กล้องส่องเชื้อโรคทำจาก “กระดาษ” ขยาย 2,000 เท่า



          Foldscope เป็นชื่อเรียกของกล้องจุลทรรศน์ที่ทำจากกระดาษ แต่สามารถใช้งานได้จริง ผลงานของ Jim Cybulski กับ James Clements โดยมีหัวเรือใหญ่เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ Manu Prakash ส่วนเหตุผลที่ทำให้นักวิจัยกลุ่มนี้ลุกขึ้นมาปฏิวัติกล้องจุลทรรศน์ก็คือ พวกเขาต้องการเพิ่มประสิทธิภาพความเร็วในการวินิจฉัย และจัดการกับโรคต่างๆ ที่มีสัตว์เป็นพาหะ (เช่น ไข้มาลาเรีย ที่แพร่โดยยุง) ให้กับผู้ป่วยในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา โดยในการนำเสนอของผู้ช่วยศาสตราจารย์ท่านนี้บนเวที TED เขากล่าวว่า ปัจจุบันต้องใช้เวลาหลายเดือนในการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากกล้องจุลทรรศน์มีขนาดใหญ่ และยากต่อการที่จะดูแลรักษา ที่สำคัญมันมีราคาแพงมาก ดังนั้นทางกลุ่มนักวิจัยจึงรวมตัวกัน เพื่อออกแบบกล้องจุลทรรศน์ที่พกพาได้สะดวก ใช้งานง่าย และสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากในราคาที่แสนถูก ซึ่งดูเหมือนวันนี้คำตอบของความพยายามของพวกเขาเป็นจริงแล้ว

กล้องส่องเชื้อโรคทำจาก “กระดาษ” ขยาย 2,000 เท่า


ในเอกสารที่เผยแพร่ผลงงานของพวกเขาระบุว่า Foldscope กล้องจุลทรรศน์”โอริงามิ” (ศิลปะการพับกระดาษของญี่ปุ่น) สามารถให้กำลังขยายได้สูงสุดถึง 2,000x เท่าขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดประกอบด้วยชิ้นส่วนของกล้องฯที่สามารถตัด และประกอบขึ้นจากกระดาษ A4 เพียงแผ่นเดียว พร้อมด้วยเลนส์ แบตเตอรี่ชนิดกระดุมที่ใช้กับ LED ได้นาน 50 ชั่วโมง คุณสมบัติเด่นของ Foldscope นอกจากกำลังขยายที่เพียงเพอต่อการวิเคราะห์เชื้อโรกได้แล้ว มันมีคุณสมบัติของความทนทาน พกใส่กระเป๋าเสื้อ (ได้หลายอันเลยล่ะค่ะ) และกันน้ำได้ ชุดคิทของ Foldscope ใช้เวลาในประกอบแค่ 7 นาทีเท่านั้น เหนืออื่นใด ราคาของมันอยู่ระหว่าง 0.58 – 0.97 เหรียญฯ พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ถึง 32 บาทค่ะ ><”

กล้องส่องเชื้อโรคทำจาก “กระดาษ” ขยาย 2,000 เท่า


อะไรมันจะมหัศจรรย์ขนาดนั้น กล้องจุลทรรศน์ที่ราคาแพง ขนาดใหญ่ขนย้ายลำบาก ดูแลยาก และใช้งานไม่ง่ายนัก กลายเป็นกล้องส่องเชื้อโรคที่ทำจากกระดาษขนาด A4 เพียงแผ่นเดียว สะดวกพกพา ราคาไม่ถึงเหรียญฯ แถมยังประกอบไวใช้งานง่ายอีกด้วย เรียกว่า ตอบโจทย์ความจำเป็นได้ทุกข้อ ที่สำคัญมันสามารถส่งมอบให้กับหมอ ผู้เชี่ยวชาญ ครูในโรงเรียนที่ดูแลผู้ป่วย หรือประชาชนที่ตกอยู่ในความเสี่ยงต่อเชื้อโรคระบาดต่างๆ ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาได้อย่างง่ายดาย สบายงบรัฐฯ สำหรับผู้สนใจต้องการทดลองใช้ Foldscope สามารถเข้าไปลงทะเบียนเป็นผู้ทดสอบการใช้งานได้ที่เว็บไซต์ Foldscope ซึ่งตอนนี้มีผู้ลงทะเบียนมากกว่าหมืนรายแล้วค่ะ ไอเดียดีๆ ที่ทำเพื่อคนอื่นแบบนี้น่าประทับใจ และสนับสนุนนะคะ

กล้องส่องเชื้อโรคทำจาก “กระดาษ” ขยาย 2,000 เท่า



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์