจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี พ.ศ. 2500 ราชทินนามหลวงประเสริฐมนูกิจเป็นราชทินนามคู่กับหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
 

5.ถนนพหลโยธิน

ถนนพหลโยธิน ซึ่งระยะทางส่วนใหญ่มีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร-แม่สาย (เขตแดน) เป็นถนนที่ตั้งชื่อเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พันเอกพระยาพหลพล พยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะราษฎร ผู้นำการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และนายกรัฐมนตรีไทย คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ตั้งชื่อว่าถนนพหลโยธินเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2493 ก่อนหน้านี้ถนนพหลโยธินมีชื่อเดิมว่า "ถนนประชาธิปัตย์"

6.เพชรเกษม

ถนนเพชรเกษมตั้งชื่อตามชื่อหลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์ (แถม เพชรเกษม) อธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 7 หลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์เป็นนักเรียนทุนหลวงของกรมรถไฟ ไปศึกษาวิชาวิศวกรรมโยธาที่สหราชอาณาจักร และกลับมารับราชการที่กรมรถไฟหลวง ต่อมาย้ายไปสังกัดกรมทางหลวง เมื่อถนนเพชรเกษมสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2493 จึงได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปีเดียวกัน ตามนโยบายของรัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ให้ตั้งชื่อถนนตามชื่อนายช่างใหญ่ผู้ควบคุมการก่อสร้างหรือการบังคับบัญชารับผิดชอบ

7.ถนนนิมมานเหมินท์

นายกี และ นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นผู้บริจาคที่ดินให้แก่สาธารณะ เพื่อสร้างถนนเชื่อมถนนสุเทพ เข้ากับถนนห้วยแก้ว จนกระทั่งในปัจจุบันถนนนิมมานเหมินท์ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของจังหวัด เป็นถนนสายที่มีทั้งร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก และแหล่งบันเทิงจำนวนมาก ทำให้ถนนสายนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ถนนสายที่ฮิตที่สุดของเชียงใหม่

8.ถนนประดิษฐ์มนูธรรม

ชื่อถนน "ประดิษฐ์มนูธรรม" ตั้งตามราชทินนามของ "หลวงประดิษฐ์มนูธรรม" (ปรีดี พนมยงค์) รัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 หัวหน้าขบวนการเสรีไทย และผู้นำพลเรือนในคณะราษฎร เพื่อสดุดีเกียรติคุณของท่านในฐานะบุคคลสำคัญของชาติและในวาระที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก ประกาศให้ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของท่าน โดยกรุงเทพมหานครเป็นผู้จัดสร้างและดูแลรักษาถนนสายนี้

9.ถนนสุขุมวิท 71

เดิมคือซอยสุขุมวิท 71 สร้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี พ.ศ. 2485-2486 เทศบาลนครกรุงเทพได้รับมอบมาจากแขวงการทางกรุงเทพ (หน่วยงานของกรมทางหลวง) เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยกรมทางหลวงเรียกซอยนี้ว่า "ทางสายพระโขนง-คลองตัน (ซอยปรีดี)" และต่อมาคณะกรรมการกลางตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย และสะพานได้ตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า ถนนสุขุมวิท 71 เมื่อปี พ.ศ. 2513

10.ถนนสาธุประดิษฐ์

นายต่วน สาธุ เป็นผู้ก่อสร้างถนนสาธุ จึงได้ชื่อว่าสาธุประดิษฐ์ ปัจจุบัน ธิดาของคุณต่วน ยังมีชีวิตอยู่ เคยให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ และนิตยสารบางฉบับ และวารสารโรงเรียนยานนาเวศ ได้รับรู้เรื่องประวัติถนนสาธุ และปัจจุบันท่านอายุ ประมาณ 89 ปี แล้ว ชื่อคุณยายจำลอง สาธุ เคยได้ฟังท่านเล่าเรื่องที่คุณพ่อต่วน ได้สร้างถนน ด้วยความมุมานะอย่างสูงที่จะพัฒนาการเดินทางแก่ชาวบ้านที่อาศัยในสวน เลียบแม่น้ำให้มีถนนออกสู่ถนนเจริญกรุงให้ได้ เพื่อให้ความเจริญเข้าถึงให้ได้ โดยท่านคุณต่วน ได้บริจาคที่ดินตลอดที่ท่านมีอยู่จากสะพาน 4 ไปถึง ท่าน้ำสาธุ เท่าที่ท่านมี บางที่ดินที่เป็นของคนอื่น ท่านก็เอาที่ดินที่อื่นที่ท่านมีไปขายเอาเงินมาซื้อที่ ทางผ่านทำถนนให้ต่อกันให้ได้ โดยจ้างคนจีนสมัยนั้นช่วยสร้างค่าแรงวันละ 10 สตางค์ ต่อคน ช่วยกันขนดินมาทำถนน ยืนต่อแถวเอาดินใส่บุ้งกี่ทะยอยส่งต่อๆ กัน วันนึงต้องใช้จ่ายสตางค์เยอะมาก แต่ความพยายาม และปณิธาน อันแรงกล้าที่จะทำความสะดวกให้แก่มหาชนส่วนรวม ท่านจึงทำทุกอย่างให้สำเร็จให้จงได้ จนได้ความเจริญมาถึงทุกวันนี้


ถนน 10 สาย ที่ตั้งตามนามของบุคคลสำคัญของไทย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์