ความเกลียดชังออนไลน์ เกิดจากอะไร และเราจะรับมืออย่างไร


"ความเกลียดชังออนไลน์" คือ การสื่อสารความหมายที่สร้างความเกลียดชัง ทั้งที่เป็นคำพูด ตัวอักษร ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ เพลง และการสื่อความหมายในเชิงสัญลักษณ์อื่นๆ ทั้งที่เป็นการผลิตขึ้นมาใหม่ การผสมผสานเนื้อหาใหม่กับเนื้อหาที่มีการผลิตไว้แล้ว และการนำเสนอเนื้อหาที่ผลิตไว้แล้วในรูปแบบใหม่ผ่านพื้นที่ออนไลน์ซึ่งเข้าถึงได้โดยมีเทคโนโลยีเครือข่าย หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ด้วยความขัดแย้งทางการเมืองและเหตุการณ์ไม่สงบในสังคมไทยช่วงหลังมานี้ทำให้เรารู้จัก วาจา ภาพ ภาษา คลิปวิดีโอ ฯลฯ ที่สร้างความเกลียดชัง

Hate Speech เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย แต่ไม่ใช่ไม่เคยมีมาก่อน เพียงแต่ที่ผ่านมาปัญหาอาจไม่รุนแรงมากนัก แต่ปัจจุบันกำลังเคลื่อนตัวอย่างรุนแรงมาเรื่อยๆโดยเฉพาะบนโลกออนไลน์

เรามารู้จัก Hate Speech ว่าคืออะไร เกิดจากอะไร และสามารถสร้างผลกระทบอะไรบ้าง และเราจะรับมืออย่างไร

ชมได้ในคลิปนี้ ซึ่งจัดทำโดยศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความเกลียดชังออนไลน์ เกิดจากอะไร และเราจะรับมืออย่างไร




"Hate Speech" ความเกลียดชังที่ (ยัง) ควบคุมไม่ได้

"เฮท สปีช" (Hate Speech) หรือถ้อยคำสร้างความเกลียดชังและความแตกแยกในสังคม ดูจะเป็นคำคุ้นหูอย่างมากในเวลานี้

เพราะไม่ว่าจะเป็นช่องฟรีทีวีหรือเคเบิลต่างก็มีการใช้ถ้อยคำเหล่านี้เพื่อเพิ่ม อรรถรสในการรับชม หวังผลทั้งในแง่ "ความบันเทิง" และ "การเมือง"

"กลายเป็นความรุนแรงที่ผู้ชมซึมซับโดยไม่รู้ตัว ทั้งหลายกรณียังก่อให้เกิดความเกลียดชังและความเเตกเเยกในสังคมเป็นอย่างมาก"

หลายคนตั้งคำถามถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลรับผิดชอบความรุนแรงดังกล่าว แน่นอนว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นเป้าหมายหลักที่ทุกคนเพ่งเล็ง

"น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์"
หนึ่งในคณะกรรมการ กสทช. ได้กล่าวในงานเสวนา "เฮท สปีช ในสื่อบันเทิงไทย"ที่โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา จ.นครปฐม เมื่อไม่กี่วันก่อนถึงกรณีดังกล่าว ว่ามีคนร้องเรียนเข้ามาตลอด โดยเฉพาะช่องเคเบิลที่นำเสนอเนื้อหาทางการเมือง ว่ามีการใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความเเตกเเยกและเกลียดชัง

"แต่ยอมรับว่ายังไม่มีอำนาจในการจัดการอย่างเด็ดขาด"

ด้วยเหตุที่ว่า กสทช. มีอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ในมาตรา 37 ที่กำหนดว่า "ห้ามมิให้ออกอากาศรายการที่มีเนื้อหาสาระที่ก่อให้เกิดการล้มล้างการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน อย่างร้ายแรง"

"แต่ภาษาที่สร้างความเกลียดชังยังไม่มีในกฎหมายโดย ตรง" สุภิญญายอมรับ นั่นจึงเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ กสทช. ยังไม่สามารถเอาผิดต่อความรุนแรงดังกล่าวได้

ทำได้เพียงตักเตือน

"อันที่จริงเป็นปัญหาจรรยาบรรณมากกว่ากฎหมาย เพราะต่อให้กำหนดกฎหมายไป คนก็หาทางเลี่ยงได้อยู่ดี พอควบคุมไม่ทั่วถึงก็จะเกิดปัญหาว่าเราเลือกปฏิบัติ แต่ถ้าควบคุมโดยจรรยาบรรณได้ มันจะเห็นผลมากกว่า"

ทั้งนี้ กสทช.เองไม่มีอำนาจในการเซ็นเซอร์ก่อนจะเผยแพร่ เพราะหน้าที่นั้นเป็นของสื่อเอง ที่ทำได้คือส่งเสริมการควบคุมของกลุ่มวิชาชีพและหาแนวทางวางกติกาให้เป็นที่ รับรู้ร่วมกัน

"แต่จะทำอย่างไรให้สื่อมี code of conduct (มาตรฐานทางจริยธรรม) อย่างแท้จริง" นั่นคือปัญหาที่สำคัญสุด

"ละครบางเรื่องกำหนดเรต "ท" คือดูได้ทุกวัย แต่กลับมีฉากตบตีด่าทอกัน ที่น่าเป็นห่วงคือเด็กที่ชมอยู่ เพราะมันปลูกฝังเด็กได้ง่ายมาก"

ในโอกาสที่ทีวีดิจิตอลกำลังจะเริ่มต้น เธอมองว่าควรเป็นการเริ่มต้นของการวางกรอบควบคุมเนื้อหาในสื่อเช่นกัน

"ทีวีดิจิตอล 24 ช่อง เป็นการรวมตัวของทั้งช่องเก่ารายใหญ่และช่องใหม่ๆ ทางเคเบิลและหนังสือพิมพ์ เหมือนเป็นการเปิดเทอมและเริ่มต้นวัฒนธรรมใหม่"

ถ้าไม่เริ่มต้นตอนนี้ก็ไม่รู้จะเริ่มตอนไหนแล้ว สุภิญญาว่า

"ขอบเขตของเฮด สปีช ขึ้นอยู่กับการยอมรับของสังคม ถ้าเป็นคำพูดที่มาจากกลุ่มที่คิดเห็นเหมือนกัน เราจะมองว่าไม่รุนแรง แต่ถ้ามาจากกลุ่มที่เห็นต่าง เราจะมองว่ารุนแรงทันที"

"ดังนั้น การพูดคุยเพื่อกำหนดขอบเขตของเฮด สปีช ว่า "แค่ไหน" ที่ไม่ควรเผยเเพร่ต่อสาธารณะ" แม้ว่าเฮท สปีช อาจสร้างผลดีในระยะยาว เพราะเป็น "การปลดปล่อยความรู้สึกในใจ" ที่หลายคนเก็บมานาน แต่ต้องระวังไม่ให้การปลดปล่อยข้ามไปสู่การข่มขู่

"ไม่งั้นจะไม่ใช่การเเสดงออกเเต่เป็นการคุกคาม" สุภิญญากล่าว

โดยขณะนี้ได้มีการรวมตัวจัดตั้ง "ชมรมผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล 24 ช่อง" ขึ้นมา ซึ่งภายใน 1-2 เดือน หลังจากผู้ประกอบการแต่ละช่องได้รับใบอนุญาตแล้ว กสทช.จะเชิญเข้ามาพูดคุยกำหนดแนวทางเพื่อให้ทั้ง 24 ช่องเป็นตัวนำร่องในการกำกับดูแลด้านถ้อยคำที่นำเสนอในสื่อ

และวันที่ 26 ก.พ. กสทช.จะเชิญตัวแทนสื่อช่องเคเบิลที่นำเสนอเรื่องราวทางการเมืองแต่ละขั้วแต่ละสีมาพูดคุยกัน เกี่ยวกับเรื่องเสรีภาพในการเเสดงความเห็น,จรรยาบรรณ เเละเรื่องเฮท สปีช

"หวังว่าอนาคตเราจะไม่ต้องเผชิญกับ "เฮท สปีช" ที่เกลื่อนกลาดเช่นทุกวันนี้อีก"




ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์