รส 5 รสของพืชผัก


          รส 5 รสของพืชผัก 5 รสนั้น หมายถึง รสเปรี้ยว ขม หวาน เผ็ด และเค็ม ที่มีความเกี่ยวข้องกับอวัยวะทั้ง 5 ในร่างกายอย่างแน่นแฟ้น อย่างเช่น รสเปรี้ยวเป็นรสของตับ เข้าเส้นตับ รสขมเป็นรสของหัวใจ เข้าเส้นหัวใจ รสหวานเป็นรสของม้ามเข้าเส้นม้าม รสเผ็ดเป็นรสของปอดเข้าเส้นปอด เค็มเป็นรสของไต เข้าเส้นไต

           หมายความว่าในชีวิตประจำวัน เราปรุงรสอาหารอย่างไรล้วนส่งผลต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องในระดับที่ต่างกัน รสทั้ง 5 รสมีคุณประโยชน์ ถ้าใช้ให้พอเหมาะจะช่วยเสริมส่งอวัยวะนั้นให้แข็งแรง แต่ถ้ามากเกินไป จำเจต่อเนื่องยาวนานเกินไปจะส่งผลต่อที่เป็นโทษต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับรสอาหารนั้นๆ เช่น รสเผ็ด เข้าเส้นปอด ช่วยกระจาย ทำให้ชี่เลือดเดินดี หากกินพอเหมาะ และเหมาะสมกับเวลาจะทำให้ปอดแข็งแรง เช่น ถ้าโดนฝน โดนแอร์เย็นๆ จนจะเป็นหวัดเย็นในระยะเริ่มแรก ถ้ากินอาหารรสเผ็ด ประเภทต้มยำรสแซบหรือน้ำขิง จะช่วยให้หายจากอาการหวัด แต่ถ้าในชีวิตประจำวันกินอาหารรสจัด เผ็ดมาก และร่างกายของคนนั้นเป็นคนธาตุร้อน จะทำให้ร้อนใน เจ็บคอ ปากลิ้นเป็นแผล ริดสีดวงทวารกำเริบได้ อาหารรสเผ็ด มี หัวหอม ขิง เป็นต้น

รสเค็ม เข้าเส้นไต บำรุงไต ระบายอุจจาระ เค็มที่พอดี จะทำให้รสชาติอาหารดี แต่กินเค็มจัดและกินเค็มเป็นประจำ จะทำให้เป็นความดันโลหิตสูง ความเค็มเข้าเส้นไตมากๆ ไตต้องขับออก จะทำให้ไตทำงานหนัก ท้ายสุดโรคไตก็จะมาเยือน อาหารรสเค็ม มี สาหร่ายทะเล

รสเปรี้ยว เข้าเส้นตับ หากตับอ่อนแอ ต้องการเลือดมาก อย่างเช่น คนเพิ่งเริ่มตั้งครรภ์ แพ้ท้อง จะชอบกินของเปรี้ยวจัด เพราะจะช่วยบำรุงตับ แต่คนที่คนกินรสเปรี้ยวจัดเป็นประจำ ทำให้ตับต้องทำงานหนัก มีผู้ป่วยเป็นคนชอบกินยำเปรี้ยวจัดเป็นประจำ ผ่านไป 2-3 ปี เล็บเธอเป็นเส้น เล็บแห้งกร้าน ตาแฉะ เหมือนมีทรายอยู่ในตาเป็นประจำ พอห่างรสเปรี้ยวแล้ว อาการดังกล่าวค่อยๆ ดีขึ้น หรือคนที่ตับไม่แข็งแรง เป็นโรคตับอยู่แล้ว หากกินของเปรี้ยว จะมีอาการตาแฉะ ตามัว ไม่สบายตา น้ำตาไหล ปากขม เจ็บชายโครงขวา เป็นต้น ไม่เชื่อลองสังเกตดู

รสขม เข้าเส้นหัวใจ มีฤทธิ์ในการลดไฟ คลายหงุดหงิด เหมาะสำหรับคนธาตุร้อน ในขณะที่ปลายลิ้นเป็นแผลเรากินพืชผักหรือยาขม อาการจะบรรเทาลง แต่สำหรับผู้ที่ชี่และหยางตับอ่อนแอ กินของขมหรือหนาวเย็น จะมีอาการแน่นหน้าอก เจ็บหัวใจ ให้เห็นได้ทันที อาหารรสขม มี มะระ ดีบัว

รสหวาน เข้าเส้นม้าม บำรุงม้าม เวลาม้ามอ่อนแอจะชอบกินหวาน ความหวานสร้างกล้ามเนื้อ ดังนั้นคนที่ชอบกินหวานจึงอ้วน แต่ถ้าในร่างกายชื้น มีเสมหะมาก หากกินหวานมาก เสมหะจะมากขึ้นทันดี อาหารรสหวาน มี มันเทศ ข้าวโพด

รสจืด
ช่วยระบายปัสสาวะ รักษาบวม ถ้าไม่มีอาการชื้นไม่ควรใช้ เช่น ฟักเขียว ลูกเดือย

จากที่กล่าวมา พืชผักในธรรมชาติหรืการปลูก จะมีรสที่ต่างกัน เหมาะกับร่างกายที่ต่างกัน และแม้ว่าจะเป็นอาหาร แต่การบริโภคต้องเลือกให้เหมาะกับร่างกาย และไม่ควรเลือกกินแต่ที่ชอบ และกินอย่างเดียวอย่างจำเจ จะทำให้ร่างกายเสียความสมดุล แทนที่ร่างกายจะแข็งแรงกลับนำพาการเจ็บไข้ได้ป่วยมาสู่ตัวเราเองได้


รส 5 รสของพืชผัก

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์